ดันสื่อบันเทิงไทยก้าวสู่สากล ส.อ.ท.เปิดแผนร่วมผลักดันซอฟต์เพาเวอร์ไทย

Economics

Analysis

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ดันสื่อบันเทิงไทยก้าวสู่สากล ส.อ.ท.เปิดแผนร่วมผลักดันซอฟต์เพาเวอร์ไทย

Date Time: 2 มิ.ย. 2566 07:27 น.

Summary

  • หลังการหารือกับนายเขมทัตต์ พลเดช นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในประเด็นซอฟต์เพาเวอร์ (Soft Power) ว่า กระแสซอฟต์เพาเวอร์เมื่อปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นพลังสำคัญ

Latest

“อุตสาหกรรมแบตเตอรี่”  จิ๊กซอว์ที่ต้องต่อให้เต็ม สานฝันไทย “ฮับผลิต EV” ภูมิภาค

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยหลังการหารือกับนายเขมทัตต์ พลเดช นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในประเด็นซอฟต์เพาเวอร์ (Soft Power) ว่า กระแสซอฟต์เพาเวอร์เมื่อปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นพลังสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ประเทศที่โดดเด่นที่สุดในการใช้ซอฟต์เพาเวอร์มาสนับสนุนเศรษฐกิจ คือเกาหลีใต้ที่ก่อนหน้านี้ อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ต่ำกว่าญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันจีดีพีแซงหน้าญี่ปุ่นไปแล้ว เพราะคนทั่วโลกรู้จักซอฟต์เพาเวอร์ อาทิ K-POP รวมถึงหนังและซีรีส์เกาหลีใต้

สำหรับประเทศไทยพบว่าการสร้างมูลค่าเพิ่มทำได้หลายวิธี แต่ตัวที่ดีที่สุดและประเทศไทยทำได้แน่นอนคือซอฟต์เพาเวอร์ ที่ประกอบไปด้วย 5F คือ อาหารไทย (Food) ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) มวยไทยและศิลปะการป้องกันตัว (Fighting) เทศกาลประเพณีไทย (Festival)

ดังนั้น ประเทศไทยมีซอฟต์เพาเวอร์ที่สำคัญๆซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเผยแพร่ผ่านอุตสาหกรรมสารัตถะ (คอนเทนต์) เพื่อช่วยยกระดับอุตสาหกรรมไทย ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม สมุนไพร เครื่องสำอาง อัญมณีและเครื่องประดับ การท่องเที่ยว สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เฟอร์นิเจอร์ และดิจิทัล หากไทยสามารถสร้าง แบรนด์ของตัวเองแทนการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมแบบ Original Equipment Manufacturing (OEM) ที่เป็นอุตสาหกรรมรับจ้างผลิตก็จะสามารถนำรายได้เข้าประเทศได้เพิ่มขึ้น

“ส.อ.ท.และสมาพันธ์จะทำงานร่วมกัน โดยเริ่มจากการใช้อุตสาหกรรมคอนเทนต์มาสนับสนุนซอฟต์เพาเวอร์ ในโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture Industry) หรือ SAI ของ ส.อ.ท. เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมตามนโยบายโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio, Circular, Green Economy) ของประเทศเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ที่จะเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน ด้วยการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ในสัดส่วนที่น้อยลงและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เกิดเป็นรูปธรรม”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ