ประเทศไทยเป็นอย่างไร เมื่อเศรษฐกิจโลกไม่โตเร็วเหมือนเดิม

Economics

Analysis

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ประเทศไทยเป็นอย่างไร เมื่อเศรษฐกิจโลกไม่โตเร็วเหมือนเดิม

Date Time: 22 พ.ค. 2566 16:32 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • -IMF คาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า จะอยู่ที่ 3.0% ซึ่งต่ำสุดในรอบ 30 ปี
  • -เศรษฐกิจโลกที่เติบโตช้าลง จะซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ทำให้เกิดหลุมรายได้สูงถึง 2.9 ล้านล้านบาทต่อปี หรือ 12.6% ของ GDP
  • -ตลาดเกิดใหม่ช่วยขับเคลื่อนการส่งออกของไทย

Latest


จากรายงาน IMF ในเดือน เม.ย. 2566 คาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า จะอยู่ที่ 3.0% ซึ่งเป็นตัวเลขประมาณการต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี ภูมิทัศน์ใหม่ของโลกที่อาจติดหล่มเติบโตช้าลง จะเป็นแรงกดดันต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออก 

เศรษฐกิจโลกในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มการเติบโตช้าลง 

Krungthai COMPASS ประเมินว่า โลกกำลังเผชิญภูมิทัศน์ใหม่ที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าเดิม จากรายงาน World Economic Outlook ของ IMF เดือนเมษายน 2566 คาดว่าตัวเลขการเติบโตระยะปานกลาง (Medium-term outlook) ของเศรษฐกิจโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า จะอยู่ที่ 3.0% ซึ่งต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ 3.3% เมื่อปี 2565 ทั้งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วง 20 ปีก่อนการแพร่ระบาด (2543-2562) ณ ระดับ 3.8%

โดยเป็นผลมาจากองค์ประกอบการเติบโต (Contribution to growth) ของประเทศที่เคยเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก เช่น สหรัฐฯ และยุโรป มีสัดส่วนลดลงต่อเนื่องในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ประกอบกับแรงหนุนจากเศรษฐกิจจีนทยอยลดบทบาทลง และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ฝากรอยแผลเป็นฉุดศักยภาพการเติบโตให้ต่ำลง 

ตลอดจนภัยคุกคามจากปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์และการแยกขั้วที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในระยะ 10 ปีหลังนี้ ต่างเป็นอุปสรรคต่อการค้าการลงทุน และทำลายบรรยากาศการประยุกต์เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตของประเทศต่างๆ ลง อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบการเติบโตที่มาจากอินเดียและกลุ่มประเทศอื่น (เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา และตะวันออกกลาง) จะยังเป็นแรงหนุนสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในช่วง 5 ปีข้างหน้า จากปัจจัยข้างต้นประเมินว่าเศรษฐกิจโลกมีโอกาสเข้าสู่ภาวะเติบโตต่ำ  


ทิศทางเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ากับการส่งออกไทย

เมื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทิศทางการส่งออกของไทยไปยังตลาดสำคัญตลอดช่วงกว่า 30 ปีที่ผ่านมา หลังแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ที่มุ่งเน้นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจไปสู่การขับเคลื่อน การเติบโตที่อาศัยการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นหลัก จะพบว่า ไทยพึ่งพาการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศที่มีอัตราการขยายทางเศรษฐกิจสูงมากขึ้น จากที่มีส่วนแบ่งตลาดต่อการส่งออกไทยเพียง 38.2% ในปี 2543 ได้เพิ่มเป็น 53.6% ในปี 2562 

โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดจีน ที่เคยมีสัดส่วนเพียง 4.1% ในระยะแรก แต่การเข้าเป็นสมาชิก WTO หลังจากนั้น ได้เสริมบทบาทการค้าของจีน และยังส่งผลให้กลายเป็นประเทศคู่ค้าหลักลำดับที่ 2 ของไทยรองจากสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนประมาณ 11.9% ของมูลค่าการส่งออก อย่างไรก็ตาม กระแสการกีดกันทางการค้าที่กลับมารุนแรงขึ้น โดยเฉพาะกรณีความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ปะทุขึ้นชัดเจน ตั้งแต่สมัยอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ของสหรัฐฯ เมื่อปี 2561 เป็นต้นมา ได้ทำลายบรรยากาศการค้าโลกและส่งผลทางลบต่อการค้าที่พึ่งพาห่วงโซ่อุปทานจีน รวมถึงการส่งออกของไทยไปยังตลาดจีนที่ขยายตัวได้อย่างจำกัด 

ความพยายามมองหาตลาดส่งออกใหม่ในประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง เช่น กลุ่มประเทศ CLMV ตะวันออกกลางและอินเดีย จึงอาจเป็นแนวทางรับมือกับโลกโฉมใหม่ที่โตช้าลงได้  

การเติบโตที่ช้าลงกับมูลค่าหลุมรายได้ที่หายไป 

การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า มีแนวโน้มเติบโตชะลอลง โดย IMF ได้ประเมินเศรษฐกิจใน 5 ปีข้างหน้า จะขยายตัวเฉลี่ยที่ 3.3% ซึ่งต่ำกว่าการประเมินครั้งก่อนที่ 3.4% และเป็นการเติบโตที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเกิดโควิด-19 ที่ 3.6% โดยในช่วงระยะเวลาของการแพร่ระบาด ระหว่างปี 2563 ถึง 2565 ที่ผ่านมา หลุมรายได้จากวิกฤติโควิดมีมูลค่าประมาณ 6 ล้านล้านบาท หรือ 2 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งคิดเป็น 10.9% ของ GDP และได้กลายเป็นแผลเป็นทางเศรษฐกิจ (economic scars) 

คาดว่าศักยภาพในการเติบโตของไทย มีแนวโน้มเติบโตชะลอลงที่ 3.3% จะซ้ำเติมให้ช่องว่างระหว่างแนวโน้ม GDP ที่ควรจะเป็นก่อนโควิด (Pre-COVID Trend Growth) กับแนวโน้ม GDP ที่น่าจะเกิดขึ้นจริง (ตามประมาณการของ IMF) ห่างมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดหลุมรายได้ที่สูงถึง 2.9 ล้านล้านบาทต่อปี คิดเป็น 12.6% ของ GDP ซึ่งถือเป็นค่าเสียโอกาสของการพัฒนาประเทศในหลายด้าน เนื่องจากเม็ดเงินดังกล่าวเป็นมูลค่าที่สูง หากเปรียบเทียบกับงบประมาณในโครงการต่างๆ จะพบว่าหลุมรายได้ที่หายไปต่อปีดังกล่าว สามารถนำไปใช้ในการลงทุนของภาครัฐได้มากถึง 3.7 ปี 

การเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง ส่งผลให้สัดส่วนการส่งออกสินค้าต่อ GDP ของไทยปรับลดลงต่อเนื่อง อีกทั้ง IMF ได้ประเมินแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในระยะปานกลาง มีโอกาสเติบโตชะลอลง ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่านการส่งออกสินค้าเป็นหลัก โดยเฉพาะความต้องการนำเข้าสินค้าไทยที่อาจชะลอตัวจากประเทศที่อัตราการเติบโตระยะข้างหน้าอ่อนแรงลง เช่น สหรัฐฯ และจีน ซึ่งเป็นคู่ค้าสองอันดับแรกของไทย โดย IMF คาดว่าในปี 2571 สหรัฐฯ จะเติบโต 2.1% และจีนจะเติบโตเพียง 3.4% ชะลอลงจากที่เคยขยายตัวในช่วงปี 2553-2562 โดยเฉลี่ยที่ 2.3% และ 7.7% ตามลำดับ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์