"บิสโตร เอเชีย" เติมเต็มธุรกิจอาหารของไทยเบฟ

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

"บิสโตร เอเชีย" เติมเต็มธุรกิจอาหารของไทยเบฟ

Date Time: 29 ต.ค. 2565 05:17 น.

Summary

  • านอีเวนต์และใช้บริการร้านอาหารข้างในศูนย์ประชุมที่มีหลากหลายประเภท มารองรับ และสำหรับผู้ที่เคยไปใช้บริการฟู้ดคอร์ตภายใต้แบรนด์ฟู้ด สตรีท ด้านล่างของศูนย์ประชุม คงจะทึ่งกับระบบการจัดการ

Latest

อัปเดต 5 กลยุทธ์ขายของ พิชิตใจคน Gen Z อยากรักษ์โลก แต่ของมันต้องมี แบรนด์รับมืออย่างไร?

ในช่วงนี้หลายๆ คนได้มีประสบการณ์ใหม่ไปเยี่ยมชมศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ โฉมใหม่ระดับเวิลด์คลาสที่ถูกทุ่มทุนออกแบบรีโนเวทใหม่สวยงาม หรูหรา อลังการ กับพื้นที่ขนาดใหญ่กว่าเดิมถึง 5 เท่า รองรับผู้คนพร้อมกันได้มากกว่า 100,000คน พร้อมกับเพิ่มพื้นที่ค้าปลีกและร้านอาหารเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เข้ามาใช้บริการ

หลังเปิดให้บริการได้มีการจัดอีเวนต์มาต่อเนื่อง หลายๆคนที่ไปร่วมงานอีเวนต์และใช้บริการร้านอาหารข้างในศูนย์ประชุมที่มีหลากหลายประเภท มารองรับ และสำหรับผู้ที่เคยไปใช้บริการฟู้ดคอร์ตภายใต้แบรนด์ฟู้ด สตรีท (Food Street) ด้านล่างของศูนย์ประชุม คงจะทึ่งกับระบบการจัดการไม่น้อยว่าสามารถบริการจัดการรับมือกับลูกค้าจำนวนมากได้อย่างไรโดยไม่ต้องเข้าคิวซื้อบัตรคูปองและไม่ต้องเข้าคิวรอหน้าร้าน รวมไปถึงการดึงร้านอาหารที่มีชื่อเสียงระดับมิชลินสตาร์เข้ามา

Food Street เป็นแบรนด์หนึ่งของ “บิสโตร เอเชีย” ซึ่งเป็นธุรกิจอาหารในเครือ “ไทยเบฟ” ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจในเครือ ภายใต้การสร้างแพลตฟอร์มของศูนย์อาหารแนวใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน เป็นสาขาแฟล็กชิป ต้นแบบที่จะนำไปต่อยอดใช้กับสาขาอื่นต่อไป

“บิสโตร เอเชีย” ภายใต้การบริหารของ “แซม” ไพศาล อ่าวสถาพร กรรมการผู้จัดการของบริษัท บิสโตร เอเชีย จำกัด ผู้คร่ำหวอดและมีประสบการณ์โชกโชนในธุรกิจอาหารที่ถูกโยกมาดูแล หลังจากบริหาร “โออิชิ กรุ๊ป” ผู้นำธุรกิจ อาหารญี่ปุ่นในเครือไทยเบฟมากว่า 16 ปี ที่ระบุว่าการนำเครื่องมือทางการตลาดทุกรูปแบบมาขับเคลื่อนธุรกิจอย่างเต็มที่ยังไม่เพียงพอในยุคปัจจุบันจะต้องนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มเพื่อความได้เปรียบทางธุรกิจ

“ไพศาล” กล่าวว่า Food Street ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เป็นสาขาแรกที่ได้ลงทุนนำระบบดิจิทัลมาใช้ผ่านตู้คีย์ออส ลูกค้าสามารถเลือกเมนูอาหาร และสั่งจากตู้แล้วไปรับที่ร้านที่เลือกไว้ได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลาไปเข้าคิวสั่งหน้าร้าน

ตู้คีย์ออสที่นำมาใช้รองรับระบบการชำระเงินได้ทุกแพลตฟอร์มทั้งแอป คิวอาร์โค้ด หรือระบบการชำระเงินชื่อดังของต่างประเทศทั้งอาลีเพย์ วีแชทเพย์ แรบบิทเพย์ และบัตรเครดิต ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ในการใช้บริการผ่านศูนย์อาหารที่นอกจากจะรองรับกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้ารุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับโลกของดิจิทัลแล้ว ยังช่วยในการแก้ Pain Point ให้กับลูกค้าโดยเฉพาะลูกค้าชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการในศูนย์ประชุม และมักจะประสบปัญหาในการใช้เงินสด

ทั้งนี้ ระบบการ Cashless Payment หรือชำระแบบไร้เงินสดที่จะต้องรองรับทุกแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะพัฒนาให้เครื่องเดียว ใช้เวลาเขียนโปรแกรมกว่า 6 เดือน และต้องลงทุนเป็นโนว์ฮาวของบริษัทที่คนอื่นหรือคู่แข่งตามไม่ทัน ระบบนี้ยังสามารถแสดงผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ถึงตัวเลข ยอดขาย ร้านไหนขายดีสุด ดูได้ตลอดเวลา

“ระบบดังกล่าวสามารถรับมือกับลูกค้า ในวันที่มีอีเวนต์วันละ 6,000-8,000 คน ได้สบาย ขณะเดียวกันก็ยังมีเคาน์เตอร์ท่ีพนักงานคอยบริการแลกเงินสด แต่แทบไม่มีใครมาใช้บริการกันแล้ว” ไพศาล กล่าวด้วยว่า การสร้าง New Customer Journey ใหม่ๆเพื่อต่อยอดไปสู่การเปิดสาขาใหม่ที่โครงการ One Bangkok ซึ่งจะเป็นอีกศูนย์อาหารภายใต้แบรนด์ฟู้ด สตรีท ที่จะยกระดับประสบการณ์การใช้บริการศูนย์อาหารไปอีกระดับ”

“ไพศาล” กล่าวว่า ปัจจุบันพอร์ตธุรกิจอาหารของ “บิสโตร เอเชีย” บ้านสุริยาศัย (BAAN SURIYASAI) ไฮด์ แอนด์ ซีค แอทธินี (HYDE & SEEK Athenee) หม่าน ฟู่ หยวน (MAN FU YUAN) โซ อาเซียน (SO asean Café & Restaurant) สโมสรราชพฤกษ์ (Rajpruek Club) ศูนย์อาหาร ฟู้ด สตรีท (Food Street) และบริการจัดเลี้ยง ให้บริการอาหารไทย จีน ตะวันตก แบบพรีเมียมรวมทั้งฟู้ดคอร์ตแนวใหม่ รวมทั้งหมด 22 สาขา

หลังจากที่ตนเข้ามาบริหารครบ 1 ปีตามปี ปฏิทินบัญชีธุรกิจของบริษัทสิ้นสุดเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ธุรกิจดีขึ้นตามลำดับ ที่สำคัญตัวเลขรายได้ รวมกลับมาดีขึ้นกว่าก่อนเหตุการณ์ผลกระทบโควิด โดยตัวเลขรายได้เติบโตถึง 280% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา และเติบโต 29% เมื่อเทียบกับปี 2562 ก่อนเริ่มเกิดผลกระทบโควิด

เหตุผลสำคัญของรายได้ของ “บิสโตร เอเชีย” ดีขึ้นและเริ่มมีผลกำไร หลังจากขาดทุนมาตลอดก็คือการปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่หมด ปรับเมนูอาหารของแต่ละแบรนด์ให้เข้ากับแบรนด์โพสิซันนิ่งนั้นๆ การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆ รวมถึงโลเกชันที่มีความสำคัญ เช่น ทำเลอยู่ในย่านสำนักงานชั่วโมงการขายอาหารจะสั้น เน้นอาหารกลางวัน เสาร์ อาทิตย์ขายไม่ได้ รวมไปถึงการเน้นฟู้ดดีลิเวอรี ที่ปัจจุบันตัวเลขเติบโตดี

การสร้างแบรนด์ให้แข็งแรงก็ต้องทำต่อไป การขยายไลน์โปรดักส์ออกไปเพื่อสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ออมนิชาแนลจำเป็นต้องทำ รวมไปถึงการลงทุนขยายสาขาใหม่ๆ

ตั้งเป้าทำรายได้ 2,000-3,000 ล้านบาทภายใน 3 ปี ตามกลยุทธ์แพชชัน ไทยเบฟ 2025 ทำนิวมาร์เกตติ้ง สร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้ลูกค้า เป็นสิ่งสำคัญ จะช่วยเติมเต็มในธุรกิจ อาหารในเครือไทยเบฟที่ยังไม่มี.

วานิชหนุ่ม
wanich@thairath.co.th


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ