ปี 66 โลกยังคงผันผวน ปัญหาระหว่างประเทศ ค่าครองชีพที่สูง ทำให้หลายองค์กรเผชิญวิกฤติซ้อนวิกฤติ

Economics

Analysis

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ปี 66 โลกยังคงผันผวน ปัญหาระหว่างประเทศ ค่าครองชีพที่สูง ทำให้หลายองค์กรเผชิญวิกฤติซ้อนวิกฤติ

Date Time: 8 ก.พ. 2566 18:36 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • ผลสำรวจเผย แม้ผลกระทบจากโรคระบาดจะบรรเทาลง แต่องค์กรทั่วโลกยังต้องเผชิญความผันผวน วิกฤติซ้อนวิกฤติ ที่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

Latest


ผลสำรวจเผย แม้ผลกระทบจากโรคระบาดจะบรรเทาลง แต่องค์กรทั่วโลกยังต้องเผชิญความผันผวน วิกฤติซ้อนวิกฤต ที่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ยกตัวอย่างเช่น แรงกดดันด้านค่าครองชีพ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ และเหตุการณ์ความไม่สงบที่เพิ่มสูงขึ้นในบางภูมิภาคของโลก

จากรายงานภาพรวมแนวโน้มความเสี่ยงทั่วโลกประจำปี 2566 และแผนที่ความเสี่ยงทั่วโลกฉบับปรับปรุงใหม่ ที่จัดทำโดย อินเตอร์เนชันแนล เอสโอเอส ซึ่งได้สำรวจความคิดเห็นเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสด้านความเสี่ยง จำนวน 1,218 คน ใน 108 ประเทศ เกี่ยวกับความเสี่ยงองค์กรที่ต้องรับมือในปี 2566

ผลกระทบด้านภูมิรัฐศาสตร์

การแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนในปี 2565 ทำให้ประเด็นความเสี่ยงด้านความขัดแย้งระหว่างประเทศ เป็นที่จับตามองของหลายองค์กร เพราะจะส่งผลด้านลบต่อความสามารถในการผลิตที่ต่อเนื่องในปี 2566


ความวุ่นวายที่เพิ่มสูงขึ้นในสังคม

ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นเพิ่มเติม ผู้บริหารระดับสูงมองว่า ความไม่สงบในสังคม จะเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียประสิทธิภาพการทำงาน โดย 48% มองว่า แรงกดดันด้านค่าครองชีพจะส่งผลกระทบต่อพนักงานในประเทศ และ 33% มองว่าเหตุการณ์ความไม่สงบทางสังคมจะส่งผลกระทบต่อผู้ที่เดินทางเพื่อทำธุรกิจ และส่งผลกระทบต่อองค์กรและพนักงานในหลายๆ ด้าน ยกตัวอย่างเช่น
ความผันผวนในตลาดพลังงานและการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่เศรษฐกิจเปราะบาง ไม่มั่นคง ซึ่งประเทศหรือภูมิภาคที่มีความเสี่ยงสูงสุด คือ กลุ่มประเทศแอฟริกาตอนใต้ทะเลทรายซาฮารา (Sub-Saharan Africa) อียิปต์ เลบานอน
ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจหรือการเมือง จะกระตุ้นให้ประชาชนไม่พอใจ และความไม่พอใจนี้จะขยายวงกว้าง ซึ่งประเทศที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ได้แก่ ปากีสถาน ศรีลังกา เอกวาดอร์ เปรู และอิรัก
การแบ่งขั้วอำนาจในระดับโลก จะนำไปสู่การแบ่งขั้วอำนาจภายในประเทศมากยิ่งขึ้น และจะกระตุ้นให้เกิดความไม่สงบทางสังคมจนทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และในกรณีที่เลวร้ายที่สุด จะกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงและอาชญากรรมในท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น ประเทศหรือภูมิภาคที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และยุโรปตะวันตก

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

มีการคาดการณ์ว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพเพิ่มสูงขึ้น เช่น เกิดโรคติดเชื้อชนิดใหม่ หรือทำให้โรคติดเชื้อที่มีอยู่เดิมกลับมาเกิดซ้ำเร็วขึ้น การระบาดของโรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก และไข้ซิกา ในพื้นที่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นต้น
จากข้อมูลมีเพียง 25% เท่านั้น ที่ระบุว่า องค์กรของตนกำลังเตรียมพร้อมรับมือกับโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆ

การเดินทางกลับมาอยู่ในระดับก่อนโควิดแพร่ระบาด

มีแนวโน้มว่า มีการเดินทางที่สูงขึ้นและกลับไปอยู่ในระดับก่อนที่จะเกิดโรคระบาด โดยปัจจุบันการเดินทางระหว่างประเทศในขณะนี้อยู่ที่ 83% ของช่วงก่อนที่จะเกิดโควิด-19 และนักเดินทางมีแนวโน้มที่จะขอคำแนะนำและความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น 2 เท่า จากข้อมูล ระบุว่า องค์กรส่วนใหญ่ 86% คงงบประมาณการบริหาร เพื่อจัดการความเสี่ยงด้านการเดินทางไว้เท่าเดิม และเพิ่มขึ้น เพราะการเดินทางเพื่อธุรกิจในปี 2566 อาจมีความยุ่งยากซับซ้อน องค์กรควรลงทุนในด้านการเดินทางเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยให้นักเดินทางเพื่อธุรกิจ เดินทางอย่างปลอดภัยในอนาคต

นอกจากนี้ผลสำรวจระบุถึง 5 แนวโน้มสำคัญที่องค์กรให้ความสำคัญในปี 2566 ได้แก่

1. ข้อมูลที่ทันเหตุการณ์ ถูกต้อง เชื่อถือได้ และนำไปปฏิบัติได้จริง ข้อมูลเชิงลึกช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ

2. การปรับตัวเข้าสู่โหมด 'วิกฤติซ้อนวิกฤติ' ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ ความท้าทายทางเศรษฐกิจและสังคม และการแบ่งขั้วที่เพิ่มสูงขึ้น

3. วางแผนเพื่อรับมือกับสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ผู้เดินทางต้องการความช่วยเหลือมากขึ้นกว่าเดิม

4. การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัจจัยอื่นๆ ส่งผลให้ความเสี่ยงด้านสุขภาพเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังส่งผลกระทบอย่างมากมายในวงกว้าง จำเป็นต้องมีวิธีการที่ครอบคลุมในการเข้าถึงประกันสุขภาพ

5. สมการความสุขในการทำงาน (A+B+C)-D สุขภาพจิตในที่ทำงานยุคใหม่

ดังนั้น องค์กรต้องปรับตัวให้ทันในภาวะวิกฤติซ้อนวิกฤติ ทบทวนปัจจัยที่จะกระตุ้นความไม่สงบ และความเป็นไปได้อย่างสม่ำเสมอ ให้การสนับสนุนพนักงาน โดยเฉพาะทีมบริหารจัดการวิกฤติ วางแผนด้วยข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำในการตัดสินใจ เพื่อช่วยเหลือพนักงานให้เตรียมรับมือกับความไม่แน่นอนที่เปลี่ยนแปลงวันต่อวัน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดหลังจากนี้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ