ซีพีแรมชู Plant-Based และ Functional Food เป็นอนาคตของอุตสาหกรรมอาหารไทย

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ซีพีแรมชู Plant-Based และ Functional Food เป็นอนาคตของอุตสาหกรรมอาหารไทย

Date Time: 27 พ.ค. 2566 09:30 น.

Video

“ไทยรัฐ โลจิสติคส์” ถอดคราบ “ยักษ์เขียว” มุ่งสู่ขนส่งครบวงจร | Thairath Money Talk

Summary

  • ซีพีแรม มอง Plant-Based และ Functional Food จะเข้ามาเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมอาหารไทย คาดจบปี 66 ยอดขายจะเติบโต 10%

Latest


นายวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทานและเบเกอรี่ กล่าวว่า ปัจจุบันมูลค่าตลาดเบเกอรี่ในประเทศไทย คาดว่าจะอยู่ที่ 38,000 ล้านบาท ซึ่งตลาดเบเกอรี่เป็นตลาดที่ใหญ่ทำให้ซีพีแรมเห็นโอกาสทางธุรกิจในกลุ่มเบเกอรี่

ล่าสุด เราจึงได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่เสริมความแกร่งของกลุ่มสินค้าเบเกอรี่ ซีพีแรม ภายใต้ตราสินค้าโอแรมปัง หรือ ORAMPANG ซึ่งเบเกอรี่อบสดพร้อมรับประทานที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยตั้งเป้ายอดขายภายใน 3 ปี อยู่ที่ 500 ล้านบาท


นอกจากนี้ เรามีแผนผลิตอาหาร Plant-Based หรือโปรตีนจากพืชพร้อมรับประทาน ซึ่งเป็นสไตล์อินเดีย และอาหารอาราเบียน โดยจะวางจำหน่ายใน 1-2 เดือนนี้ เบื้องต้นขายในประเทศก่อน จากนั้นส่งออกไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นฝั่งตะวันตก ยุโรป อเมริกา เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ชื่นชอบอาหารวีแกน รวมถึงอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีการบริโภคอาหารที่ผลิตจากพืชมากที่สุดในโลกจากประชากร 300-400 ล้านคน ซึ่งจะเป็นโอกาสในการทำตลาด

นอกจากนี้ ช่วงไตรมาส 3/66 ปีนี้จะเปิดโรงงานใหม่แห่งที่ 3 ในจังหวัดชลบุรี หลังจากที่ผ่านมาใช้เงินลงทุนไป 2,000 ล้านบาท เพื่อผลิตเบเกอรี่ เช่น ขนมปัง พิซซ่า จากแผนงานดังกล่าวนี้ทำให้เชื่อมั่นว่าปี 66 บริษัทจะมียอดขาย 27,500 ล้านบาท เติบโต 10% จาก 25,500 ล้านบาทในปี 65 โดยเบเกอรี่จะเติบโตมากที่สุดมีสัดส่วนเพิ่มจาก 30% เป็น 35% ส่วนอาหารพร้อมรับประทานจะมีสัดส่วนที่ 65%

ขณะเดียวกันซีพีแรม เตรียมรับกระแส เมกะเทรนด์ ที่เป็นอนาคตของโลก คือ เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาหารและสุขภาพโดยตรง โดยได้นำเทคโนโลยีชีวภาพดังกล่าวมาพัฒนานวัตกรรมอาหารเพื่อคนเฉพาะกลุ่ม เป็นการตอบโจทย์ความต้องการด้านโภชนาการที่แตกต่างกัน นำไปสู่การผลิตอาหารที่จำเพาะเจาะจงกับผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มมากขึ้นเรียกว่า Functional Food

ทั้งนี้ เพราะมนุษย์ไม่ได้มีความต้องการโภชนาการชนิดเดียวกันทุกๆ คน ควรจะมีอาหารสำหรับคนวัยเด็กว่าต้องการโภชนาการแบบใด คนที่ต้องใช้พลังงานมากในวัยทำงานต้องการโภชนาการแบบใด คนที่สูงวัยต้องการโภชนาการแบบใด ซึ่งจะต้องพัฒนาไปยังจุดนั้นโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาพัฒนาอาหารสุขภาพและอาหารสำหรับบุคคลเฉพาะกลุ่มอีกด้วย


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ