ว่าด้วยเรื่อง ภาษีลาภลอย หรือ Windfall tax เก็บทำไม ใครต้องจ่าย

Economics

Analysis

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ว่าด้วยเรื่อง ภาษีลาภลอย หรือ Windfall tax เก็บทำไม ใครต้องจ่าย

Date Time: 21 มิ.ย. 2565 13:13 น.

Video

สาเหตุที่ทำให้ Intel อดีตยักษ์ใหญ่ชิปโลก ล้าหลังยุค AI | Digital Frontiers

Summary

  • ภาษีลาภลอย กฎหมายภาษีลาภลอย หรือ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ (Windfall Tax) คืออะไร

Latest


  • ภาษีลาภลอย กฎหมายภาษีลาภลอย หรือ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ (Windfall Tax) คืออะไร
  • ใครบ้างต้องจ่ายภาษีลาภลอย และใครที่ได้รับการยกเว้นภาษี
  • จัดเก็บภาษีลาภลอยอย่างไร

ภาษีลาภลอย กลับมาพูดถึงกันอีกครั้ง หลังนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. ไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าวอีกครั้ง หลังกระทรวงการคลังได้เคยเสนอไปเมื่อก่อนหน้านี้ตอนปี 2561 แต่ก็ถูกตีตกไป หลายคนอาจจะสงสัยว่า "ภาษีลาภลอย" คืออะไร แล้วใครต้องเสียภาษี และใช่ความหมายเดียวกับการเก็บภาษีคนรวยหรือไม่ โดยรายละเอียดมีดังนี้

ภาษีลาภลอย กฎหมายภาษีลาภลอย หรือ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ (Windfall Tax) คือ การจัดเก็บภาษีจากผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการลงทุนสาธารณูปโภคของรัฐ 

เช่น รถไฟฟ้า สนามบิน ถนน ฯลฯ ทำให้ที่ดินในบริเวณใกล้เคียงโครงการมีราคาสูงขึ้นมากเป็นพิเศษ เจ้าของที่ดินเหล่านั้นร่ำรวยมั่งคั่งขึ้น โดยไม่ได้ลงทุนเอง เป็น ลาภลอย ที่ได้มาเปล่าๆ จึงเรียกภาษีชนิดนี้ว่า ภาษีลาภลอย) ซึ่งภาษีรูปแบบนี้ไม่ใช่ของใหม่ เพราะในหลายๆ ประเทศทั่วโลกใช้กัน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (อ้างอิงจากไทยรัฐพลัส)

โดยโครงการพัฒนาของรัฐที่อยู่ในข่ายต้องจัดเก็บภาษี พื้นที่จัดเก็บภาษีกำหนดขอบเขตไว้ หรือ รัศมีรอบโครงการโดยประมาณ

1. รถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน พื้นที่ในรัศมี 2.5 กิโลเมตร รอบสถานี

2. ท่าเรือ พื้นที่ในรัศมี 5 กิโลเมตร จากแนวเขตที่ดินของท่าเรือ

3. โครงการทางด่วนพิเศษ พื้นที่ในรัศมี 2.5 กิโลเมตร รอบทางขึ้นและทางลง

4. สนามบิน พื้นที่ในรัศมี 5 กิโลเมตร จากแนวเขตห้ามก่อสร้างของสนามบิน

ใครบ้างต้องจ่ายภาษีลาภลอย

- ที่ดิน ห้องชุด ที่ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาท

ใครบ้างที่ได้รับการยกเว้นเก็บภาษีลาภลอย

- ที่อยู่อาศัย
- เกษตรกรรม
- มรดกตกทอดจะไม่มีการเก็บภาษี

การจัดเก็บภาษีลาภลอย

1. ในระหว่างการดำเนินการจัดทำโครงการฯ จะจัดเก็บภาษีทุกครั้งที่มีการขาย หรือโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือห้องชุด ซึ่งตั้งอยู่รอบพื้นที่โครงการในรัศมีที่กำหนด

2. เมื่อการก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จจะจัดเก็บภาษีเพียงครั้งเดียวจากที่ดิน หรือห้องชุด เฉพาะส่วนที่ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูงกว่า 50 ล้านบาท และห้องชุดของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่รอจำหน่าย

ทั้งนี้ คงต้องติดตามดูต่อว่าความคืบหน้าของ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐนี้จะประกาศใช้ได้เมื่อไหร่ และจะส่งผลดีต่อประเทศไทยอย่างไรบ้างในอนาคต.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์