HappyFresh ประกาศปิดกิจการในไทย หลังอยู่ในตลาด E-Grocery มา 7 ปี

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

HappyFresh ประกาศปิดกิจการในไทย หลังอยู่ในตลาด E-Grocery มา 7 ปี

Date Time: 22 ก.ย. 2565 15:07 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • HappyFresh หรือ แฮปปี้เฟรซ แพลตฟอร์ม E-Grocery ปิดกิจการในประเทศไทย หลังอยู่ในตลาด 7 ปี

Latest


HappyFresh หรือแฮปปี้เฟรซ แพลตฟอร์ม E-Grocery ปิดกิจการในประเทศไทย หลังอยู่ในตลาด 7 ปี

เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 65 แฟนเพจเฟซบุ๊ก HappyFresh ได้โพสต์ข้อความระบุว่า นับเป็นเวลา 7 ปีที่ HappyFresh หรือ แฮปปี้เฟรซ ได้เปิดดำเนินการในประเทศไทย เราขอขอบคุณลูกค้าทุกท่านสำหรับความไว้วางใจและการสนับสนุนเสมอมา ทำให้เราได้เป็นส่วนหนึ่งในการจ้างงานพนักงานกว่า 850 ตำแหน่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างการเติบโตให้ร้านค้ารายย่อยในแต่ละพื้นที่ และเป็นส่วนหนึ่งของความสุขในครอบครัวจากบริการจัดส่งสินค้าถึงบ้านของเรา

แต่เนื่องด้วยวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ เราจำเป็นต้องแจ้งว่า HappyFresh ประเทศไทยได้ยุติการให้บริการในประเทศไทย โดยมีผลทันที เราขอขอบคุณจากใจที่ได้รับโอกาสดูแลคุณและครอบครัวเสมอมา หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราได้ที่หน้าเว็บไซต์ FAQs ด้วยความนับถือ ทีมงาน HappyFresh

สำหรับ HappyFresh ถือเป็น E-Grocery หรือ Online Grocery คือ การสั่งซื้อของสด เช่น ผักสด เนื้อสัตว์ ผลไม้ รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวันผ่านช่องทางออนไลน์ หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยในปี 64 ที่ผ่านมา HappyFresh ได้ระดมทุนรอบ Serie D จากผู้ลงทุนรายใหญ่ นำโดย Naver Financial Corporation และ Gafina B.V ตามด้วย STIC, LB และ Mirae Asset จากประเทศอินโดนีเซีย

รวมถึงกลุ่มทุนจากสิงคโปร์ อย่าง Mirae Asset-Naver Asia Growth Fund และ Z Venture Capital ที่ตบเท้าเข้าร่วมสมทบทุนเพิ่มใน Serie D ทำให้ในรอบนี้ HappyFresh ปิดดีลระดมทุนที่ประมาณ 65 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 2 พันล้านบาท

ทั้งนี้ ผู้บริหาร HappyFresh ประจำประเทศไทย เคยให้สัมภาษณ์กับ "ไทยรัฐออนไลน์" เมื่อปี 64 ว่า E-Grocery ในประเทศไทยจะยังเติบโตต่อได้อีก ซึ่งช่วงโควิดที่ผ่านมาทำให้คนเปิดใจกับ Online Grocery มากขึ้น และเกิดพฤติกรรมซื้อซ้ำในหลายๆ ครั้ง

ขณะที่หลายคนอาจจะมองว่า พฤติกรรมผู้บริโภคชอบที่จะเดินไปซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้ามากกว่า ซึ่งก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งเท่านั้น เพราะการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคมีข้อจำกัดหลายอย่าง การใช้ Online Grocery จึงเป็นทางเลือกที่ใช้ควบคู่กับการไปเลือกซื้อสินค้าด้วยตัวเอง

เมื่อมีดีมานด์มากขึ้น HappyFresh จึงเลือกที่จะขยายการให้บริการไปทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑลทันทีที่เปิดให้บริการก็มีลูกค้าเข้ามาใช้งานในทันที โดยเรามีแผนที่จะขยายพื้นที่ให้บริการ HappyFresh ไปยังจังหวัดอื่นๆ ของประเทศไทยอีกด้วย เพราะเรามองว่า Online Grocery ยังมีช่องทางให้เติบโตได้อีกในอนาคต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ