“ค้าปลีก” เผยคนไม่มีเงินตุนสินค้า ผลสำรวจ ธปท.เชื่อมั่นธุรกิจ-โอกาสฟื้นตัววูบ

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

“ค้าปลีก” เผยคนไม่มีเงินตุนสินค้า ผลสำรวจ ธปท.เชื่อมั่นธุรกิจ-โอกาสฟื้นตัววูบ

Date Time: 6 ส.ค. 2564 06:01 น.

Summary

  • พบว่าระดับการฟื้นตัวของธุรกิจในภาพรวมปรับลดลงจากเดือนก่อนทุกภาคธุรกิจตามการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศเป็นวงกว้าง

Latest

รอบรั้วการตลาด : Mega Clinic ทำ all-time high เปิดกลยุทธ์ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลสำรวจเรื่องผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจไทย (BSI COVID) ในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา โดยพบว่าระดับการฟื้นตัวของธุรกิจในภาพรวมปรับลดลงจากเดือนก่อนทุกภาคธุรกิจตามการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศเป็นวงกว้าง และมาตรการควบคุมที่กลับมาเข้มงวดอีกครั้ง โดยเฉพาะภาคก่อสร้างจากคำสั่งปิดแคมป์คนงาน การผลิตที่ถูกกดดันจากคลัสเตอร์โรงงานที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ภาคการค้าจากการจำกัดเวลา และลดการนั่งในร้าน การจ้างงานค่อนข้างทรงตัว ยกเว้นภาคท่องเที่ยวและก่อสร้างที่ปรับลดลง ขณะที่แรงงานบางส่วนเคลื่อนย้ายกลับภูมิภาค

ภาคธุรกิจเริ่มใช้นโยบายลดชั่วโมงทำงาน ขณะที่บางส่วนกลับมาลดเงินเดือน ทั้งนี้ การสำรวจฐานะการเงิน บางธุรกิจมีสภาพคล่องลดลง โดยเฉพาะท่องเที่ยว และภาคก่อสร้างที่มีสัดส่วนของธุรกิจที่สภาพคล่องไม่เกิน 3 เดือนเพิ่มขึ้น ภาคธุรกิจมองว่า ยังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวโดยประเมินว่าประชาชนจะเริ่มออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านและท่องเที่ยวตามปกติได้เมื่อมีจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่น้อยกว่า 50 รายต่อวัน และคาดว่าเกิดได้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2565

ขณะเดียวกัน ธปท.ยังได้รายงาน ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือน ก.ค.2564 ซึ่งจัดทำร่วมกับสมาคมผู้ค้าปลีกไทย โดยพบว่า ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกปรับลดลงมาก ทั้งภาวะปัจจุบันและอีก 3 เดือนข้างหน้า โดยอยู่ที่ 16.4 และ 27.6 ตามลำดับ จากการแพร่ระบาดที่รุนแรงขึ้น มาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวด และการกระจายวัคซีนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งนี้ ความเชื่อมั่น อยู่ต่ำกว่าเดือน เม.ย.2563 ที่มีการประกาศล็อกดาวน์ครั้งแรกในทุกมิติ โดยผู้ประกอบการ 90% ประเมินว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคปรับลดลงมากจากเดือนก่อน ทำให้ยังไม่เห็นพฤติกรรมเร่งกักตุน แม้จะมีการสั่งปิดห้างสรรพสินค้า และได้ประเมินแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคการค้าปลีกสู่ระดับปกติเลื่อนออกไปเป็นปี 2566 ล่าช้ากว่าที่เคยประเมินไว้อีก 1 ปี.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ