กูรูมองปี 2022 เงินเฟ้อกดดัน ค่าแรงดีดตัว ฉุดตลาดโลกชะลอตัว

Economics

Analysis

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

กูรูมองปี 2022 เงินเฟ้อกดดัน ค่าแรงดีดตัว ฉุดตลาดโลกชะลอตัว

Date Time: 12 ก.พ. 2565 10:30 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • เปิดมุมมองเศรษฐกิจปี 2022 นักวิเคราะห์ชี้เงินเฟ้อกดดัน-ค่าแรงดีดตัว ฉุดตลาดโลกชะลอตัว ส่วนอาเซียนกลับฟื้นตัวสดใส พร้อมเปิด 4 ไอเดียปรับพอร์ตลงทุนเพิ่มผลตอบแทน-รับมือความผันผวน

Latest


เปิดมุมมองเศรษฐกิจปี 2022 นักวิเคราะห์ชี้เงินเฟ้อกดดัน-ค่าแรงดีดตัว ฉุดตลาดโลกชะลอตัว ส่วนอาเซียนกลับฟื้นตัวสดใส พร้อมเปิด 4 ไอเดียปรับพอร์ตลงทุนเพิ่มผลตอบแทน-รับมือความผันผวน

อเล็กซานเดอร์ ทาวาซซี่ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน เอเชีย นักกลยุทธ์เศรษฐกิจโลก และประธานกรรมการบริหารสายงานลงทุน Pictet Wealth Management กล่าวภายในงาน Economic and Investment Outlook 2022: เปิดมุมมองเศรษฐกิจโลก เจาะลึกกลยุทธ์การลงทุนไทย ซึ่งจัดโดยธนาคารกรุงเทพ 

โดย เขามองว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2022 มีทิศทางชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้าในลักษณะที่เรียกว่า Soft Landing โดยมีปัจจัยกดดันสำคัญอยู่ที่อัตราเงินเฟ้อ เนื่องจากมีรายการสินค้าจำนวนมากที่ราคากำลังปรับตัวสูงขึ้น ปัญหาจากการจัดการอุปทานในด้านกำลังการผลิตและการขนส่ง รวมถึงปัญหาด้านแรงงานและค่าแรงที่ยังคงมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังภาคธุรกิจต่างๆ กลับมาดำเนินธุรกิจอีกครั้งและต้องการแรงงานที่มีทักษะกลับเข้าสู่ระบบ

ทั้งนี้ ตลาดการลงทุนที่น่าสนใจยังคงเป็นในฝั่งเอเชีย โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียนที่จะเริ่มฟื้นตัวได้อย่างชัดเจนในปีนี้ หลังจากต้องเผชิญสถานการณ์ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งทำให้ธุรกิจจำนวนมากได้รับผลกระทบในปีที่ผ่านมา ดังนั้น ในเวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาของการเปิดประเทศเพื่อต้อนรับการลงทุนอีกครั้ง จากธุรกิจต่างๆ ที่ต้องการบริหารห่วงโซ่อุปทานของตนเองโดยเข้าไปลงทุนในประเทศอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากจีน หรือนโยบาย China Plus One

โดยทาวาซซี่ ได้แนะนำแนวคิดเกี่ยวกับการจัดสรรเงินลงทุนในปี 2022 ออกเป็น 4 ธีม ประกอบด้วย

1. การลงทุนที่ในกลุ่มธุรกิจที่คำนึงถึงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ซึ่งเป็นแนวโน้มการลงทุนในยุคหลังโควิด เพื่อเดินหน้าสู่ภายใต้เป้าหมายการลดปริมาณปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว รัฐบาลแต่ละประเทศต้องใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 3.5 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ซึ่งปัจจุบันยังลงทุนค่อนข้างน้อยเพียง 1 ใน 3 ของแผนงานดังกล่าว จึงมั่นใจว่าในระยะหลังจากนี้จะเห็นแนวโน้มการลงทุนในธุรกิจเหล่านี้เพิ่มขึ้นอีก 3 เท่าตัว

2. เน้นการลงทุนที่สร้างกระแสเงินสดต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่มีคุณภาพดี อาจพิจารณาจากธุรกิจที่มีการจ่ายเงินปันผล การลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทที่มีเครดิตดีที่เป็นกลุ่มธุรกิจดาวรุ่งในเอเชีย ซึ่งมีหลายบริษัทที่กลับมามีอันดับเครดิตที่ดีขึ้นในระดับเกรดลงทุนอีกครั้ง หลังสถานการณ์โควิด-19 ได้คลายตัวลง และอาจสร้างโอกาสเพิ่มอัตราผลตอบแทนได้โดยพิจารณาลงทุนในประเทศที่มีแนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งแกร่ง โดยประเมินจากการมีพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดี มีดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นบวก และมีระดับหนี้สินค่อนข้างต่ำ

3. การลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ หากประเมินอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับ 2-4% การลงทุนในหุ้นยังคงเป็นทางเลือกที่ดีมาก โดยเฉพาะธุรกิจที่มีอำนาจต่อรองสูงเพราะมีความสามารถทำกำไรในภาวะที่ต้นทุนสูงขึ้นได้ อาจเป็นธุรกิจที่มีพื้นฐานแบรนด์แข็งแกร่ง มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย คู่แข่งเลียนแบบได้ยาก จึงมีความสามารถปรับขึ้นราคาเพื่อส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้นไปยังผู้บริโภคแทนได้ เช่นเดียวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มักให้ผลตอบแทนที่ดีในสถานการณ์เงินเฟ้อสูง

4. ทางเลือกลงทุนภายใต้ความผันผวน การบริหารจัดการพอร์ตลงทุน ต้องเตรียมพร้อมปรับตัวและมีแผนเชิงรุกเพื่อรับมือกับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนต่างๆ เช่น ปัจจัยความขัดแย้งระหว่างประเทศในเอเชียและยุโรป ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหลังการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงอาจพิจารณาทางเลือกในการบริหารความเสี่ยงด้วยเช่นกัน

ทาวาซซี่ ทิ้งท้ายว่า ในมุมของเรามองว่าปี 2022 ภาวะเศรษฐกิจยังคงเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน แต่ก็ยังคงเชื่อมั่นว่าจะมีผลบวกต่อการลงทุน และโอกาสการลงทุนใหม่ๆ ที่ยังคงมีแนวโน้มเติบโตที่ดี ซึ่งหวังว่าการแบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก รวมถึงทิศทางการลงทุนดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจบริหารการลงทุนในปีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ