เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยีเพื่อภาครัฐ อัปเกรดการทำงานสู่รัฐบาลดิจิทัล

Business & Marketing

Trends

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยีเพื่อภาครัฐ อัปเกรดการทำงานสู่รัฐบาลดิจิทัล

Date Time: 23 พ.ค. 2566 23:18 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • 10 เทรนด์เทคโนโลยีเพื่อภาครัฐที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้นำในระดับภาครัฐทั่วโลกในปี 2566 ซึ่งสอดคล้องไปกับเทรนด์ระดับโลกที่ภาครัฐหลายประเทศกำลังทรานสฟอร์มสู่รัฐบาลดิจิทัล ซึ่งบางประเทศก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการทำงานของภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย แถมยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนได้จากสนับสนุนด้วยเทคโนโลยี

Latest


ในยุคที่โลกพัฒนาเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็วได้กดดันให้หลายหน่วยงาน ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานจากเดิมเพื่อให้ทันสมัย ทั้งเอกชนที่เร่งเปลี่ยนตัวเองเพื่อรองรับเทรนด์ธุรกิจและเทคโนโลยี โดยเฉพาะยิ่งในระดับภาพใหญ่อย่างรัฐบาลก็มีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน 

Gartner เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยีเพื่อภาครัฐ ที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้นำในระดับภาครัฐทั่วโลกในปี 2566 ซึ่งสอดคล้องไปกับเทรนด์ระดับโลกที่ภาครัฐหลายประเทศกำลังทรานส์ฟอร์มสู่รัฐบาลดิจิทัล ซึ่งบางประเทศก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการทำงานของภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย แถมยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนได้จากการสนับสนุนด้วยเทคโนโลยี  

การ์ทเนอร์เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยีสำคัญต่อภาครัฐ ประจำปี 2566
การ์ทเนอร์เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยีสำคัญต่อภาครัฐ ประจำปี 2566

ระบบรักษาความปลอดภัยแบบบูรณาการ Adaptive Security หน่วยงานสารสนเทศ 75% จะมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการรักษาความปลอดภัยโดยตรงเพิ่มเติมจากแผนก IT ซึ่งจะครอบคลุมทั้งเทคโนโลยีด้าน Security, Data Integration, Data Privacy, Cyber-Physical Systems (CPS), ระบบคลาวด์ที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างบูรณาการ 

ระบบคลาวด์แบบไฮเปอร์สเกล Cloud-Based Legacy Modernization กว่าครึ่งงานที่ต้องทำขององค์กรภาครัฐฯ จะมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน IT และแอปพลิเคชันให้ทันสมัย เปลี่ยนมาใช้บริการคลาวด์แบบ Hyper-Scale เพื่อสร้างระบบการให้บริการที่ยืนหยุดมากขึ้น เรียกได้ว่า รื้อระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลแบบเก่าที่แยกระบบแบบไซโลให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายดายมากขึ้น 

การจำกัดการเข้าถึงคลาวด์ Sovereign Cloud รัฐบาลมีความพยายามมากขึ้นเพื่อจัดการและจำกัดขอบเขต ข้อมูล มีความต้องการอธิปไตยบนคลาวด์ (Sovereign Cloud) มากขึ้น แอปพลิเคชันรัฐรุ่นเก่าๆ จะถูกแทนที่ด้วยโซลูชันที่พัฒนาด้วยแอปพลิเคชัน Low-Code Platform และดูแลโดยทีมงานแบบผสมผสาน (Fusion Team) 

ระบบการทำงานแบบอัตโนมัติแบบผสมผสาน Hyper Automation จะมีการพัฒนาระบบอัตโนมัติในกระบวนการทำงานของรัฐมากขึ้น 60% ภายในอีก 3 ปีข้างหน้า และเพิ่มขึ้นจาก 35% ในปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างการให้บริการสาธารณะที่ลื่นไหลแก่ประชาชน 

การตัดสินใจอย่างอัจฉริยะ AI for Decision Intelligence รัฐจะมีการลงทุนกับ AI และ Data Analytic เพิ่มขึ้น 60% ภายใน 2 ปี เพื่อนำมาช่วยเรื่องการตัดสินใจและผลลัพธ์การปฏิบัติงานแบบเรียลไทม์ ช่วยให้รัฐบาลตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ทันท่วงที 

แพลตฟอร์มสำหรับการใช้ข้อมูลร่วมกัน Data Sharing as a Program จะมีการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิจด้านแบ่งปันข้อมูลถึง 50% ภายในปีนี้ จะมีการใช้ข้อมูลร่วมกัน (Data sharing) ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ขององค์กรภาครัฐ ตลอดจนสร้างมาตรฐานโครงสร้างข้อมูล และการเพิ่มมูลค่าจากข้อมูลร่วมกัน 

ประสบการณ์การให้บริการภาครัฐ Total Experience (TX) เริ่มปรับปรุงการสร้างประสบการณ์ภาพรวมของรัฐบาล (Total Experience) ที่จะช่วยลดความคลุมเครือในกระบวนการทำงานลงถึง 90% และยังช่วยรับฟีดแบ็กของผู้ใช้บริการภาครัฐหรือประชาชน รวมถึงพนักงาน ซึ่งจะช่วยสร้างการทำงานร่วมกันและสอดคล้องกัน

ระบบนิเวศการยืนยันตัวตนแบบดิจิทัล Digital Identity Ecosystems ภายในปีหน้า มากกว่า 1 ใน 3 ของหน่วยงานภาครัฐระดับประเทศ จะใช้วอลเล็ตแบบระบุอัตลักษณ์บุคคล เพราะรัฐบาลกำลังเผชิญกับความรับผิดชอบการระบุอัตลักษณ์ดิจิทัลผ่านระบบนิเวศต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ พร้อมทั้งความคาดหวังจากผู้ใช้ ที่ต้องการระบบที่ปลอดภัย มีนวัตกรรมทันสมัย และสามารถนำไปใช้ในภาคส่วนอื่น 

ระบบการจัดการแบบ Case Management as a Service (CMaaS) การบูรณาการของบริการภาครัฐจะถูกปรับปรุงขึ้นและพัฒนาโซลูชั่นการจัดการเป็นกรณี (Case Management) ที่สามารถแชร์ไปยังโครงการ หน่วยงาน และภาคส่วนในระดับต่างๆ ของรัฐบาลได้ สร้างการทำงานร่วมกันมาก ใช้โปรแกรมการทำงานได้อย่างผสมผสาน

องค์กรรัฐยุคใหม่แบบแยกส่วน Composable Government Enterprise ปรับเปลี่ยนมาใช้โครงสร้างระบบที่เป็น Composable Architecture โดยการนำวิธีการแบบโมดูลาร์ที่แยกเป็นส่วนๆ และนำมาประกอบเข้าด้วยกันได้

Gartner ชี้ว่า ความวุ่นวายทั่วโลกและการหยุดชะงักทางเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่เพียงแต่กำลังกดดันรัฐบาลให้ต้องหาทางออกเพื่อปรับสมดุลระหว่างโอกาสและความเสี่ยงทางดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังให้โอกาสสำคัญอีกหลายอย่างสำหรับเปลี่ยนแปลงรัฐบาลดิจิทัลไปสู่ยุคถัดไป

ดังนั้น ผู้บริหารระดับสูงภาครัฐฯ ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเตรียมตัวรับผลกระทบแนวโน้มเทคโนโลยีสำหรับภาครัฐ เพื่อสร้างรัฐบาลที่พร้อมสำหรับอนาคต 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ