Lotus’s Eatery แข่งดุ สลัดภาพจำฟู้ดคอร์ต ท้าชิง ศูนย์อาหารแบบ Stand Alone

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

Lotus’s Eatery แข่งดุ สลัดภาพจำฟู้ดคอร์ต ท้าชิง ศูนย์อาหารแบบ Stand Alone

Date Time: 8 ส.ค. 2566 17:55 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • โลตัส เปิด “Lotus’s Eatery” แห่งแรกที่โครงการทรู ดิจิทัล พาร์ค ศูนย์อาหารแบบ Stand Alone นอกพื้นที่โลตัส บนพื้นที่กว่า 1,500 ตารางเมตร นับเป็นแหล่งแฮงก์เอาต์ของชาวออฟฟิศ และผู้ใช้ชีวิตย่านสุขุมวิท รวมร้านเด็ดกว่า 50 แบรนด์ โดยราคาเริ่มต้นที่ 45 บาท

Latest


จากการประกาศพลิกโฉมห้างโลตัสทุกสาขาทั่วประเทศ เป็นศูนย์การค้ารูปแบบใหม่ Smart Community Center ท่ามกลางสมรภูมิค้าปลีกแข่งเดือด หลังจากกลับมาอยู่บ้านหลังเดิมในเครือซีพี 

คราวนี้ก็นับเป็นอีกหนึ่งลุคของโลตัสที่ได้สลัดภาพไฮเปอร์มาร์เก็ตรูปแบบเดิม เปิด “Lotus’s Eatery” ศูนย์อาหารแบบ Stand Alone นอกพื้นที่โลตัส แห่งแรกที่โครงการทรู ดิจิทัล พาร์ค เจาะกลุ่มชาวออฟฟิศและผู้ใช้ชีวิตย่านสุขุมวิท

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาโลตัสถือเป็นผู้ที่บริหารจัดการศูนย์อาหารมากที่สุดในประเทศไทยกว่า 160 แห่ง แต่ด้วยความที่เจตนารมณ์ที่ต้องการจะปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง สู่ Inspiring Fresh & Food Destination จุดหมายปลายทางสำหรับอาหารและอาหารสดคุณภาพสูง ดังนั้นจึงมองเห็นโอกาสของทำเลที่ดีอย่างทรูดิจิทัลพาร์ค รวมทั้งมีร้าน Go fresh ในละแวกใกล้เคียง จึงได้อัปเลเวลเป็นแหล่งแฮงก์เอาต์แห่งใหม่เพื่อรองรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตกิน-ดื่ม-แฮงก์เอาต์ ตั้งแต่เช้าถึงค่ำขึ้น 

ด้าน เบญจวรรณ อ่องศรี ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานบริหารพื้นที่ศูนย์การค้า โลตัส กล่าวว่า Lotus’s Eatery ศูนย์อาหารแบบ Stand Alone นับเป็นการเปิดตัวครั้งแรกในโครงการทรู ดิจิทัล พาร์ค (อีสต์) ชั้น 2 ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 1,500 ตร.ม. มีแบรนด์ร้านอาหารกว่า 50 ร้าน ทั้งสตรีทฟู้ดชื่อดังและร้านมิชลินไกด์ ภายใต้คอนเซปต์ “All day dining, delight every meal” 

ด้วยความโดดเด่นที่ไม่เหมือนคู่แข่ง ซึ่งจะเป็นในเรื่องของความหลากหลายของอาหาร ราคาจับต้องได้ คุณภาพคุ้มราคา ไม่มี overcharge รวมทั้งการจับจ่ายใช้สอยจะเป็นในรูปแบบการให้บริการแบบไร้เงินสด (Cashless) ที่ลูกค้าสามารถจ่ายเงินผ่านระบบโมบายแบงก์กิ้งและแอปพลิเคชัน True Money Wallet 

และยังมีแพลตฟอร์ม Lotus’s Eatery SMART Ordering ที่ลูกค้าสามารถเลือกดูเมนูอาหารของทุกร้านและกดสั่งอาหารและชำระเงินได้ทันที โดยไม่ต้องเดินไปสั่งที่ร้าน ช่วยลดเวลาการรอคิวหน้าร้าน เมื่ออาหารเสร็จสามารถเดินไปรับที่ร้านได้ทันที 

Lotus’s Eatery เป็นไฮเปอร์มาร์เก็ตเซกชั่นต่อขยาย

โดยการเปิด Lotus’s Eatery เป็นไฮเปอร์มาร์เก็ตที่ได้ทำเซกชั่นต่อขยาย สู่ศูนย์อาหารแบบ Stand Alone ใช้เงินลงทุนจำนวน 2 หลัก ส่วนพื้นที่ถัดไปมองว่าเป็น 5 location ได้แก่ พัฒนาการ เลียบด่วนรามอินทรา, สุขาภิบาล 3, ปากช่อง และอุดรธานี โดยที่ขนาดพื้นที่ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ 1,000 ตารางเมตร และเน้นทำเลที่มีศักยภาพ เพราะด้วยภารกิจของโลตัส คือ การดูแลทั้งผู้บริโภค และคู่ค้า จึงต้องหาทำเลที่คู่ค้าสามารถเติบโตได้


ทั้งนี้ รูปแบบจะเป็นร้านเดิม เพียงแต่จะใช้พื้นที่ที่จอดรถสร้างอาคารเป็นส่วนต่อขยายออกมา เนื่องจากมองว่าพื้นที่ที่จอดรถของโลตัสส่วนใหญ่จะมีขนาดกว้างเหมาะแก่การทำ Lotus’s Eatery 

และด้วยปัจจัยที่ว่าอยากจะเจาะกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ด้วยเช่นกัน จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ยอดขายไฮเปอร์มาร์เก็ตสูงขึ้นด้วยเช่นกัน 

ขณะที่ภาพรวมของกำลังซื้อของผู้บริโภคในปัจจุบัน เบญจวรรณ มองว่า ที่ผ่านมาสาขาที่อยู่โซนท่องเที่ยวค่อนข้างได้รับผลตอบรับดี และฟีดแบ็กจากลูกค้าค่อนข้างเยอะ ส่วนภาพรวมตลาดนั้นขึ้นอยู่กับภาคธุรกิจหากมีการ Active ในเรื่องของ Promotion ก็ย่อมมีกำลังซื้อ และจากการเปิด Lotus’s Eatery มา 1 สัปดาห์ พบว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เนื่องด้วยเป็นพื้นที่ออฟฟิศ และคอนโด รวมทั้งย่านสุขุมวิทมีจำนวนผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนราคาอาหารจะเริ่มต้นที่ 45 บาทเป็นต้นไป 

ขณะเดียวกัน ยอดการจับจ่ายใช้สอยในฟู้ดคอร์ตทั่วประเทศของโลตัสจะอยู่ที่ 120 บาทต่อคนต่อครั้ง แต่ที่ Lotus’s Eatery ยอดค่าใช้จ่ายขยายขึ้นอยู่ที่ 200 บาทต่อคนต่อครั้ง 

และในปีนี้โลตัสตั้งเป้าเปิดไฮเปอร์มาร์เก็ตเฉลี่ยปีละ 1-2 สาขาใหญ่ ส่วนที่เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ต และมินิซุปเปอร์มาร์เก็ตจะอยู่ประมาณ 100 สาขา  ขณะเดียวกัน ร้านค้าในระบบมีประมาณกว่า 3,000 แบรนด์ ส่วนจำนวนร้านค้าในฟู้ดคอร์ตประมาณ 5,000-6,000 ร้าน ที่จะมีการหมุนเวียนสลับกันไปเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ไม่ได้มีหลายสาขามากนักในแต่ละพื้นที่ 

โดยเฉพาะในส่วนของร้านค้าใน Lotus’s Eatery มองว่าจะเป็นแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักในระดับหนึ่ง แต่จะมีการหมุนเวียนเปลี่ยนเป็น Pop up ด้วยเช่นกัน โดยจะมีการเชิญมาเป็นรอบๆ เมื่อร้านค้ามีความแข็งแรงก็อาจจะมาเป็นเหมือนแบรนด์ใหญ่ โดยส่วนใหญ่แบรนด์จะมีสัญญาอยู่ที่ 3 ปี++ บางร้านอาจจะเป็น 1 ปี แต่ทั้งนี้ร้านที่เป็น Pop Up จะเป็นรายอาทิตย์ ซึ่งตรงจุดนี้จะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น 

ทั้งนี้ ทางด้านค่าไฟถือได้ว่ามีผลกับธุรกิจเช่นกัน แต่โลตัสถือได้ว่ามีข้อดีอย่างปีที่ผ่านมามีการติดตั้งโซลาร์รูฟไว้เป็นจำนวนมาก จึงได้รับอานิสงส์มาช่วยในเรื่องของค่าไฟได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น ในเรื่องของค่าไฟจึงนับเป็นความท้าทายอีกช่องทางหนึ่งด้วยเช่นกัน

โดย Lotus’s Eatery จะมีโซนที่นั่งตอบโจทย์ทุกความต้องการ ทั้งโซน Chillaxing จิบกาแฟทานขนมแบบชิลๆ โซน Main Dining สำหรับทานอาหารมื้อหลักแบบจัดเต็ม และโซน Night Area สำหรับกินดื่มสังสรรค์ และมีโซนดนตรีสดในบรรยากาศชิลๆ จึงเป็นอีกหนึ่งแหล่งแฮงก์เอาต์แห่งใหม่ของคนย่านนี้.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ