ชงรัฐหนุนพลังงานสะอาด บิ๊กแสนสิริเสนอทางออกวิกฤติความมั่นคง

Economics

Analysis

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ชงรัฐหนุนพลังงานสะอาด บิ๊กแสนสิริเสนอทางออกวิกฤติความมั่นคง

Date Time: 11 เม.ย. 2565 06:24 น.

Summary

  • “เศรษฐา ทวีสิน” เปิดมุมมองธุรกิจพลังงานสะอาด คือคำตอบสุดท้ายในภาวะวิกฤติความมั่นคงทางพลังงานบนเงื่อนไขสงครามรัสเซีย–ยูเครน

Latest

“อุตสาหกรรมแบตเตอรี่”  จิ๊กซอว์ที่ต้องต่อให้เต็ม สานฝันไทย “ฮับผลิต EV” ภูมิภาค

“เศรษฐา ทวีสิน” เปิดมุมมองธุรกิจพลังงานสะอาด คือคำตอบสุดท้ายในภาวะวิกฤติความมั่นคงทางพลังงานบนเงื่อนไขสงครามรัสเซีย–ยูเครน ทำให้ทั่วโลกโดยเฉพาะยุโรป ต้องยืนบนทาง 2 แพร่งกับนโยบายพลังงานนับจากนี้ไป ย้ำธุรกิจพลังงานสะอาดที่เป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับโลกยุคใหม่ แต่ยังมีสารพัดข้อจำกัดในการลงทุนโดยเฉพาะนโยบายของภาครัฐ

นายเศรษฐา ทวีสิน ประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงกรณีสงครามรัสเซีย-ยูเครน ได้สร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดและกลไกภูมิรัฐศาสตร์ ทางด้านพลังงาน ส่งผลกระทบอย่างหนักกับราคาของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในระยะสั้น แต่ที่น่าสนใจก็คือความขัดแย้งครั้งนี้จะส่งผลระยะกลางและระยะยาวอย่างไรกับอุตสาหกรรมพลังงาน ที่กำลังพยายามเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดจะเกิดผลบวกหรือลบ และกระทบโรดแม็ปของแต่ละประเทศ หลังจากที่ได้ลงนามและผูกพันตัวเองกับประชาคมโลกครั้งประชุม COP26 เมื่อปลายปีที่แล้วอย่างไรบ้าง

ทั้งนี้ คงต้องบอกว่าการเกิดขึ้นอย่างฉับพลันของสงครามครั้งนี้ส่งผลให้ทุกประเทศในโลก โดยเฉพาะทวีปยุโรป หันมาดูเรื่องของการบริหารความเสี่ยงด้านพลังงานของตัวเองกันอย่างกลับตัวแทบไม่ทัน เนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และน้ำมันถึง 10-25% ของปริมาณในตลาดโลกทั่วโลกเดินบนความเสี่ยง 2 ทาง

“ดูจากสถานการณ์แล้วจะเห็นว่าชาติต่างๆ มีทางเลือกที่จะบริหารความเสี่ยง 2 ทางเลือก ทางแรก คือ การกระจายความเสี่ยง ไปพึ่งพิงแหล่งพลังงานเดิมๆอย่างก๊าซธรรมชาติ เชื้อเพลิงฟอสซิล ถ่านหิน รวมไปถึงนิวเคลียร์ที่เป็นของตัวเองและบริหารอย่างพอเพียง อีกทางเลือกที่ท้าทาย คือ การลดปริมาณการใช้แหล่งพลังงานแบบเดิม ที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งหมายถึงการเร่งกระบวนการ ปรับตัวเข้าสู่พลังงานสะอาดอย่างโซลาร์เซลล์หรือพลังงานลม เป็นต้น”

สำหรับทางเลือกแรกดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ใกล้มือที่สุดของหลายๆประเทศ หลังจากเหตุการณ์สงครามเริ่มขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือหลายประเทศต้องกลืนน้ำลายตัวเองและหาทางเข้าถึงแหล่งพลังงานแบบเดิมๆโดยหลับตาข้างหนึ่ง ไม่มองว่าผลกระทบทางด้านมลภาวะจะเกิดขึ้นเพียงใด หรือสวนทางกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่งประกาศกันไป เช่นบริษัทน้ำมัน Aramco ของซาอุดีอาระเบีย ภายใต้การสนับสนุนของฟากตะวันตกก็ประกาศลงทุนเพิ่มอีก 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปีเพื่อผลิตน้ำมัน

“หลายๆบริษัทยังลังเล เนื่องด้วยข้อตกลงต่างๆ เรื่องการลดภาวะโลกร้อนและก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ ที่ค่อนข้างเข้มข้นใน 2-3 ปีที่ผ่านมา และกระแสเรียกร้องจากสังคมในเรื่องนี้ หลายๆบริษัทก็ชั่งใจอย่างหนักในการลงทุนเพิ่มกับถ่านหินหรือพลังงานฟอสซิล ใครจะไปลงทุนเพิ่ม เพราะเมื่อสงครามจบ สภาวะขาดแคลนพลังงานกลับเข้าสู่ปกติ ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมก็จะกลับมาสำคัญอีก เป็นความเสี่ยงที่ทำให้อาจเห็นไม่กี่รายที่กล้าลงทุนเพิ่มแบบ Aramco แล้วถ้าใครไม่มีแหล่งก๊าซธรรมชาติและไม่กล้าลงทุนด้านถ่านหินหรือฟอสซิลจะทำอย่างไร โดยเฉพาะสหภาพยุโรปที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการตัดท่อน้ำเลี้ยง ก๊าซธรรมชาติของรัสเซีย และจะมีปัญหาในฤดูหนาวปีหน้า หากสงครามยังต่อเนื่องยาวไป”

พลังงานสะอาดติดหล่มนโยบายรัฐล่าสุดเห็นว่ามีบางประเทศหันกลับมาโฟกัส ที่โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ อาทิ ฝรั่งเศสก็ประกาศแผนการสร้างโรงงานขึ้นมาใหม่อีก 6 แห่ง อังกฤษ ก็มีแผนจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุ่นใหม่อย่างรวดเร็ว อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน และในยุโรปก็มีการประกาศเลื่อนการปิดโรงงานนิวเคลียร์ออกไปถึง 5 แห่งด้วยกัน ซึ่งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีข้อเสียด้านความปลอดภัย และการกำจัดกากกัมมันตภาพ รังสีอย่างมีประสิทธิภาพที่ยังเป็นประเด็น หรือในกรณีที่ยุโรปจะหันไปพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติจากพันธมิตร คือสหรัฐฯ หรือหาทางสร้างเครือข่ายการส่งต่อเชื้อเพลิงฟอสซิลจากแหล่งใหม่ๆในทวีป ซึ่งแนวคิดนี้ต้องอาศัยการลงทุนทางโครงสร้างเกือบ 10 ปีจากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน แต่ก็ไม่มีใครคิดว่าความขัดแย้งนี้จะลากยาวไปถึง 10 ปี ดังนั้นการลงทุนทางด้านการสร้างเครือข่ายพวกนี้ก็ถูกปัดตกไป

สำหรับทางเลือกที่ 2 หรือการเร่งรัดพัฒนาพลังงานสะอาด ต้องบอกว่าด้วยอัตราการพัฒนาเทคโนโลยีปัจจุบัน โครงการประเภทผลิตพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม สามารถสร้างได้รวดเร็ว และเพิ่มปริมาณการผลิตได้เร็วเมื่อเทียบกับในอดีต อีกทั้งเทคโนโลยีของแบตเตอรี่ที่ใช้จัดเก็บพลังงานก็พัฒนาอย่างก้าวกระโดดในช่วงไม่ถึง 10 ปีข้างหน้าอาทิ แบตเตอรี่รถไฟฟ้า เชื่อว่าการหันมาพัฒนาพลังงานทางเลือกจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

“ผมมองว่าเทคโนโลยี เงินลงทุน และการตอบรับของผู้บริโภคไม่ใช่ประเด็น แต่อุปสรรคที่สำคัญกลับเป็นเรื่องของนโยบายภาครัฐที่ยังไม่ค่อยเอื้อให้กับโครงการพลังงานสะอาด เพราะมีทั้งกฎเกณฑ์ที่ซับซ้อน กินเวลานานในการอนุมัติ อาทิ ในอิตาลีที่ใช้เวลานาน 7 ปีในการอนุมัติโครงการพลังงานสะอาด จึงอาจทำให้บริษัทผู้ผลิตพลังงานถอดใจที่จะลงทุน.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ