OR ชูวิสัยทัศน์ Empowering All toward Inclusive Growth สร้าง “โอกาส” เพื่อเติบโตร่วมกับสังคมชุมชน

Business & Marketing

Marketing

Content Partnership

Author

Content Partnership

Tag

OR ชูวิสัยทัศน์ Empowering All toward Inclusive Growth สร้าง “โอกาส” เพื่อเติบโตร่วมกับสังคมชุมชน

Date Time: 7 ธ.ค. 2564 17:00 น.
Content Partnership

Summary

  • วิสัยทัศน์ใหม่ของ โออาร์ หรือ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ที่ว่า “Empowering All toward Inclusive Growth” การร่วมเติมเต็ม “โอกาส” ในการเติบโตให้กับทุกชีวิต

โออาร์ เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโตร่วมกัน

โอกาสคือสิ่งสำคัญและยิ่งใหญ่ ไม่เพียงแค่พลิกชีวิตของคนมาแล้วนับไม่ถ้วน แต่เปลี่ยนความรู้สึกไร้ค่าให้กลับมามีความหมายได้อีกครั้ง

ความงดงามแห่งการมอบโอกาสครั้งสำคัญดังกล่าว คือ วิสัยทัศน์ใหม่ของ โออาร์ หรือ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ที่ว่า “Empowering All toward Inclusive Growth” การร่วมเติมเต็ม “โอกาส” ในการเติบโตให้กับทุกชีวิต และส่งต่อไปยังผู้คนที่เขารักอย่างยั่งยืน ทั้งในวันนี้และในอนาคต ด้วยการร่วมสร้างโอกาสดีๆ ให้คนไทยผ่านช่องทางธุรกิจต่างๆ ที่ โออาร์ มี โดย โออาร์ ยังยึดมั่นในการเป็นองค์กรที่เกื้อกูลสังคม อาศัยการประสานพลังแห่งความร่วมมือเพื่อสร้างคุณค่าอย่างเท่าเทียม มุ่งพัฒนาคนให้มีศักยภาพ ลดทอนช่องว่างความเหลื่อมล้ำในสังคม เพื่อจะต่อยอดไปสู่การพัฒนาคุณภาพสังคมในอีกระดับ จนไปถึงการพัฒนาประเทศไทยในระยะยาวอย่างยั่งยืน

4 พันธกิจหลักที่มาพร้อมกับความมุ่งมั่นของ โออาร์

Seamless Mobility การสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจพลังงานแบบผสมผสานเพื่อการเดินทางในทุกรูปแบบอย่างไร้รอยต่อ “Energy Solution Ecosystem”

All Lifestyles การสร้างทางเลือกสำหรับการดำเนินชีวิตแบบครบวงจรเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ “One-Stop Solution Ecosystem”

Global Market การขยายฐานธุรกิจเพื่อสร้างความสำเร็จและการยอมรับในตลาดโลก

OR Innovation การแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับสู่นวัตกรรมในแบบฉบับของโออาร์

สำหรับปัจจุบัน โออาร์ มีแพลตฟอร์มทางธุรกิจที่แข็งแกร่งซึ่งเกี่ยวข้องเชื่อมโยงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันผู้คนทั่วประเทศ ได้แก่

⦁ พีทีที สเตชั่น เครือข่ายของสถานีบริการกว่า 2,000 สาขาทั่วประเทศที่มีผู้ใช้บริการกว่า 2.5 ล้านคนต่อวัน

⦁ Café Amazon แบรนด์กาแฟชั้นนำที่มีมากกว่า 3,500 สาขาทั่วประเทศ และปัจจุบันกำลังเติบโตเป็นแบรนด์ระดับโลกด้วยจำนวนสาขามากอันดับที่ 6 ของโลก

⦁ Energy Solution Provider ผู้นำด้านพลังงานครบวงจรที่มีลูกค้าในตลาดพาณิชย์ทั้งหมดกว่า 2,600 ราย ครอบคลุมทั้งภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรม

⦁ Blue Card บัตรสมาชิกสะสมคะแนนที่มีฐานสมาชิกกว่า 7.5 ล้านคน

ประตูสู่โอกาสที่ โออาร์ เปิดกว้างสำหรับทุกคน

“Café Amazon for Chance” ร้านกาแฟที่ให้โอกาสทุกคน

จะมีอาชีพใดบ้างที่ผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ ในสังคมสามารถทำได้ หากได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี หนึ่งในนั้นคืออาชีพบาริสต้า ที่ โออาร์ ได้ริเริ่มในโครงการ Café Amazon for Chance มอบโอกาสให้ผู้พิการทางการได้ยิน ผู้พิการทางการเรียนรู้ ทหารผ่านศึกและครอบครัว และผู้สูงวัย ได้มีอาชีพ มีรายได้ มีความภาคภูมิใจในตนเองจากการทำงานเป็นบาริสต้า โดยร้าน Cafe Amazon for Chance มีทั้งหมด 14 สาขา ในแต่ละร้านจะมีการบริหารจัดการที่ผสมผสานทั้งบาริสต้าทั่วไป และบาริสต้ากลุ่มผู้ด้อยโอกาส

สำหรับทีมบาริสต้าวัยเก๋า ที่ได้ทดลองทำงานจริงครั้งแรกที่ร้าน Café Amazon สาขากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เมื่อต้นปี 2563 ทุกคนผ่านการฝึกอบรมที่สามารถรักษารสชาติให้คงมาตรฐาน ขณะเดียวกันยังสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ไม่แตกต่างจากร้าน Café Amazon สาขาอื่นๆ

แม้การฝึกอบรมพนักงานกลุ่มนี้จะใช้เวลานานกว่าพนักงานทั่วไปถึง 2-5 เดือน แต่หลังจากที่ Café Amazon for Chance เปิดบริการมาพบว่าอัตรา Turn Over ของพนักงาน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยร้านกาแฟทั่วไป ซึ่งอยู่ที่ 30% สะท้อนให้เห็นถึงความสุขของบาริสต้าวัยเก๋ากลุ่มนี้

วันนี้ Café Amazon for Chance ไม่ใช่เพียงสร้างโอกาสให้แก่ผู้ด้อยโอกาส และเปิดขายเครื่องดื่ม-อาหารให้กับลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นโมเดลต้นแบบสำหรับธุรกิจและองค์กรต่างๆ สามารถเข้ามาศึกษาดูงาน เพื่อขยายผลในการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ ต่อไปอีกด้วย

กาแฟทุกแก้วของ Café Amazon คือรอยยิ้มที่กว้างขึ้นของเกษตรกร

ร้าน Café Amazon ได้รับความนิยมจนทำให้มีจำนวนสาขามากที่สุด 6 อันดับแรกของตั้งเป้าสาขา 4,000 สาขาทั้งในไทย และต่างประเทศ การเติบโตทางธุรกิจนี้ช่วยให้ผู้ประกอบการ SME ที่เป็นเจ้าของร้าน Café Amazon ได้เติบโตร่วมกับแบรนด์ ยิ่งไปกว่านั้นความตั้งใจของ โออาร์ ที่ต้องการยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทย

เมล็ดกาแฟสายพันธุ์อาราบิกาและโรบัสตาของ Café Amazon จึงรับซื้อมาจากแหล่งปลูกกาแฟในไทยที่มีคุณภาพทั่วประเทศ รวมถึงการริเริ่ม 2 โครงการหลักที่ทำให้วันนี้เกษตรกรไทยมีรายได้ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และผืนป่าธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์

⦁ โครงการจัดหาเมล็ดกาแฟจากชุมชน (Community Coffee Sourcing : CCS) ช่วยเหลือเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก พัฒนาความรู้และทักษะอาชีพให้ผลิตกาแฟที่มีคุณภาพตามมาตรฐานภายใต้ระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมทั้งรับซื้อเมล็ดกาแฟมาใช้ภายในร้าน Café Amazon โดยมีวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงรายเข้าร่วมโครงการกว่า 8 กลุ่ม ซึ่งโครงการ CCS ยังได้รับการสนับสนุนจากสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริเป็นที่ปรึกษาโครงการ

⦁ โครงการวิจัยและพัฒนาการปลูกและผลิตกาแฟระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นความร่วมมือระหว่าง Café Amazon กับมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อวิจัยพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์กาแฟอาราบิกาให้ได้ผลผลิตคุณภาพสูงเหมาะสมกับการเพาะปลูกและการผลิตของท้องถิ่น ตลอดจนการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการปลูก และการผลิตกาแฟทั้งระบบ เพื่อให้ได้มาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) ที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ควบคู่กับการพัฒนาการปลูกกาแฟระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยพัฒนาแปลงสาธิตการปลูกกาแฟ ทั้งในรูปแบบเพื่อการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่ไม่เคยปลูกกาแฟมาก่อน และพื้นที่ที่มีการปลูกกาแฟดั้งเดิม เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2557 ที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และในปี 2564 นี้ได้ขยายผลไปสู่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก

ร่วมทุนกับ “โอ้กะจู๋” สนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่และเกษตรกรไทยหัวใจอินทรีย์

ในช่วงต้นปี 2564 โออาร์ เข้าลงทุนใน “โอ้กะจู๋” ภายใต้ บริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด ธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพของคนรุ่นใหม่ หรือที่หลายคนรู้จักกันดีกับร้านอาหารเทรนด์รักสุขภาพ ที่มาพร้อมคอนเซ็ปต์ Farm to Table ส่งวัตถุดิบตรงจากฟาร์มผักในพื้นที่ขนาดกว่า 200 ไร่ที่ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ ที่อำเภอสันทราย อำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

การเข้าร่วมลงทุนในครั้งนี้ช่วยสนับสนุนให้ โอ้กะจู๋ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ขยายสาขาไปแล้วรวมทั้งหมด 14 สาขา และมีช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่าน โออาร์ คือ การวางขายแบบ Grab & Go ใน Café Amazon 8 สาขาในกรุงเทพฯ และกำลังจะขยายอย่างต่อเนื่องในอนาคตถึง 22 สาขา

ทั้งนี้เงินทุนที่ได้จากการร่วมลงทุนของ โออาร์ ทำให้ โอ้กะจู๋ สามารถนำไปรองรับการขยายธุรกิจ เช่น การนำเทคโนโลยีสมาร์ต ฟาร์ม มาใช้ เพื่อทำให้ได้ผลผลิตที่สม่ำเสมอและมีคุณภาพ รวมถึงการสร้างครัวกลางที่จังหวัดเชียงใหม่ การสร้างศูนย์กระจายสินค้า รองรับการขยายสาขาไปยังภูมิภาคต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาโครงการส่งเสริมและพัฒนาชุมชน เช่น ศูนย์การเรียนรู้การปลูกผักแบบวิถีเกษตรอินทรีย์ สำหรับนักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจ และแผนช่วยเหลือเกษตรกร โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรที่ไม่มีช่องทางขายกับผู้บริโภคที่ต้องการผักอินทรีย์ ผ่านทางแอปพลิเคชั่นซื้อขายออนไลน์ที่ทางโอ้กะจู๋พัฒนาขึ้นเอง ช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกรอีกทาง

ไม่เพียงเท่านี้ โออาร์ ยังได้ร่วมทุนกับ Peaberry Thai ธุรกิจกาแฟครบวงจรภายใต้แบรนด์ Pacamara เพื่อรองรับการขยายเครือข่ายของร้าน Café Amazon นอกจากนี้ ยังลงทุนเพิ่มกับ Flash Group ผู้ให้บริการ E-Commerce สัญชาติไทยแบบครบวงจร เสริมศักยภาพเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านขนส่งและพลังงาน ร่วมกับ ORBIT Digital บริษัทคอนซัลต์ผู้ให้บริการที่ปรึกษาด้านการทำ Digital Transformation เสริมแกร่งศักยภาพด้านดิจิทัล ลุยนวัตกรรม IT และ Big Data รวมไปถึงตั้ง ORZON Ventures เป็น Venture Capital เพื่อเข้าลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพทั้งในไทยและประเทศในแถบเอเชีย รุกธุรกิจ New S-Curve และจับมือกับ อิ่มทรัพย์ โกลบอล คูซีน ผู้ดำเนินธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นแบรนด์ โคเอ็น พรีเมี่ยม บุฟเฟ่ต์ ร้านโอโนะ ซูชิ และร้านอาหารแบรนด์อื่นๆ  ขยายธุรกิจอาหารเสริมจุดแข็ง Non-oil เพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภค


Author

Content Partnership

Content Partnership