บีโอไอทำศูนย์แพทย์ครบวงจร ปักธงดันไทยสู่ Medical Hub รับความสำเร็จระบบสาธารณสุข

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

บีโอไอทำศูนย์แพทย์ครบวงจร ปักธงดันไทยสู่ Medical Hub รับความสำเร็จระบบสาธารณสุข

Date Time: 2 ธ.ค. 2563 08:40 น.

Summary

  • เป้าหมายของบีโอไอต้องการผลักดันให้ประเทศไทยเกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการแพทย์ เพื่อตอบโจทย์การผลักดันให้ประเทศไทย

Latest

รอบรั้วการตลาด : Mega Clinic ทำ all-time high เปิดกลยุทธ์ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า เป้าหมายของบีโอไอต้องการผลักดันให้ประเทศไทยเกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการแพทย์ เพื่อตอบโจทย์การผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติและการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) ในอาเซียน เพราะหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เห็นว่าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 มีแนวโน้มการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการแพทย์, กิจการเทคโนโลยีชีวภาพ, กิจการบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ และนับตั้งแต่ปี 61 จนถึงเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา มีคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 รวม 209 โครงการมูลค่า 56,436 ล้านบาท

สำหรับกิจการในกลุ่มการแพทย์มีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนเฉลี่ยปีละ 30 โครงการ และในระยะ 9 เดือนแรก ปีนี้มียอดขอรับการส่งเสริม กิจการกลุ่มการแพทย์รวม 65 โครงการ โดยเป็นผลพวงจากโควิด-19 ทำให้อุตสาหกรรมกลุ่มนี้ได้รับความนิยมในการลงทุน และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2564

“การเป็น Medical Hub บีโอไอไม่ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะให้คนต่างชาติมารักษาโรคต่างๆ เพียงเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญคือเราต้องพึ่งพาตนเองให้ได้ก่อนในระดับหนึ่ง เพราะเมื่อเกิดโควิด-19 ต้นปี ประเทศไทยขาดแคลนหน้ากากอนามัย ทำให้บีโอไอต้องไปเจรจากับผู้ผลิตที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอให้เขานำมาขายในประเทศก่อนจึงจะส่งออกได้ ตามเงื่อนไขของบีโอไอ จากนั้นทำให้ต้องหันกลับมาพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุดเพราะเมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19 แม้มีเงินก็หาซื้อหน้ากากอนามัยไม่ได้ บีโอไอจึงต้องหามาตรการส่งเสริมกิจการใหม่ๆเข้ามาต่อยอดอุตสาหกรรมการแพทย์ให้มากขึ้น และต้องพยายามส่งเสริมแบบครบวงจร ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบไปจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป”

นางสุธีรา เดชคุณวุฒิ ประธานกรรมการบริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ตอัพสัญชาติไทยที่ได้รับการบ่มเพาะจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) และได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอในกิจการเทคโนโลยีชีวภาพในการวิจัยและพัฒนาเพื่อการผลิตที่ใช้เซลล์พืช กล่าวว่า บริษัทได้ทดลองผลิตโปรตีนตัดแต่งจากการใช้ใบยาสูบสายพันธุ์ออสเตรเลีย เพื่อเป็นแหล่งผลิตโปรตีนแบบชั่วคราวเป็นรายแรกในประเทศไทยที่ใช้ใบยาสูบเป็นเจ้าบ้าน หรือที่เรียกว่า Host และเพาะเลี้ยงโปรตีนตัดแต่งที่มียีนเป้าหมายเพื่อสกัดโปรตีนที่ได้ออกจากใบของต้นยาสูบและทำให้บริสุทธิ์ เพื่อจำหน่ายเป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับอุตสาหกรรมยา และเครื่องสำอาง.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ