ปัญหา "ขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์" ไม่ใช่เรื่องเล็ก Exporter แทบกระอักเลือด

Economics

Analysis

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ปัญหา "ขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์" ไม่ใช่เรื่องเล็ก Exporter แทบกระอักเลือด

Date Time: 14 พ.ค. 2564 12:13 น.

Video

“ไทยรัฐ โลจิสติคส์” ถอดคราบ “ยักษ์เขียว” มุ่งสู่ขนส่งครบวงจร | Thairath Money Talk

Summary

  • วิกฤติขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ตั้งแต่ปี 63 ที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยผู้ส่งออกของไทย หรือ Exporter ก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว บริษัทหลายแห่งต้องแบกรับต้นทุนเรื่องการขนส่ง

Latest


จากกรณี "วิกฤติขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์" ตั้งแต่ปี 63 ที่ผ่านมาได้ส่งกระทบไปทั่วโลก โดยผู้ส่งออกของไทย หรือ Exporter ก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวด้วยเช่นกัน บริษัทหลายแห่งต้องแบกรับต้นทุนเรื่องการขนส่งเพิ่มขึ้น 

ล่าสุด ทิพย์ ดาลาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ III เปิดเผยกับ "ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์" ว่า Container shortage หรือวิกฤติขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์นั้น ส่งผลกระทบไปทั่วโลก มีหลายหน่วยงานออกมาวิเคราะห์ว่าจะส่งผลกระทบไปจนถึงปลายปี 64 นี้ และอาจคาบเกี่ยวไปถึงต้นปี 65 ประกอบกับประเทศส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะล็อกดาวน์ ยิ่งทำให้การ Turn around ของสายเรือล่าช้ากว่าเดิม ทำให้ตอนนี้เกิดภาวะอุปสงค์ (demand) หรือความต้องการล้นอุปทาน (Supply) ไปมาก

โดยปัญหาดังกล่าวจึงกระทบ 2 ส่วน คือ การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และพื้นที่ระวางสินค้าบนเรือมีความแออัด โดยความรุนแรงนั้นจะขึ้นอยู่กับเส้นทางการขนส่ง สำหรับเส้นทางที่ได้รับผลกระทบสูงสุดคือ เส้นทางจาก Far East ไปยังสหรัฐอเมริกา มีการขาดแคลนสูงที่สุด ส่งผลให้ค่าระวางมีการปรับตัวขึ้นมากที่สุด รองลงมาเป็นเส้นทางที่ไปยุโรป

สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นส่งกระทบโดยตรง คือ ผู้ส่งออก (Exporter) เพราะการขนส่งสินค้าเกิดความล่าช้าจากภาวะขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ เมื่อค่าระวางปรับตัวสูงขึ้นย่อมทำให้ Logistics Cost สูงขึ้น มีต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลสินค้าปรับราคาสูงขึ้นตามไปด้วยเมื่อถึงจุดที่ต้นทุนสูงเกินกว่าจะรับไหว

ส่วนที่ว่าจะกระทบต่อภาพรวมของ GDP ไทยในภาคการส่งออกหรือไม่นั้น ทิพย์ มองว่า ก็ยังไม่สามารถฟันธงได้ว่ากระทบต่อ GDP โดยตรงมากน้อยแค่ไหน เพราะมีปัจจัยหลายอย่าง แต่เมื่อพิจารณาจากค่าขนส่งที่แพงเกินไป อาจเกิดการชะลอตัวเป็นทอดๆ เมื่อผู้ขายการแบกรับต้นทุนที่มากขึ้น จนอาจมีผลทำให้มีการปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้น เมื่อสินค้าปรับราคาสูงขึ้นอาจเกิดภาวะชะลอตัวของการส่งออก เพราะลูกค้าซื้อสินค้าน้อยลง หรือเลื่อนการซื้อออกไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 64 ที่ผ่านมา ครม. ได้รับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ในธุรกิจการขนส่งสินค้าทางทะเล โดยมีแนวทางดังนี้คือ 1. ให้ท่าเรือกรุงเทพปรับลดค่าภาระตู้สินค้าเปล่าขาเข้าผ่านท่าเรือกรุงเทพในอัตรา 1,000 บาทต่อทีอียู เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มี.ค.64 รวมค่าใช้จ่าย 5.28 ล้านบาท

2. ให้ท่าเรือแหลมฉบังชดเชยค่ายกขนตู้สินค้าให้แก่เอกชน ผู้ประกอบการนำเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง โดยจ่ายส่วนลดคืนในอัตรา 1,000 บาทต่อทีอียู เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มี.ค.64 รวมค่าใช้จ่าย 384 ล้านบาท รวม 2 รายการเป็นเงินทั้งสิ้น 389.28 ล้านบาท โดย ครม. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินความคุ้มค่าในการดำเนินการและประโยชน์ที่ผู้ประกอบการส่งออกรายย่อยได้รับ

รวมทั้งให้หาข้อยุติเกี่ยวกับแหล่งเงินที่จะนำมาใช้ในการดำเนินการ โดยแนวทางดังกล่าวเป็นการแก้ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์เปล่า และอัตราค่าระวางเรือที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3-4 ปี 63 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบให้ผู้ส่งออกที่ต้องการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ ต้องจ่ายเงินค่าระวางสูงกว่าปกติ


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ