EnCo ทุ่ม 2 พันล้านพัฒนาศูนย์อบรมการบินไทยหลักสี่ เป็นแลนด์มาร์กใหม่ดอนเมือง

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

EnCo ทุ่ม 2 พันล้านพัฒนาศูนย์อบรมการบินไทยหลักสี่ เป็นแลนด์มาร์กใหม่ดอนเมือง

Date Time: 1 พ.ย. 2565 13:44 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ เครือปตท.ทุ่ม 2 พันล้าน พัฒนาศูนย์อบรมการบินไทยหลักสี่ที่ประมูลมาเมื่อปี 64 เป็นแลนด์มาร์ก และจุดนัดพบแห่งใหม่ย่านดอนเมือง

Latest


เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ เครือปตท.ทุ่ม 2 พันล้าน พัฒนาศูนย์อบรมการบินไทยหลักสี่ที่ประมูลมาเมื่อปี 64 เป็นแลนด์มาร์ก และจุดนัดพบแห่งใหม่ย่านดอนเมือง

นายศิรศักดิ์ จันเทรมะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด หรือ EnCo กล่าวว่า เราเตรียมพัฒนาโครงการ EnCo Terminal หรือ EnTer ให้เป็นอาคารสำนักงานและจุดนัดพบอันทันสมัยแห่งใหม่ในย่านหลักสี่ สนามบินดอนเมือง

สำหรับโครงการ EnTer ใช้งบลงทุนกว่า 2,600 ล้านบาท โดยเน้นสถาปัตยกรรมใน Concept สถานีแห่งอนาคต หรือ The Future Station สถานที่ซึ่งจะเป็นศูนย์รวม Future-Tech ทั้งบริษัทในกลุ่ม ปตท. และบริษัทเอกชน กลุ่มธุรกิจ กลุ่ม Startup ของประเทศไทย

นายอาทิตย์ เล่าสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท Create Great Design กล่าวว่า การออกแบบครั้งนี้ ผมและคุณ โสภิต สุจริตกุล ได้นำเสนอแนวความคิดเรื่องของเรือโนอาห์ หรือ Noah’s Ark ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลกในอดีต ตามความเชื่อจากยุคคริสตกาลในคัมภีร์ไบเบิล มาเป็นสัญลักษณ์ของ World Transformations ในยุคปัจจุบัน และเป็น Key Characteristics ของการออกแบบ แต่เพื่อให้เข้ากับยุค Digitalization จึงได้ออกแบบตัวเรือในลักษณะ Redesign ให้เป็นยานอวกาศ Noah’s Ark Spaceship

โดยเน้นจุดเด่นผ่านงานสถาปัตยกรรมด้านหน้าอาคาร หรือ Façade ประกอบกับการออกแบบในส่วนต่างๆ เพื่อแสดงความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตอย่างยั่งยืน เช่น ออกแบบจุด EV Charging HUB ศูนย์รวมจุดชาร์จไฟฟ้าทั้งรถส่วนตัวและรถโดยสาร เป็นการสะท้อนแนวความคิดของ EnCo ในเรื่อง The Future Station สถานีแห่งอนาคตด้วย

ดังนั้นการออกแบบโครงการเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ นี้จึงเต็มไปด้วยพลังงานบวก ความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ ที่เข้าไปสอดแทรกในทุกส่วนประกอบของการออกแบบทั้งภายนอกและภายใน รวมถึงบริเวณโดยรอบของโครงการเพื่อเชื่อมต่อโลกของปัจจุบันไปสู่โลกอนาคตผ่านงานสถาปัตยกรรมการออกแบบที่ท่องผ่านการเวลา หรือ Timeless Design อีกด้วย


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ