ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศที่ฟื้นตัวจากโรคโควิด-19 ในอันดับที่ 118 จาก 120 ประเทศทั่วโลก 'นิคเคอิ' ชี้โครงการวัคซีนในไทยดำเนินไปอย่างเชื่องช้า ปัญหาความเหลื่อมล้ำยังเรื้อรัง
สำนักข่าว นิคเคอิ เอเชีย รายงาน อันดับการฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด-19 ที่มีการจัดอันดับจาก 120 ประเทศทั่วโลก โดยมีการให้คะแนนจาก 0 ถึง 90 วัดจากปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ การบริหารในภาวะโรคระบาด โครงการฉีดวัคซีน และการเคลื่อนย้ายของประชาชนในแต่ละเดือน ซึ่งประเทศที่มีคะแนนสูงแสดงให้เห็นว่าประเทศนั้นๆ เข้าใกล้การฟื้นตัวจากวิกฤติโรคโควิด-19 และมีตัวผู้ป่วยโควิด-19 อยู่ในระดับต่ำรวมถึงมีอัตราการฉีดวัคซีนที่รวดเร็ว
ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับให้ที่มีการฟื้นตัวดีที่สุดในโลก 5 อันดับแรก คือ
1. จีน
2. มอลตา
3. โปแลนด์
4. อิตาลี
5. ออสเตรีย
118. ไทย
ในขณะที่ประเทศไทย ได้ถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 118 รั้งท้าย และได้คะแนนไป 26.6 แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีอัตราการฟื้นตัวจากโรคโควิด-19 ล่าช้ากว่าประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนเกือบทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ลาว ได้ถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 66, กัมพูชากับเวียดนาม อยู่ที่อันดับ 100, ฟิลิปปินส์อยู่ที่อันดับ 108 ส่วนอินโดนีเซีย อยู่อันดับที่ 110
ด้าน นิคเคอิชี้ว่า นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังคงมองสถานการณ์ในแง่ดี ว่าประเทศไทยจะสามารถเปิดประเทศได้ในเดือนตุลาคม การมองสถานการณ์ในแง่ดีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้นมาจากการสั่งซื้อวัคซีนและสัดส่วนประชากรของไทยที่จะได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดสภายในเดือนตุลาคม
ในทางกลับกันโครงการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของไทย ที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมนั้นดำเนินไปอย่างเชื่องช้า โดยเมื่อวันที่ 7 ก.ค 64 ที่ผ่านมา ได้มีการฉีดวัคซีน 10.7 ล้านโดสให้แก่ประชาชน ขณะที่ตัวเลขประชากรทั่วประเทศนั้นมี 70 ล้านคน
รายงานของ นิคเคอิ ชี้ว่า ประเทศไทย เวียมนาม และกัมพูชา เป็นประเทศที่มีตัวเลขผู้ป่วยในระดับต่ำก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัว พร้อมทั้งระบุต่อไปว่า ก่อนหน้านี้ประเทศไทยไม่พบการแพร่ระบาดในชุมชนอยู่หลายเดือน แต่การแพร่ระบาดได้กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ด้านสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงาน จีดีพี ของไทยในปี 2563 หดตัว 6.1 เปอร์เซ็นต์
ส่วนผู้สังเกตการณ์ให้สัมภาษณ์กับสัมภาษณ์นักข่าวว่าปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด-19 ในไทยนั้นเกิดจากรัฐบาลและระบบราชการที่เผชิญอุปสรรคในการทำความเข้าใจกับปัญหา นอกจากนี้ยังมีข่าวซุบซิบเกี่ยวกับการแซงคิวฉีดวัคซีน ซึ่งแสดงให้เห็นความเหลื่อมล้ำทางสังคม.