ชงคุมเข้มอาคารประหยัดพลังงาน งัด พ.ร.บ.ขู่ฝ่าฝืนไม่อนุญาตเด็ดขาด

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ชงคุมเข้มอาคารประหยัดพลังงาน งัด พ.ร.บ.ขู่ฝ่าฝืนไม่อนุญาตเด็ดขาด

Date Time: 9 ก.พ. 2561 10:12 น.

Summary

  • นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ว่า

Latest

จุฬาฯ ชี้มหาวิทยาลัยจะอยู่รอด ต้องสอนหลักสูตรระยะสั้น สร้างคนฉลาด เก่งรอบด้าน จน AI แย่งงานไม่ได้

นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการออกกฎกระทรวงพลังงาน เรื่องการกำหนดประเภทหรือขนาดอาคารและมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ...ตามที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เสนอ เพื่อเป็นมาตรการบังคับใช้ขั้นต่ำกับอาคารขนาดใหญ่ ที่มีปริมาณการใช้พลังงานสูงก่อน และจะทยอยบังคับใช้กับอาคารทั้ง 9 ประเภท ภายใน 3 ปี และจะเสนอให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณาเห็นชอบในวันที่ 7 มี.ค.นี้ จากนั้นจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไปเพื่อประกาศใช้ภายใน 120 วัน หากผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามจะไม่อนุมัติให้มีการก่อสร้างอาคารตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมอาคาร ของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย

“จากนี้อาคารที่จะก่อสร้างใหม่ หรือดัดแปลง 9 ประเภท ได้แก่ สำนักงาน โรงแรม โรงพยาบาล ศูนย์การค้า โรงมหรสพ สถานบริการ อาคารชุมนุมคน อาคารชุด และสถานศึกษา ที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตร (ตร.ม.) ขึ้นไป จะต้องออกแบบตามเกณฑ์มาตรฐานที่ระบุในเรื่องระบบ รวมถึงการใช้พลังงานหมุนเวียน”

สำหรับปีที่ 1 ของกฎหมายดังกล่าว จะเริ่มบังคับใช้กับอาคาร ขนาดตั้งแต่ 10,000 ตร.ม.ขึ้นไป ปีที่ 2 บังคับใช้กับอาคารขนาดตั้งแต่ 5,000 ตร.ม.ขึ้นไป และปีที่ 3 บังคับใช้กับอาคารขนาดตั้งแต่ 2,000 ตร.ม.ขึ้นไป ซึ่งทำให้การใช้พลังงานภายในอาคาร ที่จะก่อสร้างใหม่หรือดัดแปลงประหยัดพลังงานได้ 10% และภายใน 20 ปีมีเป้าหมายประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้รวม 13,700 ล้านหน่วย คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 48,000 ล้านบาท

“ที่ประชุมได้รับรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของไทย พ.ศ.2558-2579 (พีดีพี 2015) ปีที่ผ่านมามี การผลิตไฟฟ้ารวม 197,000 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้น 0.8% โดยปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีก) ในระบบของ 3 การไฟฟ้าอยู่ที่ระดับ 30,373 เมกะวัตต์ ลดลง 2.2% คาดว่าปี 2561 ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดน่าจะอยู่ที่ 30,900-31,000 เมกะวัตต์ เติบโต 1% ซึ่ง สนพ.อยู่ระหว่างติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนไป ทั้งการผลิตไฟฟ้าใช้เองของประชาชนว่าจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ รวมถึงสภาพอากาศที่ยังมีความไม่แน่นอน”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ