เจ็บป่วยเล็กน้อย เอะอะ ก็ซื้อยากิน ดัน “ร้านขายยา” โต จับตาร้านรายใหญ่ ไล่บี้ รายย่อย

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เจ็บป่วยเล็กน้อย เอะอะ ก็ซื้อยากิน ดัน “ร้านขายยา” โต จับตาร้านรายใหญ่ ไล่บี้ รายย่อย

Date Time: 4 เม.ย. 2567 16:58 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • แน่นอนว่าซื้อง่าย จ่ายคล่อง เจ็บป่วยเล็กน้อยไม่ต้องไปไกล เพียงแค่เข้าไปที่ "ร้านขายยา" ใกล้บ้าน หรือสั่งยาในแอปฯ ให้มาส่งที่บ้าน ก็ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ นั่นจึงทำให้ "ร้านขายยา" โตเป็นเทน้ำเทท่า โดยปี 2567 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ยอดขายของร้านขายยาจะอยู่ท่ี 43,000 ล้านบาท โต 4% เมื่อเทียบกับปีก่อน

Latest


“ธุรกิจสุขภาพ” ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจศักยภาพที่เติบโตต่อเนื่อง สะท้อนได้จากมูลค่าการใช้จ่ายด้านสุขภาพของคนไทย ซึ่งเติบโตเฉลี่ยที่ 5.8% ในช่วงปี 2560-2566 และคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ 6% ในปี 2567 ด้วยปัจจัยหนุน อาทิ

1.จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นตามโครงสร้างสังคมสูงอายุ

ซึ่งไทยจะเข้าสู่การเป็นสังคมสูงสุดอายุขั้นสุดยอด คือ มีจำนวนประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป สัดส่วนมากกว่า 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ในปี 2572 จึงอาจมีความต้องการดูแลรักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้น ตามความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน

2.สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และปัญหามลพิษ

เช่น อากาศร้อนจัด หรือ ฝุ่น PM 2.5 รวมถึงความรุนแรงของโรคและโรคอุบัติใหม่ ทำให้ประชาชน หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลป้องกันสุขภาพมากขึ้น

ร้านขายยา รับอานิสงส์เม็ดเงินใช้จ่ายด้านสุขภาพโต

นั่นจึงทำให้ “ร้านขายยา” เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์จากเม็ดเงินใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เติบโตต่อเนื่อง เพราะเป็นช่องทางการเข้าถึงทั้งยารักษาโรค เวชภัณฑ์ และสินค้า สุขภาพ ที่ประชาชนส่วนใหญ่เลือกใช้บริการสำหรับการเจ็บป่วยเบื้องต้นและการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน

ทั้งนี้ ในปี 2566 มีจำนวนร้านขายยาที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา (อย.) รวม 21,648 ราย ซึ่งจำนวนร้านขายยาในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยวหลักๆ ซึ่งแบ่งตามกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้แก่ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร

กระบี่ กาญจนบุรี ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา ชลบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระยอง สงขลา สระบุรี และสุราษฎร์ธานี ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หรือปัจจุบันมีสัดส่วนราว 62% ของ จำนวนร้านขายยาทั้งหมด ขณะที่จำนวนร้านขายยาในจังหวัดที่เหลือต่างทยอยลดลง หรือมีสัดส่วนที่ 38% 

สัญญาณดังกล่าวสะท้อนถึงการกระจุกตัวของธุรกิจในจังหวัดหลัก โดยเฉพาะการ เพิ่มขึ้นของร้านขายยาเชนสโตร์ที่มีหลายสาขา (Chain store) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น กลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ ทั้งผู้ผลิตยา โรงพยาบาลเอกชน และผู้ประกอบการ ค้าปลีก รวมถึงร้านขายยารายย่อยที่ไม่มีสาขา (Independent store) ที่ยังขยาย สาขาในทำเลที่มีศักยภาพ

ปี 67 ร้านขายยาแข่งเดือด ฟันยอดขาย 4.3 หมื่นล้าน

สำหรับปี 2567 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ยอดขายของร้านขายยาจะอยู่ที่ 43,000 ล้านบาท เติบโตที่ 4% เมื่อเทียบกับปีก่อน ท่ามกลางการ แข่งขันของธุรกิจที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ในหลายประเด็น ได้แก่

1.การรุกขยายสาขาของร้านเชนสโตร์

ทำให้รายย่อยแข่งขันลำบาก ทั้งแฟรนไชส์รายใหญ่ ผู้ผลิตยาและโรงพยาบาลเอกชน เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายทางตรง รวมถึงธุรกิจค้าปลีกที่แตกไลน์ธุรกิจร้านขายยา และสินค้าสุขภาพเพิ่มเติม ซึ่งน่าจะมี ข้อได้เปรียบในเรื่องของทำเลที่ตั้ง ที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้สะดวก ส่งผลให้ร้าน ขายยารายย่อยบางส่วนแข่งขันรุนแรงขึ้น 

โดยเฉพาะในเขตเมืองและพื้นท่ีชุมชน ซึ่งเป็นทำเลที่มีศักยภาพ สะท้อนได้จาก ยอดขายของร้านขายยาเชนสโตร์ในปี 2567 คาดว่าจะมีสัดส่วนราว 30% เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีสัดส่วนมูลค่าราว 28% ขณะที่ สัดส่วนยอดขายของร้านขายยารายย่อยน่าจะมีแนวโน้มลดลง 

2.การแข่งขันเพื่อแย่งชิงเภสัชกร

แม้ว่าปัจจุบันจะมีจำนวนเภสัชกรที่ปฏิบัติหน้าที่ในร้านขายยาประมาณ 22,000 คน ซึ่งยังมีเพียงพอกับจำนวนร้านขายยา แต่ในระยะข้างหน้า หากผู้ประกอบการโดยเฉพาะเชนสโตร์ มีแผนขยายสาขาเพิ่ม ก็อาจท้าทาย และทำให้จำนวนเภสัชกรไม่ทันต่อจำนวนร้านดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นก็เป็นได้ เห็นได้จากการที่ผู้ประกอบการเชนสโตร์รายใหญ่เปิดรับสมัครเภสัชกรทั้งฟูลไทม์ พาร์ตไทม์ โดยแข่งกันเสนอทั้งเงินเดือน ค่าประสบการณ์ สวัสดิการต่างๆ รวมถึง เปิดโอกาสให้ร่วมเป็นเจ้าของร้านขายยาเพื่อดึงดูดให้เภสัชกรเข้ามาร่วมงาน

อ้างอิง Kresearch

ติดตามข่าวสารด้านการตลาด กับ Thairath Money ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/business_marketing

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ