ปี 66 ส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ไทย จะหดตัว 4.5% รับขาลงสินค้ากลุ่มคอมฯ - HDD

Economics

Analysis

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ปี 66 ส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ไทย จะหดตัว 4.5% รับขาลงสินค้ากลุ่มคอมฯ - HDD

Date Time: 20 มี.ค. 2566 15:43 น.

Video

“ไทยรัฐ โลจิสติคส์” ถอดคราบ “ยักษ์เขียว” มุ่งสู่ขนส่งครบวงจร | Thairath Money Talk

Summary

  • มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ไทยจะมีแนวโน้มหดตัวโดยลดลงแตะระดับ 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 1.4 ล้านล้านบาท ลดลง 4.5% สาเหตุหลักจากผลพวงช่วงขาลงของอิเล็กทรอนิกส์โลกหลังโควิด-19

Latest


ในปี 2566 มีการคาดการณ์ว่า มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ไทยจะมีแนวโน้มหดตัวโดยลดลงแตะระดับ 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 1.4 ล้านล้านบาท ลดลง 4.5% จากที่ขยายตัวราว 5% ในปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักจากผลพวงช่วงขาลงของอิเล็กทรอนิกส์โลกหลังโควิด-19 โดยเฉพาะในกลุ่มคอมพิวเตอร์และ HDD ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยที่กินส่วนแบ่งมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ไทยกว่า 46% ในปีที่ผ่านมา

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ปัจจัยด้านอุปสงค์ขาลงของสินอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ที่เคยพุ่งขึ้นแรง กลายเป็นแรงฉุดหลักที่ทำให้การส่งออกของไทยในกลุ่มดังกล่าว ปรับตัวลดลงกว่า 4.6% และ 36.2 % ตามลำดับ ขณะที่การส่งออก PCB ก็มีแนวโน้มหดตัวตามวัฏจักรขาลงของสินค้าในกลุ่มคอมพิวเตอร์และ HDD เช่นกัน โดยคาดว่าน่าจะหดตัวราว 12.8%

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสำคัญจากการก้าวสู่ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศเพื่อนบ้านที่ สืบเนื่องจากนโยบายลดการพึ่งพาจีนจากประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งก่อให้เกิดการกระจายการลงทุนห่วงโซ่อุปทาน ดังที่เห็นจากผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลกหลายเจ้าปรับออเดอร์การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มายังประเทศในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม รวมถึงไทย

ถึงแม้ไทยจะเป็นหนึ่งหมุดหมายปลายทางของนักลงทุน แต่ยังต้องเผชิญการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะผู้ประกอบการเวียดนามที่มีความได้เปรียบด้านต้นทุนแรงงานในการประกอบชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ซับซ้อน และผู้ประกอบการมาเลเซียที่มีความเชี่ยวชาญการประกอบชิ้นส่วนซับซ้อนและไฮเทค ตลอดจนการแข่งขันกับผู้ผลิต PCB ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิต PCB ชั้นสูง โดยเฉพาะในตลาดรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ

อย่างไรก็ดี ข้อมูลยังชี้ให้เห็นว่ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์บางหมวดหมู่อย่าง กระแสรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (EV) และเทคโนโลยีอัจฉริยะโต สวนทางกับส่วนแบ่งตลาดคอมพิวเตอร์ที่มีแนวโน้มลดลง โดยสัดส่วนอุปสงค์อิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่มรถยนต์ และ Consumer ในตลาดโลกที่มีมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น 13.7% และ 12.6% ตามลำดับในปี 2568 จากที่เคยอยู่ระดับร้อยละ 10.2% และ 11.5% ในปี 2565

สถานการณ์ดังกล่าวเป็นโอกาสสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการไทย เช่น กลุ่มผู้รับจ้างประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Manufacturing Services: EMS) ทั้งชิ้นส่วน Semiconductor และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCBA) ซึ่งบางกลุ่มมีการปรับพอร์ตธุรกิจเข้าหาตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ศักยภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ ‘ตลาดรถยนต์’ และ ‘ตลาดผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค’ (Consumer) ที่รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าและแกดเจ็ตต่างๆ


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์