เศรษฐกิจมีทั้งข่าวดีข่าวร้าย

Economics

Analysis

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

เศรษฐกิจมีทั้งข่าวดีข่าวร้าย

Date Time: 19 ม.ค. 2565 05:39 น.

Summary

  • นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ พยากรณ์ว่า เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวต่อไป ในปี 2565 แต่กว่าจะกลับมาดีเท่าเดิมต้องรอถึงปี 2566

Latest

Credit Scoring กับการเติบโตของเศรษฐกิจ

ประเทศไทยภายใต้วิกฤติโควิด-19 ขณะนี้ มีทั้งข่าวร้ายและข่าวดี ข่าวร้ายก็คือ การแพร่ระบาดของไวรัสพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน” ที่ระบาดรวดเร็วกว่าพันธุ์เดลตาหลายสิบเท่า ส่วนข่าวดีก็คือนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ พยากรณ์ว่า เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวต่อไป ในปี 2565 แต่กว่าจะกลับมาดีเท่าเดิมต้องรอถึงปี 2566

บทความของ ดร.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ “บางกอกโพสต์” ระบุว่า ในปี 2564 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยขยายตัวแค่ 0.8% ปี 2563 โดด 1% แต่ในปี 2565 นี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะโตถึง 3.5% ถึง 4%

เชื่อว่า เศรษฐกิจไทยจะกลับมาโตถึง 6.1% เท่ากับปี 2562 ก่อนที่โควิดจะแพร่ระบาดในปี 2566 สอดคล้องกับผลการสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการ ค้าไทย เมื่อเดือนธันวาคม 2564 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค อยู่ที่ 46.2% ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และสูงสุดในรอบ 9 เดือน ทำให้เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยจะรับมือกับโอมิครอนได้

ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ชี้แจงว่า ประชาชนได้รับรู้ว่าสถานการณ์เริ่มดีขึ้น ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา หลังจากที่เศรษฐกิจไทยได้รับความเสียหายร้ายแรง ราว 8 แสนล้านบาท ถึง 1 ล้านล้านบาท จากผลของการปิดประเทศหรือล็อกดาวน์ของรัฐบาล เมื่อเดือนเมษายน 2563

แม้เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว แต่ข่าวร้ายเรื่องเศรษฐกิจก็ยังมีอยู่ โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจปากท้องของประชาชน ในยุคข้าวยากหมากแพง ข้าวปลาอาหารแพง นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์กรนายจ้างฯ แสดงความเป็นห่วงการจ้างงานในปี 2565 ที่มีผู้จบการศึกษาใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงาน ประมาณ 4.9 แสนคน

รองประธานสภาองค์กรนายจ้างฯ เปิดเผยว่า การว่างงานในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 พุ่งสูงขึ้นอย่างผิดความคาดหมาย ถึง 2.3% สูงสุดใน 5 ปี มีผู้ว่างงานหรือเสมือนว่างงาน คือ ทำงานแค่ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ถึง 1.77 ล้านคน

รวมกับบรรดาผู้จบการศึกษาใหม่ หรือบัณฑิตใหม่อีกเกือบ 5 แสนล้านคน ที่ออกมาแย่งกันหางานทำ แต่อุตสาหกรรมไทย 50% ที่เป็นนายจ้าง ส่วนใหญ่ต้องการแรงงานที่ไร้ทักษะ หรือแรงงานเข้มข้นจำนวนมาก ผู้ที่จบการศึกษาใหม่ อาจไม่ตรงกับความต้องการของตลาด การหางานปีนี้จึงเปราะบางสูง.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ