หลอกออนไลน์พุ่ง ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล คนไทย 44.04% อาจเจอภัยไซเบอร์

Business & Marketing

Trends

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

หลอกออนไลน์พุ่ง ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล คนไทย 44.04% อาจเจอภัยไซเบอร์

Date Time: 16 มิ.ย. 2566 17:26 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • AIS จับมือ พันธมิตร ออกแบบกรอบการศึกษา ขั้นตอนและวิธีการเก็บผล กลุ่มตัวอย่าง รวมถึงการวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา จนออกมาเป็น “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล” ของคนไทยฉบับแรก ที่เป็นไปตามมาตรฐาน แม่นยำ ถูกต้องตรงกลุ่มเป้าหมาย

Latest


แค่คลิก ‘ลิงก์’ ก็โดนดูดเงินไปซะเกลี้ยงบัญชี สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาภัยไซเบอร์ ที่ถือเป็นอาชญากรรมเบอร์ต้นๆ ที่คนมักตกเป็นเหยื่อ ด้วยกลโกงที่มาในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การหลอกขายสินค้าออนไลน์, Call Center, การปลอมหรือแฮกบัญชีไลน์ เฟซบุ๊ก แล้วหลอกยืมเงิน

จากสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ตั้งแต่ 1 มี.ค. 2565-6 ก.พ. 2566 มีการรับแจ้งความอาชญากรรมทางเทคโนโลยี จำนวนทั้งสิ้น 192,031 คดี รวมมูลค่าความเสียหาย กว่า 29,546,732,805 บาท โดยที่ได้รับแจ้งมากที่สุดคือ การหลอกลวงซื้อสินค้าออนไลน์, การหลอกให้โอนเงินเพื่อหารายได้พิเศษจากการทำกิจกรรมทางออนไลน์, การกู้เงิน, Call Center และการหลอกให้ลงทุนในรูปแบบต่างๆ 

ทำให้ ‘ปัญหาภัยไซเบอร์’ กลายเป็นวาระที่ทั้งโลกหันมาให้ความสำคัญ เพราะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับบุคคล ทั้งเรื่องการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล การล่อลวงผ่านช่องทางออนไลน์ และการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ไปจนถึงระดับประเทศ หรือองค์กรในเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่เชื่อมโยงกับเรื่องของ เศรษฐกิจดิจิทัล ระบบสารสนเทศ ที่ต้องมีการรับมืออย่างจริงจัง 

มาตรฐานใหม่สู่การสร้างพลเมืองดิจิทัล

AIS จึงได้จับมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักวิชาการทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ สื่อสารมวลชน การศึกษา และการวัดประเมินผล ระดมความคิดออกแบบกรอบการศึกษา ขั้นตอนและวิธีการเก็บผล กลุ่มตัวอย่าง รวมถึงการวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา จนออกมาเป็น “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล” ของคนไทยฉบับแรก ที่เป็นไปตามมาตรฐาน แม่นยำ และถูกต้องตรงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นมาตรฐานใหม่ในการสร้างพลเมืองดิจิทัล และสังคมการใช้งานดิจิทัลที่ดียิ่งขึ้น 


นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า AIS เราเข้าใจดีว่าเรื่องดังกล่าวมีความสำคัญต่อสังคมดิจิทัลทั้งในปัจจุบันและอนาคต ที่ผ่านมากว่า 4 ปี จึงริเริ่มประเด็นนี้ ผ่านโครงการ AIS อุ่นใจ CYBER ในการสร้างความตระหนักรู้ถึงอันตราย และผลกระทบจากการใช้งานการพัฒนาโซลูชันและบริการดิจิทัลเพื่อปกป้องและส่งเสริมการใช้งานอย่างปลอดภัย และการสร้างองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดและทักษะของพลเมืองดิจิทัล

“จากการทำงานเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องทำให้เราเห็นแนวทางแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน จึงเป็นที่มาของการพัฒนาดัชนีชี้วัดที่จะบ่งบอกถึงระดับความรู้และทักษะดิจิทัลในด้านต่างๆ ที่ชัดเจนของประชาชนในแต่ละกลุ่ม ที่จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำเครื่องมือ และองค์ความรู้ไปส่งต่อให้กับคนไทยได้ตรงกลุ่มเป้าหมายและสอดคล้องกับปัญหาเกิดขึ้น ในชื่อของ “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล หรือ Thailand Cyber Wellness Index (TCWI)” ที่ถือเป็นฉบับแรกของประเทศไทย”


ด้าน รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ มจธ. กล่าวว่า จากการทำงานร่วมกัน จนสามารถพัฒนาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทยออกมาได้ 3 ระดับ ตั้งแต่ระดับ Advanced ระดับ Basic และระดับ Improvement ที่จะบ่งบอกถึงความสามารถในการใช้งานดิจิทัลของประชาชนไทยแต่ละกลุ่ม ในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ

กว่า 44.04% คนไทยยังเสี่ยงภัยไซเบอร์


ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index ชี้ให้เห็นถึงทักษะดิจิทัล ที่ครอบคลุมพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลของคนไทย 7 ด้าน ประกอบด้วย ทักษะการใช้ดิจิทัล, ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล, ทักษะ ด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล, ทักษะด้านสิทธิทางดิจิทัล, ทักษะด้านความมั่นคงความปลอดภัยทางไซเบอร์, ทักษะด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ และทักษะด้านความสัมพันธ์ทางดิจิทัล 


ที่มีขั้นตอนวิธีการเก็บผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลายทั้งช่วงอายุ และกลุ่มอาชีพจากทุกจังหวัด ทั่วประเทศกว่า 21,862 คน ซึ่งปัจจุบันจากผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของคนไทยมีสุขภาวะทางดิจิทัล อยู่ในระดับพื้นฐาน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีถึง 44.04% ที่ยังอยู่ในระดับต้องพัฒนา แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้ดิจิทัลให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น


และด้วยเหตุนี้เองจากผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ทำให้เราเห็นจุดที่ต้องพัฒนาทักษะเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ใช้งานในอีกหลายประเด็น เพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับคนไทยได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์