เป็นโสด! กินข้าวคนเดียวไม่เห็นจะแปลก “Solo dining” เทรนด์ใหม่ของคนไม่มีคู่ ปิ้งย่าง-ชาบู แบบอะโลน

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เป็นโสด! กินข้าวคนเดียวไม่เห็นจะแปลก “Solo dining” เทรนด์ใหม่ของคนไม่มีคู่ ปิ้งย่าง-ชาบู แบบอะโลน

Date Time: 8 มี.ค. 2567 14:31 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • ไหนใครโสด!! ปัจจุบันจำนวน “คนโสด” เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ดันเทรนด์ “Solo dining” กินข้าวคนเดียว พุ่งติดพฤติกรรมคนโสดยอดฮิต แม้ไม่มีคู่ ฉันก็กินข้าวคนเดียวได้ แนะธุรกิจร้านอาหารออกแบบร้าน จัดเมนู และบรรยากาศให้เข้ากับไลฟ์สไตล์คนโสด

Latest


ปรากฏการณ์ “คนโสด” ที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มีสาเหตุที่คล้ายคลึงกันจากหลายปัจจัย ทั้งจากการขยายตัวของสังคมเมือง ที่ คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ มีแนวโน้มครองตัวเป็นโสดมากขึ้น จากวิถีชีวิตที่วุ่นวาย และเร่งรีบ ทุ่มเทกับเรื่องการทำงานมากขึ้น ทำให้มีเวลาส่วนตัวน้อยลง ปัญหาความไม่พร้อมทางเศรษฐกิจ ความไม่แน่นอนด้านรายได้ ภาระทางการเงิน ดันเทรนด์ “Solo dining” กินข้าวคนเดียว พุ่งติดพฤติกรรมคนโสดยอดฮิต

ทำไมคนโสดจึงเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่น่าจับตามอง?

“คนโสด” กลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่กำลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก และจากพฤติกรรมการอยู่คนเดียว ไม่มีภาระเท่ากับคนมีครอบครัว ทำให้คนโสดส่วนใหญ่มีแนวโน้ม ใช้ “เงิน” ซื้อความสุข และปรนเปรอตัวเองเป็นหลัก 

ส่องโอกาสทางธุรกิจที่ตอบโจทย์ชีวิตคนโสด

ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้ “Table for one” โมเดลธุรกิจร้านอาหารนั่งกินคนเดียวกำลังมาแรงในหลายประเทศ ซึ่งความเป็นจริงเทรนด์ “Solo dining” มีจุดเริ่มต้นมาระยะหนึ่ง ปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากกระแส ‘ธุรกิจคนโสด’ นั่นเอง และต่อเนื่องมาจนถึงวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด การใช้ชีวิตแบบ Social distancing ยิ่งช่วยกระพือให้กระแสการทานข้าวคนเดียวได้รับความนิยมมากขึ้น 

จากข้อมูลพบว่าคนโสดจะใช้จ่ายในเรื่องอาหารการกินมากกว่าคนที่มีคู่ ทำให้กลุ่มคนโสดกลายเป็นลูกค้าช้ันดีของเหล่าบรรดาร้านอาหารต่างๆ และส่งผลให้ผู้ประกอบการในธุรกิจร้านอาหารจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้มากขึ้น ทั้งปรับรูปแบบโต๊ะ และ Layout ภายในร้านอาหาร, ปรับเมนูอาหาร ปริมาณ, ปรับบรรยากาศภายในร้าน และนำเทคโนโลยีสั่งกินง่ายมาใช้ในร้าน

ฮนบัพ วัฒนธรรมกินข้าวคนเดียวฮอตในกลุ่มวันรุ่นเกาหลี

ในเกาหลีใต้ วัฒนธรรม “ฮนบัพ” (Honbap) หรือการทานข้าวคนเดียวไม่ใช่เรื่องที่แปลกอีกต่อไป โดยนับเป็นกระแสนิยมในกลุ่มวัยรุ่นเกาหลีใต้อย่างมาก ปัจจุบัน พบว่าร้านอาหารหลายแห่งในเกาหลีได้มีการปรับตัวเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่มนี้มากขึ้น เช่น มีเมนูอาหารสาหรับทานคนเดียว หรือแม้แต่ร้านอาหารในเครือห้างล็อตเต้ก็มีการลดจำนวน โต๊ะอาหารสำหรับลูกค้ากลุ่มใหญ่ และแทนที่ด้วยฉากกั้นเพื่อแบ่งสัดส่วนพื้นที่ สำหรับลูกค้าที่มาทานอาหารคนเดียวมากขึ้น 

กระแส Ohitorisama ญี่ปุ่นกินปิ้งย่าง-ชาบู คนเดียว

เช่นเดียวกับในญี่ปุ่น กระแส Ohitorisama ยังได้สร้างแรงกระเพื่อมมายังธุรกิจร้านอาหารเพื่อตอบโจทย์ บริบททางสังคมและทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดแนวคิดของร้านอาหารสำหรับ นั่งทานคนเดียว เช่น “ฮิโตริ ยากินิกุ” (Hitori Yakiniku) ปิ้งย่างคนเดียว หรือ “ฮิโตริ ชาบู” (Hitori Shabu)  กินชาบูคนเดียว

ทั้งนี้จากผลสำรวจของหนังสือพิมพ์ Washington post พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคชาวอเมริกันนิยมทานอาหารคนเดียวราวๆ 1 ใน 3 ของผู้บริโภคในยุโรปทานอาหาร คนเดียวเป็นปกติในชีวิตประจาวัน สะท้อนว่า ผู้คนส่วนใหญ่มีไลฟ์สไตล์และทำกิจกรรมต่างๆ ในลักษณะตัวคนเดียวมากขึ้น และไม่ใช่เรื่องที่แปลกประหลาดหรือน่าอายแต่อย่างใด 

สาหรับในไทย ก็เริ่มมีโมเดลธุรกิจร้านอาหารในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อเกาะกระแส Solo dining ในลักษณะ “New concept store” เพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการคนเดียวมากขึ้น โดยมีอุปกรณ์ต่างๆ บนโต๊ะอาหาร เช่น หม้อต้มชาบูหรือกระทะปิ้งย่างส่วนตัว

ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ต้องการคว้าโอกาสจากกระแสคนโสด ปรับเปลี่ยนแนวคิดและโมเดลธุรกิจเพื่อนำเสนอสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์และตรงใจผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้มากขึ้น

เพราะถึงแม้ว่าเทรนด์คนโสดจะกลายเป็นหนึ่งในวิกฤติด้านโครงสร้างสังคมและประชากรศาสตร์ แต่อีกนัยหนึ่งสังคมตัวคนเดียว และเศรษฐกิจคนโสด (Solo economy) ก็นำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่น่าจับตามองและไม่ควรมองข้าม

อ้างอิง SCB EIC

ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านการตลาด กับ Thairath Money ได้ที่ 
https://www.thairath.co.th/money/business_marketing


ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์