ยอดคืนเงินภาษีปีนี้แตะ 4 หมื่นกว่าล้าน คนทยอยยื่นแบบแล้ว 3.3 ล้านราย

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ยอดคืนเงินภาษีปีนี้แตะ 4 หมื่นกว่าล้าน คนทยอยยื่นแบบแล้ว 3.3 ล้านราย

Date Time: 6 มี.ค. 2561 19:40 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • คนยื่นแบบภาษีแล้ว 3.3 ล้านราย ก่อนหมดเขตสิ้น มี.ค. ส่วนใหญ่ยังรอเอกสารประกันสุขภาพ สรรพากรคาดยอดขอคืนเงิน แตะ 4 หมื่นล้านบาท จ่อชง ก.ม.เก็บภาษีค้าขายออนไลน์ ให้ ครม.ไฟเขียว

Latest


คนยื่นแบบภาษีแล้ว 3.3 ล้านราย ก่อนหมดเขตสิ้น มี.ค. ส่วนใหญ่ยังรอเอกสารประกันสุขภาพ สรรพากรคาดยอดขอคืนเงิน แตะ 4 หมื่นล้านบาท จ่อชง ก.ม.เก็บภาษีค้าขายออนไลน์ ให้ ครม.ไฟเขียว สร้างความเป็นธรรมแข่งขัน...

เมื่อวันที่ 6 มี.ค. นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงการยื่นแบบรายการแสดงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี 2560 ที่เปิดให้ยื่นแบบตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 31 มี.ค.61 ว่า มีผู้เสียภาษีเริ่มทยอยยื่นแบบฟอร์มการเสียภาษีแล้วประมาณ 3.3 ล้านราย ต่ำกว่าปีก่อนที่มีผู้ยื่นภาษีทั้งสิ้น 4 ล้านราย ส่วนใหญ่ยังมีการยื่นแบบล่าช้า เนื่องจากยังรอเอกสารประกันสุขภาพ เป็นต้น โดยในส่วนนี้แบ่งเป็นการยื่นภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 90% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอยู่ที่ 84%

อย่างไรก็ตามคาดว่ายอดการขอคืนภาษีในปีนี้ จะอยู่ที่ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท โดยปัจจุบันกรมสรรพากรได้เร่งคืนภาษีแล้ว 8-9 แสนราย หรือประมาณ 80-90% คิดเป็นวงเงินประมาณ 1 หมื่นกว่าล้านบาท โดยยืนยันการคืนภาษีปีนี้ไม่มีความล่าช้า หากมีการตรวจสอบด้านเอกสารครบถ้วน ซึ่งขณะนี้มีเพียงผู้ยื่นขอคืนภาษีและมีปัญหาเพียง 10% โดยจะต้องมีการส่งเอกสารเพิ่มเติม

ส่วนการเปิดรับฟังความคิดเห็นการแก้ไขกฎหมายประมวลรัษฎากรการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ขณะนี้ได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะเสนอรายละเอียดให้กระทรวงการคลังพิจารณา ก่อนนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พิจารณาเห็นชอบได้ภายในเดือน มี.ค.นี้ โดยการเปิดรับฟังความคิดเห็นในรอบที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นการแสดงความคิดเห็นจากผู้ประกอบการในต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งกรมสรรพากรสามารถตอบข้อสงสัยหรือโต้แย้งต่างๆ ได้อย่างเรียบร้อย

สำหรับสาระสำคัญเบื้องต้นของกฎหมาย กำหนดให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการโดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีรายได้ กำไร มีการใช้โดเมนท้องถิ่นของไทย หรือมีการสร้างระบบการชำระเงินเป็นสกุลเงินไทย หรือมีการโอนเงินจากประเทศไทย ถือว่านิติบุคคลนี้ประกอบกิจการในประเทศไทย และให้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ในประเทศไทยหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% และนำส่งกรมสรรพากร

รวมทั้งกำหนดให้ผู้ประกอบการหากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รวมถึงยกเลิกการยกเว้นภาษี VAT สำหรับสินค้าที่มีการนำเข้าทางไปรษณีย์ที่มีราคาต่ำกว่า 1,500 บาท เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งกฎหมายดังกล่าวจะเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการภายในประเทศสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการจากต่างประเทศได้.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์