ผู้ถือหุ้นร่วมทรู-ดีแทคตั้ง 11 บอร์ดบริษัทใหม่ ยังคงแยก 2 แบรนด์แข่งขันกันปกติต่อไป

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ผู้ถือหุ้นร่วมทรู-ดีแทคตั้ง 11 บอร์ดบริษัทใหม่ ยังคงแยก 2 แบรนด์แข่งขันกันปกติต่อไป

Date Time: 24 ก.พ. 2566 06:01 น.

Summary

  • ประชุมผู้ถือหุ้นร่วมระหว่าง บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ได้อนุมัติชื่อบริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบบริษัทโดยใช้ชื่อ “บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น”

Latest

เศรษฐกิจคอนเทนต์อาเซียนโตพุ่ง 4.85 แสนล้าน สวนทางรายได้ “ครีเอเตอร์” ไม่ได้เยอะอย่างที่ฝัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 ก.พ.66 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นร่วมระหว่าง บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ได้อนุมัติชื่อบริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบบริษัทโดยใช้ชื่อ “บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น” และได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทใหม่ 11 คน ดังนี้ นายศุภชัย เจียรวนนท์, นายเยอเก้น คริสเตียน อาเร้นท์ โรสทริป, นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์, นางกมลวรรณ วิปุลากร, นายกลินท์ สารสิน, นางปรารถนา มงคลกุล, นายเกา ถงชิ่ง, นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข, นางสาวรุซ่าร์ ซาบาโนวิค, นายลาส์ เอริค เทลแมนน์, นายธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ขณะที่มีนายมนัสส์ มานะวุฒิเวช เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทใหม่

โดยจากนี้ทรูและดีแทคจะยังคงให้บริการโดยแยก 2 แบรนด์ต่อไป และแยกกันดำเนินธุรกิจและแข่งขันกันตามปกติ จนกว่ากระบวนการรวมธุรกิจจะเสร็จสิ้น ซึ่งตามเงื่อนเวลาที่คณะกรรมการ กสทช.กำหนดคือให้ทั้ง 2 แบรนด์แยกกันทำตลาดเป็นเวลา 3 ปี “ทรู คอร์ปอเรชั่น” ระบุว่า บริษัทใหม่จะมีศักยภาพที่แข็งแกร่ง รับมือกับความท้าทายของตลาดโทรคมนาคมและเทคโนโลยีใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยจะเป็นมากกว่าผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคม แต่จะขยายสู่บริการเทคโนโลยีดิจิทัลล้ำสมัย เพื่อสนับสนุนสตาร์ตอัพไทย สร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีและเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ