ถอดกลยุทธ์ "ราคามาม่า" ขายครั้งแรก 2 บาท 50 ปีผ่านไป ยังขายห่อละ 6 บาท

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ถอดกลยุทธ์ "ราคามาม่า" ขายครั้งแรก 2 บาท 50 ปีผ่านไป ยังขายห่อละ 6 บาท

Date Time: 16 ก.พ. 2565 08:24 น.

Video

บัญชีม้า เกลื่อนเมือง คนไทยอยู่อย่างไร ใครต้องรับผิดชอบ ? | Money Issue

Summary

  • ถอดกลยุทธ์ "ราคามาม่า" ขายครั้งแรก 2 บาท ผ่านมา 50 ปี วันนี้ยังคงขายแค่ซองละ 6 บาท "พิพัฒ พะเนียงเวทย์" พาผู้บริหารยุคใหม่เปิด New Business Model

Latest


ถอดกลยุทธ์ "ราคามาม่า" ขายครั้งแรก 2 บาท ผ่านมา 50 ปี วันนี้ยังคงขายแค่ซองละ 6 บาท "พิพัฒ พะเนียงเวทย์" พาผู้บริหารยุคใหม่เปิด New Business Model ภายใต้วลี "อย่าล้ำสมัย แต่ต้องทันสมัย"

- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ตรา มาม่า เป็นคำที่เรียกติดปากคนไทยมาตั้งแต่ไหนแต่ไร จนทุกวันนี้ก็ยังใช้คำว่า "มาม่า" เรียกแทนคำว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไม่ว่าจะทานยี่ห้ออะไรก็ตามแต่ จะผลิตในประเทศ หรือต่างประเทศ ทุกอย่างจะถูกเหมารวมว่าเป็นมาม่าหมด เช่น ยำมาม่า มาม่าเกาหลี มาม่าญี่ปุ่น แบบนี้เป็นต้น

- เราอาจจะได้เคยยินคำว่า "ดัชนีมาม่า" ที่คนส่วนใหญ่มองว่า ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี มาม่าก็จะขายดีเป็นพิเศษ เพราะราคาถูก แต่หากเศรษฐกิจดี มาม่าจะขายได้น้อย เพราะคนมีกำลังซื้อเยอะ ไปหาทานอย่างอื่นแทนมาม่า แต่แท้จริงแล้ว ดัชนีมาม่าไม่ได้มีไว้วัดผลทางเศรษฐกิจ แต่เอาไว้ใช้วัดผลทางความรู้สึกของผู้คนมากกว่า เพราะในความเป็นจริง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะขายดี หรือขายไม่ดี ก็ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น รวมถึงปัจจัยต่างๆ

- รู้หรือไม่ว่ามาม่าขายในเมืองไทยมา 50 ปีแล้ว ราคาขายครั้งแรกในปี 2515 คือ ซองละ 2 บาท จนวันนี้มาม่าปรับราคาขึ้นมา 4 บาท และปัจจุบันยังคงขายในราคาซองละ 6 บาท แม้ต้นทุนต่างๆ เช่น แป้งสาลี น้ำมันปาล์ม จะพุ่งสูงขึ้นก็ตาม และผู้ผลิตมาม่าก็ยืนยันกับกระทรวงพาณิชย์ว่าจะไม่ขึ้นราคาเด็ดขาด

- มาม่าที่วางตลาด ครั้งแรกคือ รสซุปไก่ ตามมาด้วยรสหมูสับ และในปี 2523 มาม่ารสต้มยำกุ้งได้ถือกำเนิดขึ้น

- พิพัฒ พะเนียงเวทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและรองประธานกรรมการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TFMAMA ในวัย 85 ปี เจ้าของวลี "อย่าล้ำสมัย แต่ต้องทันสมัย" บอกว่า เราผ่านวิกฤติมาหลายครั้ง เช่น วิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 และการระบาดของโควิด แต่เราก็ผ่านเรื่องราวเหล่านั้นมาได้

- ด้วย 3 กลยุทธ์หลัก 1.เรามีพาร์ทเนอร์ที่ดีอย่างบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) 2.เราผลิตแต่สินค้าที่ดีมีคุณภาพ และ 3.การบริหารจัดการที่ดี โดยเฉพาะฝ่ายบริหารของเราที่ไม่ได้ลงทุนแบบเกินตัว เราเน้นการลงทุนแบบอนุรักษนิยม หรือ Conservative เราจึงผ่านพ้นทุกวิกฤติ

- ที่ผ่านมาเราปรับตัวพร้อมทั้งหาโซลูชันใหม่ๆ เพื่อควบคุมต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายในทุกๆ ขั้นตอน เช่น การตั้งโรงงานผลิตมาม่าใกล้ๆ กับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เพื่อใช้น้ำร้อนจากโรงงานไฟฟ้ามาฮีตน้ำมันทำให้เราประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น ที่สำคัญบรรยากาศในโรงงานก็ไม่ร้อนเหมือนกับการใช้เตาเบิร์นเนอร์

- สำหรับ New Business Model ที่จะขับเคลื่อนต่อจากนี้ คือ การเป็นฟู้ดอินโนเวชัน หรือ food innovations เต็มรูปแบบ จากเดิมที่เป็นเพียงฟู้ดโปรดักส์ หรือ food products ที่ผลิตแต่อาหารกึ่งสำเร็จรูป หรือ instant food ตามมูลค่า หรือ volume based 

- New Business Model นี้จะยังคงให้ความสำคัญทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ผ่านช่องทางต่างๆ ที่หลากหลาย ควบคู่กับการจับมือกับพันธมิตรต่างๆ เพื่อพัฒนาธุรกิจให้มากกว่าอาหารกึ่งสำเร็จรูป

- โดยมีการวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษา เพื่อขยายตลาดไปยังกลุ่มสุขภาพมากขึ้น ภายใต้การขับเคลื่อนของทีเอฟอินโนเวชันทีม หรือ TFIT เพื่อนำพาทีเอฟเดินหน้าสู่ Future Food และขยายตลาดในการรองรับผู้บริโภคในกลุ่ม Healthy เพิ่มมากขึ้น

- เพชร พะเนียงเวทย์ กรรมการบริษัท และผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด 2 บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) และที่ปรึกษาไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอยู่ที่อันดับที่ 9 ของโลก ด้วยปริมาณ 3,700 ล้านซองต่อปี ถ้าเฉลี่ยต่อคนประเทศไทยจะอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก หรือบริโภคที่ประมาณ 53.2 ซองต่อคนต่อปี แต่คนทั้งโลกเฉลี่ยบริโภคอยู่ที่ 15 ซองต่อคนต่อปี

- แต่ตลาดในประเทศไทยโตได้ช้า โดยในปี 64 โตแค่ 10% เนื่องจากผลกระทบโควิด 

- เขาย้ำว่า ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ คือ ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ส่วนบทบาทการตลาด และการจัดจำหน่ายในประเทศ คือ สหพัฒนฯ

- การทำตลาดนั้นเราทำควบคู่กันทั้ง Modern Trade และ Traditional Trade รวมถึง Digital Marketing เพื่อให้สินค้าอยู่ในทุกเจน และเซกเมนต์ทั้งระดับ mass และ premium ซึ่งที่ผ่านมาตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในกลุ่ม premium นับว่าเติบโตมากกว่ากลุ่ม mass เพราะเป็นตลาดที่เล็ก

- ส่วนการเข้ามาของมาม่าเกาหลีที่มาตีตลาดไทย ก็ถือว่ามาช่วยบิวต์ในกลุ่ม premium ด้วย ซึ่งของเราก็อร่อยเหมือนกัน

- จากการทำรีเสิรช์รสชาติมาม่าที่คิดถึง ซึ่งเป็นหนึ่งในการทำแคมเปญที่ออกมาฉลองครบรอบ 50 ปี มาม่า 3 รสชาติ ได้แก่ มาม่าบะหมี่หยกแห้งเป็ดย่าง มาม่าเส้นโฮลวีตรสหมูพริกไทยดำ และมาม่าข้าวซอยไก่ ให้เป็นสินค้าลิมิเต็ดอิดิชั่นวางขายแค่ช่วงสั้นๆ รวมถึงการทำโฆษณาคำว่า "อร่อย" ฉายตามทีวี และออนไลน์อีกด้วย

- พจนา พะเนียงเวทย์ กรรมบริษัทและกรรมการธรรมาภิบาลและบริหารความเสี่ยง ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ กล่าวว่า ปัจจุบันเรามีการทำตลาดไปแล้ว 68 ประเทศทั่วโลก โดยมี มาม่า เป็นแบรนด์หลัก และในอนาคตเรามีเป้าหมายการทำตลาดที่มากกว่า Beyond Export นั่นคือ Global Market ซึ่งจะเน้นการทำตลาดผลิตภัณฑ์ในกลุ่มพรีเมียมและไฮแวลูเพิ่มมากขึ้น

- เพื่อให้สอดรับกับเทรนด์ของผู้บริโภคในต่างประเทศ รวมทั้งการปรับดีไซน์และขนาดแพ็กเกจจิ้งให้มีความทันสมัยและเหมาะสมกับตลาดในแต่ละประเทศมากขึ้น เน้นช่องทางการทำตลาดออฟไลน์และออนไลน์ควบคู่กัน

- เราคาดว่าจะขยายการลงทุนเพิ่มในต่างประเทศ โดยปัจจุบันสัดส่วนการทำตลาดในประเทศอยู่ที่ 70% และต่างประเทศอยู่ที่ 30%.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์