ไดกิ้น มองปี 2024 แอร์ขนาดใหญ่ และแบบเชิงพาณิชย์ จะเติบโตสูงกว่าแอร์บ้าน

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ไดกิ้น มองปี 2024 แอร์ขนาดใหญ่ และแบบเชิงพาณิชย์ จะเติบโตสูงกว่าแอร์บ้าน

Date Time: 9 ม.ค. 2567 07:35 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • ไดกิ้น มองปี 2024 แอร์ขนาดใหญ่ และแอร์แบบเชิงพาณิชย์ จะเติบโตสูงกว่าแอร์บ้าน ส่วนภาพรวมปี 2023 ไดกิ้น ยังครองส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 22%

Latest


นายไดสุเกะ มุราคามิ ประธาน บริษัท สยามไดกิ้นเซลส์ จำกัด หรือ Daikin กล่าวว่า แม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่ตลาดเครื่องปรับอากาศก็ยังเติบโตขึ้นกว่า 15% โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศราคาถูก แม้จะยังไม่สิ้นสุดปีงบประมาณของญี่ปุ่น (เม.ย.66 - มี.ค.67)

แต่คาดการณ์ผลประกอบการของไดกิ้นในปี 2023 จะโตเกินกว่า 12,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 25% จากปีที่ 2022 ซึ่งโตกว่าอัตราการเติบโตของตลาดเครื่องปรับอากาศในไทย สาเหตุหลักมาจากงานโครงการที่เริ่มทยอยฟื้นตัว และยอดขายที่เติบโตจากร้านค้าปลีกผ่านกิจกรรมส่งเสริมการขาย

โดยสภาพรวมของเครื่องปรับอากาศไดกิ้นในปี 2023 มีอัตราการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญทุกประเภท เมื่อแบ่งเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศที่ใช้กับที่อยู่อาศัย มีอัตราการการเติบโตสูงถึง 30%

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ รวมถึงการใช้เชิงพาณิชย์ อย่างผลิตภัณฑ์ Sky Air และ VRV มีอัตราการเติบโตอยู่กว่า 15% และผลิตภัณฑ์ปรับอากาศขนาดใหญ่ (Applied product) มีอัตราการเติบโตสูงถึง 25%

นายไดสุเกะ กล่าวถึงภาพรวมในประเทศไทยว่า เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ตลาดเครื่องปรับอากาศโดยภาพรวมมีมูลค่าที่สูงขึ้น จนมีมูลค่าใกล้เคียงกับช่วงปี 2019 ก่อนการระบาดของโควิดครั้งใหญ่

ทั้งนี้เราคาดว่ามูลค่าตลาดเครื่องปรับอากาศทุกประเภท ในปีงบประมาณ 2023 จะอยู่ที่ประมาณ 50,000 ล้านบาท โดยไดกิ้นตั้งเป้าหมายที่จะมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 22%

"ผู้เล่นใหม่เข้ามาในตลาดเครื่องปรับอากาศเป็นจำนวนมาก ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2019 ที่มีอยู่ 38 แบรนด์ จนปัจจุบันมีมากถึง 56 แบรนด์ที่แข่งขันอยู่ในตลาด และมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี"

ขณะเดียวกันจะเห็นได้ว่าในช่วงต้นถึงกลางปี 66 ที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่อุณหภูมิในประเทศไทยสูง และมีระยะเวลาที่นานกว่าปกติ รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ถูกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับนโยบายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือ กพฝ.ที่มีการปรับมาตรฐานฉลากประหยัดไฟเบอร์ห้าให้มีประสิทธิภาพขั้นต่ำที่สูงขึ้น ช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง ส่งผลให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มในการเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศที่บ่อยขึ้นกว่าเมื่อ 10 ปีก่อน

ส่วนบริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด นั้นเราผลิตเพื่อการส่งออกนอกประเทศเป็นส่วนใหญ่กว่า 80% ได้แก่ ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สิงคโปร์, เวียดนาม, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ไต้หวัน, อินเดีย, ฮ่องกง และญี่ปุ่น รวมถึงบางประเทศในโซน ตะวันออกกลาง, ยุโรป, อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ และส่วนที่เหลืออีก 20% เรามุ่งขายภายในประเทศเป็นหลัก

สำหรับในอนาคตอันใกล้นี้เราจะมีสินค้าที่ช่วยเครื่องการปรับปรุงคุณภาพอากาศ และการประหยัดพลังงาน จากที่ไดกิ้นได้มีโครงการทำการทดลองร่วมมือกับหน่วยงานจากหลายภาคส่วน คุณภาพอากาศภายในห้องทดลองดีขึ้น และอยู่ในมาตรฐานในทุกๆ ค่า อีกทั้งยังช่วยเรื่องการประหยัดพลังงานมากขึ้นกว่า 50%

นอกจากนี้ยังมี Solution ใหม่ล่าสุด MARUTTO the DAIKIN CLOUD CONTROL ที่จะช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับเครื่องปรับอากาศไดกิ้นมากยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์แบบครบวงจร ช่วยทั้งเรื่องของความสบายภายในอาคาร คุณภาพอากาศที่ดีภายในอาคาร ครอบคลุมไปถึงบริการหลังการขาย

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ หรือ Chiller ทางไดกิ้นมีการพัฒนาคอมเพรสเซอร์แบบ Magnetic Bearing ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับที่ใช้ในรถไฟความเร็วสูงในหลากหลายประเทศทั่วโลก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ขณะเดียวกันเรายังมีผลิตภัณฑ์ที่ช่วยจัดการเรื่องพลังงาน และการควบคุมของ Chiller plant ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด iPlant Manager หรือ IPM ที่เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ Chiller ของไดกิ้น สามารถเรียนรู้ลักษณะของใช้งานของแต่ละอาคาร รวมถึงอุณหภูมิในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละวัน และตัว IPM นี้จะปรับการทำงานของเครื่องให้เหมาะสมแบบอัตโนมัติ ส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานที่จุดที่คุ้มค่ามากที่สุด

ประกอบกับรัฐบาลไทยกำลังมีนโยบายที่จะทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ Carbon neutrality หรือ โครงการระดับสากล ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นข้อกำหนดในด้านพลังงานของสินค้าฯ จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้แนวโน้มการใช้งานของเครื่องปรับอากาศมีโอกาสที่จะเปลี่ยนผ่านไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆ ปี เช่นเดียวกันกับในประเทศในเอเชียที่ประสบความสำเร็จในโครงการดังกล่าว เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฯลฯ

นายไดสุเกะ กล่าวอีกว่า ในวาระครบรอบ 100 ปีของไดกิ้น พร้อมเฉลิมฉลองความสำเร็จด้วยวิสัยทัศน์ของไดกิ้นแบรนด์ ภายใต้แนวคิดของ Perfecting The Air for All ไดกิ้นต้องการส่งมอบอากาศที่จะช่วยสร้างสุขภาพกาย และสุขภาพใจที่แข็งแรง เพื่อมอบความสุขและรอยยิ้มให้ทุกๆ คน ล่าสุดเราได้ทุ่มงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท เพื่อเปิดไดกิ้น โซลูชั่นพลาซ่าแห่งใหม่

ภายใต้ชื่อ fuha : SIAM ศูนย์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีระบบปรับอากาศและเป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านระบบปรับอากาศแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ใจกลางย่านสยาม เขตปทุมวัน ซึ่งนับว่าเป็นย่านการค้าสำคัญ และแลนด์มาร์กที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ด้วยแนวคิด Perfecting the Air for All ปรับทุกอากาศให้สมบูรณ์แบบส่งต่อความสุขให้กับทุกคน

ทั้งนี้ ภายในไดกิ้น โซลูชั่นพลาซ่าแห่งนี้ยังมีโซน Co-working Space และ Meeting Room ที่ออกแบบโดยให้ความสำคัญในเรื่องของสี เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน รวมไปถึงเปิดกว้างสำหรับพันธมิตรได้กิ้นในการใช้พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรม สัมมนาได้อีกด้วย.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์