สมชัย CEO AIS ย้ำวันนี้ไทยต้องการวัคซีนโควิด ฉีดให้ครบจบในไตรมาส 2/64

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

สมชัย CEO AIS ย้ำวันนี้ไทยต้องการวัคซีนโควิด ฉีดให้ครบจบในไตรมาส 2/64

Date Time: 21 เม.ย. 2564 13:00 น.

Video

“ไทยรัฐ โลจิสติคส์” ถอดคราบ “ยักษ์เขียว” มุ่งสู่ขนส่งครบวงจร | Thairath Money Talk

Summary

  • สมชัย CEO แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ย้ำวันนี้ประเทศไทยต้องการ "วัคซีนโควิด" และต้องฉีดให้จบในไตรมาส 2/64 เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปในไตรมาสที่ 3

Latest


สมชัย CEO แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ย้ำวันนี้ประเทศไทยต้องการ "วัคซีนโควิด" และต้องฉีดให้จบในไตรมาส 2/64 เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปในไตรมาสที่ 3 แนะรัฐเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบยั่งยืน

เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 64 สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS เปิดเผยว่า หลังจากหอการค้าไทยได้มีการจัดประชุม 40 CEO ชั้นแนวหน้าของไทยเพื่อจัดหาวัคซีนโควิด-19 ช่วยรัฐบาลไปเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 64 ที่ผ่านมาถือเป็นเรื่องที่ดีที่เห็นภาคเอกชนประกาศสนับสนุนเพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวผ่านวิกฤติโควิดนี้ไปได้ ซึ่งเราก็เริ่มเห็นแนวโน้มว่ารัฐบาลก็เริ่มเปิดรับแนวคิดต่างๆ จากภาคเอกชน ในมุมมองของผมก็อยากให้เกิดแนวคิด 3 ประสานนั้นก็คือ รัฐบาล เอกชน และประชาชาชนจะต้องก้าวพ้นวิกฤติไปด้วยกัน

"รัฐบาลต้องมีความพร้อมในเรื่องของวัคซีนโควิด เพราะเราต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนเพื่อให้ไม่ให้เกิดการระบาดใหม่ในระลอกที่ 4 ที่ 5 ซึ่งหลายๆ ประเทศที่มีการฉีดวัคซีน รวมถึงงานวิจัยหลายแห่งก็พอสรุปได้ว่าวัคซีนจะทำให้การระบาดลดน้อยลง ส่วนของไทยเองต้องเร่งฉีดให้ครบ 70% และต้องเร่งฉีดให้ครบเสร็จสิ้นในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เพื่อให้กิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเดินต่อไปได้ในไตรมาสที่ 3 ที่สำคัญรัฐบาลเองต้องพร้อมในเรื่องมาตรการเยียวยาต่างๆ ที่ไม่ใช่แค่การแจกเงิน ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น แต่ควรเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบยั่งยืน เช่น การปรับโครงสร้างฟื้นฟูกิจการขนาดเล็ก หรือ SME"

ส่วนภาคเอกชนนั้นถือเป็น ภาคส่วนที่แข็งแรงอยู่แล้ว ที่ผ่านมาเราก็จะได้เห็นภาคเอกชนเข้าไปช่วยเหลือรัฐบาล และประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเงิน หรือช่วยเหลือในด้านต่างๆ แต่ผมก็อยากเห็นความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน เราไม่จำเป็นต้องทำแข่งกัน ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลสนาม ซึ่งมีอีกหลายๆ แห่งที่ยังขาดแคลนสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เราก็ไม่จำเป็นต้องทำซับซ้อนกัน

"ผมก็อยากฝากหลายๆ องค์กรขนาดใหญ่ วันนี้ปลาใหญ่ต้องช่วยเหลือปลาเล็ก ผ่อนคลายให้รายเล็กๆ ได้เติบโต และดำเนินธุรกิจต่อไปได้ท่ามกลางวิกฤติเช่นนี้ ซึ่ง AIS ในฐานะองค์กรด้านการสื่อสารก็พร้อมที่จะสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้คนตัวเล็กๆ ดำเนินธุรกิจต่อไปได้"

สมชัย กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้บริษัทได้อนุมัติเงิน 50 ล้านบาทติดต่อโรงพยาบาลเอกชนเพื่อให้ช่วยหาวัคซีนโควิด-19 ซึ่ง AIS อยากจะดูแลพนักงานประมาณ 1 หมื่นคนโดยมีค่าใช้จ่ายต่อหัวประมาณ 4 พันบาท เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคโควิด-19 ให้กับพนักงาน AIS แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับ ล่าสุดรัฐบาลตอบรับและอนุมัติแนวคิดเรื่องนี้แล้ว ซึ่งหากจัดหาวัคซีนได้เราก็พร้อมจะดูแลพนักงานของเราต่อไป

AIS 5G สู้ภัย COVID-19 ระลอก 3

สมชัย กล่าวอีกว่า AIS ได้นำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยเหลือ และสนับสนุนด้านการแพทย์ ดังนี้ 1. โรงพยาบาลสนาม ติดตั้งเครือข่าย AIS 5G ,4G, Free Wifi ในโรงพยาบาลสนามหลักกว่า 31 แห่ง มากกว่า 10,000 เตียง ทั่วประเทศ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น เชื่อมต่อระบบ CCTV เพื่อเฝ้าระวังผู้ป่วย, การส่งต่อข้อมูลการแพทย์ ตลอดจนให้ผู้ป่วยที่กักตัวสามารถสื่อสาร ติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวให้คลายความกังวล มีกำลังใจในการฟื้นฟูสุขภาพ

2. การแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine เทคโนโลยีที่ช่วยลดภาระการทำงานของแพทย์และพยาบาล ในการติดต่อสื่อสาร กับผู้ป่วย ที่ช่วยลดการสัมผัส และลดความแออัด โดยเบื้องต้นได้ร่วมกับแอปพลิเคชัน มีหมอ หรือ Me-More ให้บริการในโรงพยาบาลสนามในเครือกรุงเทพมหานคร

4. 5G AI อัจฉริยะ เดินหน้าร่วมมือกับราชวิทยาลัย จุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลเครือข่าย คือ โรงพยาบาลน่าน โรงพยาบาลร้อยเอ็ด และโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ โดยการนำ AI CT Scan ปอด เข้ามาให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยจะช่วยวิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์เชิงปริมาณจากการตรวจวินิจฉัยทางเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ปอดของผู้ป่วย เพื่อวิเคราะห์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและโซลูชันปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) กับแพลตฟอร์มที่ได้รับการเทรนจากข้อมูลของผู้ป่วยจริงในประเทศจีน

ทั้งนี้ เป็นการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างแม่นยำ รวดเร็ว และ สามารถวิเคราะห์ผลได้ภายในเวลาเพียง 25 วินาทีต่อ 1 เคส ความแม่นยำสูงสุดในการวินิจฉัยสูงถึง 96% นับว่ามีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง โดยนวัตกรรมนี้จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับความปลอดภัย ลดปริมาณการตรวจสารคัดหลั่ง ลดจำนวนชุดตรวจ COVID-19 ช่วยลดการใช้ PPE และแบ่งเบาภาระให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และช่วยให้บุคลากรหลายๆ ท่านสามารถกระจายตัวไปดูแลเคสผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น ที่สำคัญ เป็นการสร้างความเท่าเทียมในการได้รับโอกาสทางสาธารณสุข ผ่าน 5G ได้อย่างชัดเจน

5. อสม. AIS ยังคงเสริมขีดความสามารถของ อสม. อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมี อสม.มากกว่า 5 แสนรายที่ใช้งานแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ ช่วยในการรายงาน การคัดกรอง เฝ้าระวัง รวมถึงติดตามผลในกลุ่มเสี่ยง รวมถึงสำรวจสุขภาพจิตจากความเครียดที่มาจากผลกระทบของ COVID-19 โดยเฉพาะในช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ที่มีการเดินทางกลับบ้านของคนเมือง ยิ่งจะทำให้การทำงานของ อสม.ต้องยิ่งมีความเข้มข้นขึ้นมากกว่าเดิมอีกด้วย


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ