ADL ชี้อุตสาหกรรม EV ไทยต้องเผชิญ 5 ความท้าทายก่อนจะเป็นฮับผลิตรถอีวี

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ADL ชี้อุตสาหกรรม EV ไทยต้องเผชิญ 5 ความท้าทายก่อนจะเป็นฮับผลิตรถอีวี

Date Time: 29 พ.ย. 2565 20:03 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • อาร์เธอร์ ดี. ลิตเติล ชี้อุตสาหกรรม EV ไทยต้องเผชิญ 5 ความท้าทายก่อนจะเป็นฮับผลิตรถอีวี

Latest


อาร์เธอร์ ดี. ลิตเติล ชี้อุตสาหกรรม EV ไทยต้องเผชิญ 5 ความท้าทายก่อนจะเป็นฮับผลิตรถอีวี

นายฮิโรทากะ อุชิตะ ประธานบริหารและผู้อำนวยการ ประจำอาร์เธอร์ ดี. ลิตเติล ประเทศไทย หรือ ADL กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรม EV มีความสำคัญต่อไทยเป็นอย่างมาก หากไทยต้องการรักษาตำแหน่งศูนย์กลางการผลิตยานยนต์แห่งเอเชียเอาไว้ รวมถึงการดึงเม็ดเงินการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

ปัจจุบันทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเทรนด์การลงทุนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG ซึ่งการผลิต EV ของตลาดทั่วโลกที่มาแข่งขันกับประเทศตลาดเกิดใหม่ เช่น ประเทศอื่นๆ ในอาเซียน อเมริกาเหนือ และตะวันออกกลาง

ดร.อันเดรียส ชลอสเซอร์ พาร์ตเนอร์และประธานบริหารกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก กล่าวว่า ดัชนีชี้วัดความพร้อมด้านการขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าทั่วโลก หรือ GEMRIX ของ ADL ออกแบบมาเพื่อเปรียบเทียบเงื่อนไขตลาดของยานยนต์ EV และยานยนต์สันดาป

โดยรายงานดังกล่าวทำการวิเคราะห์ประเทศทั้งสิ้น 15 ประเทศ โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV เพิ่มสูงมากขึ้นทั่วโลก และประเทศไทยอยู่อันดับที่ 9 ในด้านความพร้อมของตลาดสำหรับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย ได้ประกาศแผนที่มุ่งมั่นในการคว้าส่วนแบ่งตลาด EV ที่เพิ่งเริ่มต้นแต่เติบโตอย่างต่อเนื่อง และยังตั้งเป้าที่จะเปลี่ยนการวางจุดยืนในอุตสาหกรรมยานยนต์ พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปล่อยมลภาวะทางอากาศอีกด้วย ถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยจะออกมาตรการกระตุ้นและการออกกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนการเติบโตของตลาด แต่อัตราการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในไทยยังถือว่าต่ำอยู่

สำหรับความท้าทายหลัก 5 ประการในการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่รัฐบาลไทยต้องดำเนินการเพื่อพลิกโฉมสู่การใช้เครื่องยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็วสำหรับวงการยานยนต์ โดยความท้าทายทั้ง 5 ประการ ได้แก่

- การใช้พลังงานหลายรูปแบบ และการเปลี่ยนฐานของซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนยานยนต์
- ความสามารถในการแข่งขันในซัพพลายเชนของแบตเตอรี่
- การผลักดันเชิงกลยุทธ์ของไทยในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จ
- ความตระหนักรู้ของลูกค้าไทยเกี่ยวกับความเป็นกลางทางคาร์บอนและ EV
- ศักยภาพของ EV ไทยในตลาดส่งออก

ส่วนประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ที่มีศักยภาพสูงในการผลิตยานยนต์ เช่น อินโดนีเซียนั้น สามารถเข้าถึงทรัพยากรหลักอย่างนิกเกล ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในแบตเตอรี่ลิเทียม

ขณะเดียวกัน ศักยภาพในการส่งออกของไทยในฐานะฮับการผลิตยานยนต์ก็อาจต้องเจอความท้าทาย เนื่องจากตลาดส่งออกที่มีอยู่ เริ่มเปลี่ยนไปใช้ EV จาก OEM และแบรนด์ท้องถิ่นในประเทศของตนเอง

นายอัคเชย์ ปราสาด ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายอุตสาหกรรมยานยนต์และการผลิต อาร์เธอร์ ดี. ลิตเติล ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า วิวัฒนาการของอุตสาหกรรม EV ไทยจะขึ้นอยู่กับผู้เล่นในอีโคซิสเต็ม เนื่องจากฐานความต้องการในไทยยังมีจำกัดและเงื่อนไขในฝั่งของอุปทานก็ยังไม่น่าพึงพอใจ ด้วยเหตุนี้ ผู้เล่นในอุตสาหกรรมต้องร่วมมือกันทั้งห่วงโซ่คุณค่า หรือ Value Chain

นอกจากนี้ เทรนด์ระบบไฟฟ้าในไทยสร้างโอกาสให้ผู้เล่นท้องถิ่นและสตาร์ตอัปสามารถก่อตั้งแบรนด์ EV ของตนเอง ซึ่งอาจเป็นการพลิกเกมในวงการยานยนต์ไทยในอนาคต ซึ่งจวบจนปัจจุบัน ยังต้องพึ่งพาแบรนด์และผู้เล่นจากต่างประเทศอยู่

จากสถานการณ์ตลาดปัจจุบันและความเคลื่อนไหวที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ADL เชื่อว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ไทยจะพลาดเป้าการขายยานยนต์ EV ที่ตั้งไว้ 1.123 ล้านคันภายในปี 2573 และมีข้อแนะนำที่จะช่วยให้ไทยสามารถบรรลุเป้าหมายในการเปลี่ยนผ่านสู่ EV ได้ด้วยการสร้างอุปสงค์และการพัฒนาอุปทาน

สำหรับยอดขาย EV ในไทยคาดว่าจะเพิ่มจาก 1,572 คันในปี 2563 เป็นราว 831,161 คันในปี 2573 ซึ่งสูงขึ้นถึง 529 เท่า คาดว่าอัตราการใช้ EV ภายในปี 2573 จะอยู่ที่ 61,000 คันสำหรับรถยนต์และรถกระบะ 763,000 คันสำหรับรถไฟฟ้า 2 ล้อ และ 7,000 คันสำหรับรถบัสและรถบรรทุก รายงานยังระบุว่าไทยจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้สำหรับรถ 2 ล้อ แต่จะไม่บรรลุเป้าหมายสำหรับรถยนต์ รถกระบะ รถบัส และรถบรรทุก


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์