ปัจจุบัน คน Gen Z - Millennial ในไทย กังวลเรื่องค่าครองชีพมากที่สุด แถมเครียดเรื่องการเงินในอนาคต

Business & Marketing

Trends

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ปัจจุบัน คน Gen Z - Millennial ในไทย กังวลเรื่องค่าครองชีพมากที่สุด แถมเครียดเรื่องการเงินในอนาคต

Date Time: 28 ก.ย. 2566 15:25 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • ดีลอยท์ ประเทศไทย เผยผลสำรวจจาก Global 2023 Gen Z and Millennial Survey พบคนไทยรุ่นใหม่กังวลเรื่องค่าครองชีพมากเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยการว่างงาน และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ขณะที่เรื่องการเงินในอนาคตก็เป็นปัจจัยเพิ่มความเครียด

Latest


ดีลอยท์ ประเทศไทย เผยผลสำรวจ Global 2023 Gen Z and Millennial Survey ซึ่งเป็นผลการศึกษา ที่สะท้อนมุมมองของเจนซี (Gen Z) และมิลเลนเนียล (Millennial) พบคนไทยรุ่นใหม่กังวลเรื่องค่าครองชีพมากเป็นอันดับแรก

โดยประเด็นที่คนไทยรุ่นใหม่ทั้งสองเจเนอเรชันกังวลมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1.ค่าครองชีพสูง 2.การว่างงาน และ 3.ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ

ซึ่งนำไปสู่ความกังวลในการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคล โดย Gen Z ร้อยละ 67 และ Millennial ร้อยละ 62 ระบุว่าตนมีการบริหารจัดการเงินแบบเดือนชนเดือน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงกว่าคนในเจเนอเรชันเดียวกันทั่วโลกที่ร้อยละ 51 และร้อยละ 52 ตามลำดับ

และจากข้อกังวลดังกล่าว ได้ส่งผลให้ Gen Z และ Millennial ในประเทศไทย ร้อยละ 66 และ ร้อยละ 71 ตามลำดับ ต้องทำงานเสริมเพื่อให้มีแหล่งรายได้ที่สอง

โดย Gen Z นิยมทำงานเป็นกะ เช่น งานส่งอาหาร งาน Social Media Influencer และ Content Creator มากที่สุด ในขณะที่กลุ่ม Millennial ส่วนใหญ่นิยมขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะต้องเผชิญกับแรงกดดันทางเศรษฐกิจ แต่ 86% ของ Gen Z และ 65% ของ Millennial ในไทย มีแนวโน้มจะเปลี่ยนงานใหม่ หากบริษัทให้กลับไปทำงานเต็มเวลาที่ออฟฟิศ 

และเกือบ 70% ของทั้งคนไทยรุ่นใหม่ทั้งสองเจเนอเรชัน มีแนวโน้มที่จะขอให้บริษัทมีนโยบายการทำงานที่ยืดหยุ่น ที่มุ่งส่งเสริมแนวคิดการสร้างสมดุลให้ชีวิตและการทำงานครอบคลุม 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.มีทางเลือกในการทำงานร่วมกันมากขึ้น 2.หาวิธีทำให้พนักงานพาร์ทไทม์ มีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ 3.เปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็น 4 วันต่อสัปดาห์ 

คนรุ่นใหม่เกิดความเครียดจากงานหนัก

นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบว่า 40% ของ Millennial ต้องตอบข้อความหรืออีเมลนอกเวลางานทุกวัน ขณะที่อีก 32% ของ Gen Z ต้องตอบข้อความหรืออีเมล 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่งผลให้ทั้งสองเจนเกิดความเครียดจากการทำงานหนัก

และ 72% ของ Gen Z และ 63% ของ Millennial รู้สึกเบื่อ และอยู่ในภาวะหมดไฟ (Burnout) จากปริมาณงาน และความต้องการด้านอื่นๆ 

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดความเครียดมากยิ่งขึ้น โดย 3 อันดับแรก ได้แก่

  1. การเงินในอนาคต
  2. การเงินในชีวิตประจำวัน 
  3. สุขภาพและความเป็นอยู่ของครอบครัว 

ส่งผลให้ Gen Z และ Millennial ในไทยมากกว่า 90% สนใจร่วมงานกับองค์กรที่มีนโยบายใส่ใจและส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีของพนักงาน สูงกว่าคนในช่วงวัยเดียวกันทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 80

Work Life Balance เป็นเรื่องสำคัญกับ Gen Z - Millennial

และจากผลสำรวจพบว่าคน Gen Z และ Millennial ในประเทศไทย พอใจกับการสร้างสมดุลให้ชีวิตและการทำงาน (Work/life Balance) และความหลากหลาย ความเสมอภาคและการมีส่วนร่วม (Diversity, Equity and Inclusion : DEI) สูงกว่าคนในเจเนอเรชันเดียวกันทั่วโลก

โดย 51% ของ Gen Z และ 41% ของ Millennial พอใจมากกับการสร้างสมดุลให้ชีวิตและการทำงาน ซึ่งสูงกว่าคนในวัยเดียวกันทั่วโลกที่ 34% และ 31% ตามลำดับ

และ 45% ของ Gen Z และ 24% ของ Millennial ในไทย พอใจกับการที่องค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องความหลากหลาย ความเสมอภาคและการมีส่วนร่วม สูงกว่าคนในช่วงวัยเดียวกันทั่วโลกที่ 33% และ 28% ตามลำดับ


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ