คนไทย ว่างงาน 4 แสนคน เด็กยุคใหม่ ยังฝันอยากเป็น ครู-ยูทูบเบอร์ ขณะ "หมอดู" ติด 1ในอาชีพมาแรง ปี67

Business & Marketing

Trends

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

คนไทย ว่างงาน 4 แสนคน เด็กยุคใหม่ ยังฝันอยากเป็น ครู-ยูทูบเบอร์ ขณะ "หมอดู" ติด 1ในอาชีพมาแรง ปี67

Date Time: 25 ม.ค. 2567 13:52 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • หอการค้าไทย เปิด 10 อันดับ “อาชีพในฝัน” ของเด็กรุ่นใหม่ ปี 2567 พบภาพรวม คนไทยยังว่างงานราว 4 แสนคน ขณะเด็กยุคใหม่ ยังฝัน อยากเป็นครู-ติวเตอร์-ประกอบธุรกิจส่วนตัว และยูทูบเบอร์ ส่วน 10 อาชีพเด่น และกลุ่มวิศวกรทางไซเบอร์ และนักวิเคราะห์ข้อมูล มาแรง ขณะ หมอดู ติด 1 ใน 10 ร่วม

Latest


หอการค้าไทย เปิด “10 อาชีพเด่น ประจำปี 2567” และผลสำรวจ อาชีพในฝันของเด็กรุ่นใหม่ รวมถึง สถานการณ์ตลาดแรงงานไทยในปีนี้ ที่ขับเคลื่อนด้วย เด็ก Gen Z โดย พบว่า ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2566 ประเทศไทย มีจำนวนคนว่างงาน อยู่ที่ระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 อยู่ที่ 0.99% หรือมีผู้ว่างงาน จำนวน 4.01 แสนคน ส่วนสถานการณ์ “ผู้มีงานทำ” อยู่ที่ 40.1 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.3% จากปีก่อน 

โดยปัจจัยที่มีผลต่อ “แรงงานไทย” ปี 2567 ได้แก่

ปัจจัยบวก 

  • ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของแรงงานทั่วประเทศไทย เริ่ม 1 ม.ค. 2567
  • การใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ ที่จะกลับมาฟื้นตัว หลังจาก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 67 ที่จะมีผลบังคับใช้ วงเงิน 3.78 ล้านล้านบาท 
  • ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และต่างชาติ ทยอยปรับตัวดีขึ้น 
  • มาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐฯ การตรึงราคาน้ำมันดีเซล และตรึงค่าไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 300 หน่วย รวมถึงการเร่งแก้ไขปัญหาหนี้สิน

ปัจจัยเสี่ยง 

  • การขาดแคลนแรงงานทักษะฝีมือ รวมไปถึงแรงงานระดับล่าง ที่ยังจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าว 
  • ภาวะการเงินโลก ที่ยังคงตึงตัวและมีความผันผวน จากการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง ขณะที่เศรษฐกิจจีนเผชิญกับปัญหาหนี้สินในภาคอสังหาฯ 
  • ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และวิกฤติหนี้นอกระบบ ฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจและการใช้จ่ายของประชาชน 
  • อัตราการเกิดต่ำ คนไม่อยากมีลูก จำนวนเด็กมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึง การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 

เปิด 10 อันดับ อาชีพเด่น ปี 2567

  • อันดับ 1 : วิศวกรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคความปลอดภัย
  • อันดับ 2: แพทย์ (ด้านศัลยกรรม ด้านผิวหนัง)
  • อันดับ 3 : นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา และทันตแพทย์ 
  • อันดับ 4 : นักวิเคราะห์ข้อมูล หรือนักออกแบบข้อมูล 
  • อันดับ 5 : ยูทูบเบอร์, TikToker, อินฟลูเอนเซอร์, สตรีมเมอร์ // พ่อค้า แม่ค้า ออนไลน์ //ดารา นักแสดง นักร้อง
  • อันดับ 6 : นักการตลาดออนไลน์, นักพัฒนาซอฟต์แวร์
  • อันดับ 7 : นักวิเคราะห์การเงิน, ที่ปรึกษาทางการเงิน และนักวางแผนทางการเงิน 
  • อันดับ 8 : ผู้ประกอบการ (ธุรกิจส่วนตัว)
  • อันดับ 9 : ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ และกฎหมาย 
  • อันดับ 10 : ติวเตอร์ และหมอดู

ทั้งนี้ เกณฑ์ในการให้คะแนนอาชีพเด่น ชี้วัดมาจาก 1. ความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการ 2. ความมั่นคงและยั่งยืน 3. ระดับรายได้ และ 4. จำนวนคู่แข่งในตลาด 

10 อาชีพในฝัน

ส่วน 10 อาชีพในฝัน (MY Dream Job) ของเด็กมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. (อายุ 15-17 ปี) ได้แก่ 

  • อันดับ 1  : ครู อาจารย์ ติวเตอร์
  • อันดับ 2 : ประกอบธุรกิจส่วนตัว นายตัวเอง
  • อันดับ 3 : หมอ แพทย์ พยาบาล 
  • อันดับ 4 : อินฟลูเอนเซอร์ สตรีมเมอร์ ยูทูบเบอร์
  • อันดับ 5 : นักออกแบบกราฟิก 
  • อันดับ 6 : ทนายความ อัยการ
  • อันดับ 7 : งานด้านต่างประเทศ
  • อันดับ 8 : ศิลปิน และนักตัดต่อ Editor
  • อันดับ 9 : นักบิน แอร์โฮสเตส
  • อันดับ 10 : ข้าราชการ (ทหาร ตำรวจ ข้าราชการทั่วไป)


ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกอาชีพในฝัน ประกอบไปด้วย

  • เป็นที่ต้องการของตลาด มีตำแหน่งงานรองรับแน่นอน 23.3% 
  • เงินเดือน และผลตอบแทนสูง 20.8% 
  • มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี 17.2% 
  • เลือกตามคนในครอบครัว 16.6% 
  • หางานง่าย มีโอกาสก้าวหน้าสูง 14.7%
  • องค์กรมีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับ 7.5% 

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพ 

  • มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี วัฒนธรรมองค์กรที่มีความยืดหยุ่น
  • ให้อิสระในการทำงาน ได้ลองทำอะไรใหม่ๆ 
  • ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และเจ้านายที่ดี 
  • ที่ตั้ง/ทำเลของสถานที่ทำงานสะดวกกับการเดินทาง 
  • ได้รับการยอมรับที่สร้างผลงานให้กับองค์กร 
  • ความมั่นคงของอาชีพและความก้าวหน้า 
  • ความน่าเชื่อถือของกิจการ 
  • มีโอกาสเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น เติบโตหน้าที่การงาน 
  • สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ และผลตอบแทนต่างๆ 

ที่มา : หอการค้า


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ