เดอะวิสดอมกสิกรไทย เกาะติดเศรษฐกิจโลก จับสัญญาณโอกาสลงทุน

Economics

Analysis

Content Partnership

Content Partnership

Tag

เดอะวิสดอมกสิกรไทย เกาะติดเศรษฐกิจโลก จับสัญญาณโอกาสลงทุน

Date Time: 3 เม.ย. 2567 12:30 น.
Content Partnership

Summary

  • เดอะวิสดอมกสิกรไทย อัปเดตสัญญาณเศรษฐกิจโลก จับตาปัจจัยหนุนเศรษฐกิจไทย เปิดโผลงทุนทั่วโลกและตลาดน่าลงทุน เพิ่มเสถียรภาพให้พอร์ตแกร่ง

เศรษฐกิจไทยกำลังเจอปัญหาโตต่ำกว่าเพื่อนบ้าน ขาดเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุนแบบเดิม จึงไม่ตอบโจทย์ท่ามกลางบริบทโลก ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นักลงทุนจึงต้องปรับพอร์ตการลงทุน เพื่อกระจายความเสี่ยง และค้นหาโอกาสรับผลตอบแทนจากสินทรัพย์อื่นๆ จากทั่วโลก

เดอะวิสดอมกสิกรไทย จัดงานสัมมนาใหญ่ THE WISDOM Wealth Forum ในหัวข้อ Thailand 2024: Investment Opportunity Redefined ครบทุกมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย คณะผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย และ J.P. Morgan Asset Management พันธมิตรด้านการลงทุนระดับโลก

Thairath Money ชวนอ่านสรุปสาระสำคัญจากงานสัมมนาพิเศษนี้ที่เกาะติดความเคลื่อนไหวเศรษฐกิจโลกที่กำลังเปลี่ยนทิศ พร้อมเปิดโผลงทุนทั่วโลกและตลาดน่าลงทุน เพื่อเพิ่มเสถียรภาพให้พอร์ตแกร่ง

เศรษฐกิจไทยก้าวสู่ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 จะเป็นอย่างไร

ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.ประมาณการว่า ปี 2567 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 2.5-3% การส่งออกจะปรับตัวดีขึ้น แต่ยังมีความเสี่ยงที่ต้องจับตามอง คือ ปัจจัยปัญหาเชิงโครงสร้างที่ฉุดรั้งศักยภาพการแข่งขัน และการฟื้นตัวของภาคการผลิตโลก ที่หากฟื้นตัวกลับมาได้จะช่วยดึงให้การส่งออกของไทยปรับตัวดีขึ้นตาม

นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยว แม้ว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะเริ่มกลับมาแล้ว โดยในปี 2566 มีจำนวนประมาณ 28.2 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มี 11.5 ล้านคน แต่ค่าใช้จ่ายต่อหัวกลับลดลง ต้องดูแรงส่งช่วงไตรมาสแรก ว่ารายจ่ายนักท่องเที่ยวกลับมาหรือไม่

ส่วนการบริโภคชะลอตัวลง จากที่เร่งไปแล้วในช่วงหลังโควิด-19 โดยจะเติบโตตามปกติที่ระดับ 3-4%

3 ความหวังเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางปัญหาเชิงโครงสร้าง

แม้เศรษฐกิจไทยจะยังเติบโตได้ต่อเนื่อง ที่ระดับ 1.5-2.5% ต่อปี แต่ก็ยังต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับเสาหลักทางเศรษฐกิจที่พึ่งพิงปัจจัยภายนอกค่อนข้างมาก จึงทำให้เศรษฐกิจไทยขึ้นอยู่ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน

อย่างไรก็ตาม ความหวังที่จะช่วยแบกเศรษฐกิจไทยให้ไปต่อได้ มีดังนี้

1.ภาคการผลิตโลกฟื้นตัว สังเกตเห็นได้จากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ทั่วโลกที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่ากลุ่มประเทศที่มีสัดส่วนการผลิตและการส่งออก อันดับต้นๆ ของโลกจะฟื้นตัว ซึ่งจะดึงให้ภาคการผลิตไทยได้รับอานิสงส์ไปด้วย

2.จำนวนนักท่องเที่ยวตามเป้าหมาย โดยคาดว่ารายได้ต่อหัวของนักท่องเที่ยวจะปรับเพิ่มขึ้น

3.ภาคธุรกิจที่มีศักยภาพ เริ่มทยอยลดหนี้ ทำให้มีพื้นที่ในการกู้มากขึ้น ซึ่งการขอสินเชื่อเพื่อลงทุนขยายธุรกิจ จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตไปข้างหน้าในระยะยาวมากกว่าการบริโภค เนื่องจากประเทศไทยต้องการการลงทุนเพื่อยกเครื่องเศรษฐกิจ

อย่างไรตามเครื่องยนต์เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในภาคเศรษฐกิจเก่า (old economy) ซึ่งบั่นทอนศักยภาพการแข่งขัน เมื่อไม่มีเครื่องยนต์ใหม่มาขับเคลื่อนการเติบโต การที่ประเทศจะอยู่รอด ไทยจะต้องพยายามรักษาสถานะเครื่องยนต์ที่มี โดยรักษาการมีส่วนร่วมในระบบซัพพลายเชนโลก

ส่องตลาดหุ้นโลก จับตาความเคลื่อนไหวสหรัฐฯ-จีน

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นโลกมีภาวะการเติบโตที่ต่างไปจากเดิม โดยตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (DM) มีกำไรเติบโตที่ดีกว่าตลาดหุ้น ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (EM) เนื่องจากตั้งแต่โควิด-19 เป็นต้นมา เศรษฐกิจโลกถูกขับเคลื่อนด้วย หุ้น 4 กลุ่ม ได้แก่ หุ้นวัคซีน หุ้นชิป หุ้น AI หุ้นเทคโนโลยี ซึ่งส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในฝั่งประเทศตะวันตกอย่างสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งหุ้นเหล่าเป็นตัวรับเม็ดเงินหลายล้านล้านดอลลาร์ จึงทำให้ประมาณการค่าเฉลี่ยกำไรตลาดหุ้นโลก ระหว่างปี 2562-2568 อยู่ที่ 7.1% โดยมาจากตลาดหุ้น DM 7.3% ตลาดหุ้น EM 4.3% โดยประเทศพัฒนาแล้วมี trade premium อยู่ที่ 20-23 เท่า ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาอยู่ที่ 15-18 เท่า

โดย วจนะ วงศ์ศุภสวัสดิ์ CFA, Chief Investment Officer (รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) ให้มุมมองเสริมว่า เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปี โดยเฉพาะภาคการบริโภค ในขณะที่อัตราการว่างงานเหลือเพียง 3.9% ซึ่งต่ำกว่าช่วงก่อนสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 โดยสหรัฐฯ โดยในปี 2563-2564 สหรัฐฯ มีการจ้างงานในประเทศกว่า 700,000 ตำแหน่ง และเพิ่มเป็น 1 ล้านตำแหน่งในปี 2566 ส่งผลให้สหรัฐฯ มีแรงงานรวมกว่า 160 ล้านคน และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้อัตรการว่างงานลดลง 0.6-0.7% นอกจากนี้ยังมีแรงหนุนจากบริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่นำ AI มาใช้จริง มีผู้ใช้งานหลายล้านรายทั่วโลก

ในขณะที่ฝั่งจีนยังคงมีความท้าทาย Mr. Tai Hui, Managing Director, Chief Market Strategist, Asia Pacific, J.P. Morgan Asset Management กล่าวถึงเศรษฐกิจของจีนว่าตลาดหุ้นถูกกดดันจากภาคอสังหาริมทรัพย์ โครงสร้างพื้นฐานมีมากเกินความต้องการของตลาด รวมถึงนโยบายที่ไม่ชัดเจนของภาครัฐ ยังส่งผลต่อความมั่นใจของนักธุรกิจและนักลงทุน แต่ยังมีปัจจัยบวกคือภาคการบริโภคในประเทศที่แข็งแกร่งจากจำนวนประชากรมหาศาล และมีกลุ่มธุรกิจที่ยังเติบโตต่อได้ เช่น พลังงาน การเงินธนาคาร และภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ อาจทำให้ฟื้นตัวได้บ้าง แต่ไม่แรงมาก สามารถใช้โอกาสนี้ปรับลดสัดส่วนหุ้นจีนในพอร์ตลงได้

ส่วนต่างดอกเบี้ย ส่งผลกระทบอย่างไรต่อไทย

ส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ส่งผลต่อเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ (Fund flow) ในไทย โดยธนาคารกสิกรไทยประมาณการว่า ธปท.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปี 2567 เริ่มครั้งแรกช่วงเดือน มิ.ย. ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาอยู่ในกรอบที่ระดับ 2% และหากเฟดลดดอกเบี้ย 3 ครั้งตามคาด อัตราดอกเบี้ยจะลงมาสู่ระดับ 4.75% ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐฯ และไทยอยู่ที่ 275 เบสิสพอยต์ ซึ่งมีโอกาสสูงที่ต่างชาติจะเทขายสินทรัพย์ไทย ตามการอ่อนค่าของเงินบาท โดยธนาคารกสิกรไทยประมาณการว่า เงินบาทจะอ่อนค่าแตะระดับ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงกลางปี ซึ่งจะเป็นจุดที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวลงอีกหนึ่งครั้ง

แต่ปีนี้จะเป็นปีทองของหุ้นขนาดกลาง ขนาดเล็ก โดยมีโอกาสรีบาวน์ที่ 1,470 จุด จากการกลับมาฟื้นตัวของหุ้น เช่น หุ้นในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นกับตลาดหุ้นในต่างประเทศด้วย

กลยุทธ์เพิ่มเสถียรภาพพอร์ตลงทุนให้แกร่ง

สรพล วีระเมธีกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ.หลักทรัพย์กสิกรไทย ให้ความเห็นว่าในปีนี้กลยุทธ์การลงทุนระยะกลาง-ระยะยาว การกระจายความเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญ โดยจะเริ่มเห็นเม็ดเงินไหลออกจากตลาดเงินสหรัฐฯ หากพิจารณาข้อมูลช่วงก่อนโควิด-19 พบว่ามี Fund flow อยู่ที่ประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์ แต่เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นที่ระดับ 5.5% พบว่ามีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าตลาดถึง 6-7 ล้านล้านดอลลาร์ และเมื่อมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลง จะทำให้เม็ดเงินไหลออกจากสหรัฐฯ กระจายไปยังตลาดอื่นๆ ซึ่งจะทำให้ภูมิทัศน์การลงทุนเปลี่ยนจากภาวะ TINA (There is no alternative) เป็น TARA (There are reasonable alternatives) ที่มีทางเลือกการลงทุนนอกเหนือจากตลาดหุ้น

ดังนั้นจึงควรปรับพอร์ตการลงทุนระยะกลาง-ระยะยาว ด้วยการถือหุ้นไทยสัดส่วน 30% หุ้นต่างประเทศ 30% โดยให้น้ำหนักการถือครองหุ้นสหรัฐฯ มากที่สุดที่ 40% เนื่องจากยังคงความ premium จากการดำเนินนโยบายการเงินเชิงรุกของเฟด และให้น้ำหนักรองลงมากับตลาดหุ้นอินเดีย อินโดนีเซีย และซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นหุ้นต่างประเทศที่น่าจับตามอง ทั้งนี้ผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับตัวเป็น sideway down

กลยุทธ์ปรับพอร์ตแบบ Multi-Asset เพื่อเอาชนะความผันผวนของตลาด

วจนะ กล่าวว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ต้องเผชิญความท้าทายในการลงทุนท่ามกลางเศรษฐกิจผันผวน บลจ. กสิกรไทย จึงร่วมมือกับ J.P. Morgan Asset Management (JPMAM) พัฒนา “K-WealthPLUS Series” โซลูชันด้านการลงทุนแบบ Multi-Asset ที่กระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภททั่วโลก เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ลดความเสี่ยงและลดโอกาสขาดทุนได้ดีกว่าการลงทุนแบบกระจุกตัว โดยแนะนำให้ถือเป็น Core Port ในสัดส่วน 80% ของพอร์ตทั้งหมด

Ms. Jin Yuejue, Asia Head of the Investment Specialist, Multi-Asset Solution group, J.P. Morgan Asset Management พูดถึงความร่วมมือนี้ว่าเป็นการผสานศักยภาพของ 2 องค์กรที่แข็งแกร่ง โดยบลจ. กสิกรไทย มีความเข้าใจเชิงลึกต่อสินทรัพย์และสถานการณ์การลงทุนในไทย ขณะที่ JPMAM มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารการลงทุนระดับโลก ทำให้ “K-WealthPLUS Series” เป็นโซลูชันการลงทุนที่ตอบโจทย์ในภาวะตลาดผันผวน คัดสรรและกระจายลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีจากทั้งในไทยและทั่วโลก โดยยังคงแนวคิดเรื่องการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนผ่านกลยุทธ์ Multi-Asset

*ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน


Author

Content Partnership

Content Partnership