ก่อน "ออมทอง" ต้องรู้ แฉ 5 พฤติกรรมที่แก๊งมิจฉาชีพชอบหลอกเหยื่อลงทุน

Economics

Analysis

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ก่อน "ออมทอง" ต้องรู้ แฉ 5 พฤติกรรมที่แก๊งมิจฉาชีพชอบหลอกเหยื่อลงทุน

Date Time: 5 ม.ค. 2566 15:30 น.

Video

ดร.พิพัฒน์ KKP กระเทาะโจทย์เศรษฐกิจไทย บุญเก่าเจอความเสี่ยง บุญใหม่มาไม่ทัน

Summary

  • ออมทองอย่างไรไม่ให้โดนโกง แฉ 5 พฤติกรรมที่แก๊งมิจฉาชีพชอบหลอกเหยื่อลงทุน พบส่วนใหญ่จะอ้างว่า ราคาทองต่ำกว่าราคาตลาด แต่ให้ผลตอบแทนสูงเกิดความเป็นจริง

Latest


  • ออมทองอย่างไรไม่ให้โดนโกง แฉ 5 พฤติกรรมที่แก๊งมิจฉาชีพชอบหลอกเหยื่อลงทุน
  • พบส่วนใหญ่จะอ้างว่า ราคาทองต่ำกว่าราคาตลาด แต่ให้ผลตอบแทนสูงเกินความเป็นจริง
  • เน้นเปิดรับตัวแทน มีแม่ข่าย สร้างเครือข่ายคล้ายแชร์ลูกโซ่

ต้องยอมรับว่า กระแสการลงทุนในทองคำ ไม่ว่าจะเป็นการออมทอง การผ่อนทอง การซื้อทองสะสม รวมไปถึงการเทรดทองออนไลน์ทั้ง Gold Spot และ Gold Future แต่ก็มีนักลงทุนเป็นจำนวนมากที่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพที่หลอกลวงให้ร่วมลงทุนก่อนจะหอบเงินหนีหายไปในกลีบเมฆ 

โดย บุษบา กุลศิริธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ SGC บอกกับเราว่า การลงทุนทองคำ ทั้งรูปแบบ "ทองคำแท่ง" และ "ทองรูปพรรณ" ยังคงเป็นการเลือกลงทุนที่ได้รับความนิยมในการออมเพื่อทรัพย์สินหมุนเวียนและใช้เป็นเครื่องประดับมาอย่างต่อเนื่องสำหรับคนไทย

ขณะเดียวกันพบผู้บริโภคหลายกลุ่มมองทองเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย มีมูลค่าไม่ลดน้อยลงมากนัก หรือมีความผันผวนต่ำ แม้ในยามวิกฤติยุคเศรษฐกิจผันผวน ทำให้การลงทุนทองเป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจจากผู้บริโภค โดยเป็นการลงทุนทองเพื่อเก็บออมสินทรัพย์เพิ่มมากขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่ หรือแม้แต่การเตรียมของขวัญล่วงหน้าสำหรับเทศกาลตรุษจีนในช่วงต้นปี 2566 ทองคำจึงนับเป็นของขวัญที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ในการเลือกซื้อ หรือลงทุนสะสมทองเพื่อเป็นของขวัญให้กับตัวเองและสมาชิกในครอบครัว

แต่ด้วยรูปแบบการผ่อนทองปัจจุบันที่หลากหลาย เพื่อให้ตอบโจทย์และเข้าถึงผู้บริโภคหลายกลุ่ม จึงกลายเป็นช่องโหว่ให้มิจฉาชีพใช้กลโกงล่อลวงประชาชนร่วมผ่อนทองหรือออม จนสูญเงินกันไปจำนวนมาก ทั้งรูปแบบแชร์ลูกโซ่ หรือจูงใจด้วยโปรโมชั่นราคาถูก และให้ผลตอบแทนสูงเกินจริง ทั้งบนแพลตฟอร์มออนไลน์ รวมทั้งในโซเชียลมีเดีย

พฤติกรรมที่เข้าข่ายและเป็นกลโกงของแก๊งมิจฉาชีพที่พบหลายรูปแบบในปัจจุบัน

1. ปิดบังไม่ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับหน่วยงาน คุณสมบัติเปิดกว้างให้ทุกเพศ ทุกวัย เข้าร่วมลงทุนได้โดยไม่จำกัดวงเงิน

2. ราคาทองต่ำกว่าราคาตลาด แต่ให้ผลตอบแทนสูงเกิดความเป็นจริง เพื่อล่อลวงให้คนมาลงทุนจำนวนมาก

3. ลักษณะการออม เป็นการเปิดรับตัวแทน มีแม่ข่าย เน้นสร้างเครือข่าย รับผลตอบแทนเพิ่มเมื่อสามารถเพิ่มเครือข่ายได้จำนวนมาก กระบวนการคล้ายแชร์ลูกโซ่

4. ช่วงแรกจ่ายปันผล ได้ทองจริง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และจูงใจให้ใส่เงินลงทุนหาเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น

5. เมื่อจำนวนสมาชิกเพิ่ม เงินลงทุนมากขึ้นก็จะเริ่มติดต่อยาก และหนีหายติดต่อไม่ได้

หากพบพฤติกรรมต้องสงสัยตั้งแต่ข้อแรกให้ระมัดระวังและอย่าหลงเชื่อเข้าร่วมลงทุน เพราะไม่มีการลงทุนใดที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่สูงเกินความเป็นจริง

แนะ 3 วิธีรู้เท่าทันมิจฉาชีพก่อนเลือกลงทุนผ่อนทอง

บุษบา กล่าวอีกว่า SGC ในฐานะผู้ให้บริการธุรกิจสินเชื่อชั้นนำ และให้บริการสินเชื่อ CLICK2GOLD บริการสินเชื่อผ่อนทองรูปพรรณ พร้อมการันตีได้ทอง 100% เมื่อผ่อนครบสัญญา ในราคาที่ยุติธรรมตรงตามจริง ณ วันเริ่มสัญญา โดยเราได้จับมือกับผู้นำธุรกิจค้าทองคำและเครื่องประดับเพชรชั้นนำ ให้บริการผ่อนทองบนแพลตฟอร์มไลน์ LINE Official ในรูปแบบของการผ่อนเพื่อเก็บออม

โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ไม่ได้มีรายได้ประจำ อาชีพพ่อค้า แม่ค้า รับจ้าง คนรุ่นใหม่ที่ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ให้สามารถเป็นเจ้าของทอง เพื่อสะสมทรัพย์ที่ปลอดภัย ซึ่งเรามี วิธีที่ผู้บริโภครู้เท่าทันมิจฉาชีพและเลือกลงทุนผ่อนทองที่คุ้มค่า ความปลอดภัย ไม่เสี่ยงสูญเงิน มีดังนี้ 

1. เลือกผ่อนทองกับผู้ให้บริการที่มีชื่อเสียง เชื่อถือได้ มีประวัติให้บริการมานาน

2. เลือกลงทุนกับแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ หรือโซเชียลมีเดีย เฉพาะกับผู้ประกอบการที่มีความน่าเชื่อถือ มีตัวตนและที่อยู่ชัดเจน เปิดดำเนินธุรกิจมานาน และมีสภาพคล่องทางการเงินที่มั่นคง หรือเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

3. เลือกลงทุนกับผู้นำเข้าทองคำที่มีความน่าเชื่อถือ ให้บริการมานาน และควรรีเช็กทุกครั้งว่าเว็บไซต์ หรือโซเชียลมีเดียดังกล่าวที่เปิดให้บริการลงทุนทองคำเป็นของผู้ประกอบการรายนั้นจริง ไม่ใช่เป็นเพียงเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพปลอมแปลงขึ้นเพื่อหลอกลวง

สุดท้ายนี้ ก่อนจะลงทุนอะไรควรศึกษารายละเอียดให้ดี โดยเฉพาะพวกที่ชอบโปรโมตโฆษณาเกินจริงว่า ลงทุนน้อยๆ ได้เงินเยอะๆ หากสงสัยว่าเข้าข่ายแชร์ลูกโซ่หรือไม่ก็ลองสอบถามไปที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI

ผู้เขียน : กมลทิพย์ หิรัญประเสริฐสุข kamonthip.h@thairathonline.co.th 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ