อังค์ถัดชี้การค้าโลกถดถอย ค่าเงินอ่อนค่า ตั้งแต่กลางปี 65

Economics

Analysis

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

อังค์ถัดชี้การค้าโลกถดถอย ค่าเงินอ่อนค่า ตั้งแต่กลางปี 65

Date Time: 24 มี.ค. 2566 06:15 น.

Summary

  • ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ระบุว่าจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มถดถอยลงตั้งแต่ช่วงกลางปี 65 กระทบต่อการค้าโลกตั้งแต่กลางปี 65 เช่นกัน

Latest

“อุตสาหกรรมแบตเตอรี่”  จิ๊กซอว์ที่ต้องต่อให้เต็ม สานฝันไทย “ฮับผลิต EV” ภูมิภาค

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ระบุว่าจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มถดถอยลงตั้งแต่ช่วงกลางปี 65 กระทบต่อการค้าโลกตั้งแต่กลางปี 65 เช่นกัน โดยทำให้มูลค่าการค้าโลกปี 65 อยู่ที่ 32 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการค้าสินค้า 25 ล้านล้านเหรียญฯ เพิ่ม 10% จากปี 64 และการค้าสินค้าบริการ 7 ล้านล้านเหรียญฯ เพิ่ม 15% กระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาอย่างหนัก เพราะทำให้การนำเข้าและส่งออก ลดลงถึง 6% เทียบปี 64 โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออก ที่การส่งออกลดลงถึง 7% และยังคาดว่า ช่วงครึ่งแรกปี 66 การค้าโลกยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ปี 65 การค้าสินค้าสีเขียว หรือสินค้าที่ออกแบบให้ใช้พลังงานน้อย สินค้าที่มีกระบวนการผลิตที่ปล่อยมลพิษน้อย กลับขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยช่วงครึ่งหลังปี 65 ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 4% มูลค่าทั้งปีสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 1.9 ล้านล้านเหรียญฯ สูงกว่าปี 64 ถึง 100 ล้านเหรียญฯ โดยสินค้าที่เพิ่มขึ้น เช่น ยานยนต์ไฮบริด เพิ่มขึ้น 25%, บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช่พลาสติก เพิ่ม 20% กังหันลม เพิ่ม 10%

สำหรับปี 66 คาดว่าไตรมาสแรก มูลค่าการค้าสินค้าโลก เพิ่มขึ้น 1% ขณะที่มูลค่าการค้าบริการ เพิ่มถึง 3% ตามการขยายตัวของการบริการด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี รวมถึงการเดินทางและการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวมากขึ้น และคาดว่าสถานการณ์การค้าโลกจะดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 66 จากแนวโน้มภาวะถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรป การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าถึง 7% ตั้งแต่ พ.ย.65-ก.พ.66 ซึ่งจะส่งผลดีต่อความต้องการซื้อสินค้าโลก อย่างไรก็ดี ยังมีความเสี่ยงจากความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ ความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง ฉุดกำลังซื้อผู้บริโภค ขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะราคาพลังงาน อาหาร และโลหะ การขึ้นดอกเบี้ย และหนี้สาธารณะ ได้ส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจของหลายประเทศ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ