เอกชนผนึกกำลังหาแนวร่วมสร้าง "กรีนซัพพลาย" ลดขยะพลาสติกช่วยสิ่งแวดล้อม

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เอกชนผนึกกำลังหาแนวร่วมสร้าง "กรีนซัพพลาย" ลดขยะพลาสติกช่วยสิ่งแวดล้อม

Date Time: 21 ต.ค. 2563 10:43 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • ไทยเวิลด์แวร์ โพลีโพรดักส์ ร่วมกับ IRPC และเครือเบทาโกร ถกทางออกปัญหาขยะพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์อาหาร เพื่อปลุกระดมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

Latest


ไทยเวิลด์แวร์ โพลีโพรดักส์ ร่วมกับ IRPC และเครือเบทาโกร ถกทางออกปัญหาขยะพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์อาหาร เพื่อปลุกระดมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม  

ประเสริฐ ไตรจักรภพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเวิลด์แวร์ โพลีโพรดักส์ จำกัด ภายใต้กลุ่มศรีเทพไทย เปิดเผยว่า ในฐานะผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารแบบใช้ครั้งเดียว (Single Use) ที่จัดจำหน่ายให้กับองค์กร และบริษัทชั้นนำของไทย ตระหนักและให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด

ล่าสุด บริษัทตอบรับนโยบายภาครัฐโดยการยกเลิกการผลิตถุงพลาสติก แต่ยังมีหลายผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถเลิกการใช้ได้ ไทยเวิลด์แวร์โพลีโพรดักส์ ในฐานะผู้ผลิตที่มุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมและแสดงจุดยืนต่อการรับผิดชอบจากปัญหาขยะพลาสติกที่เกิดขึ้น จึงได้ร่วมมือกับ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ในฐานะซัพพลาย Raw Material ซึ่งเป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกให้กับบริษัท

รวมถึงเครือเบทาโกรในฐานะลูกค้าที่นำบรรจุภัณฑ์อาหารมาบริการผู้บริโภคเพื่อให้อาหารมีความปลอดภัย มาร่วมหาแนวทางการแก้ไข โดยมุ่งหวังว่าเวทีการแลกเปลี่ยนนี้จะเป็นการจุดประกายให้ภาคเอกชนมีความตื่นตัวต่อการรับผิดชอบปัญหาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว โดยมีแนวทางการจัดการ 2 ส่วน

ส่วนแรก คือการพัฒนากระบวนการผลิต โดยใช้วัตถุดิบในการผลิตให้น้อยลง และทำให้แข็งแรงขึ้น เพื่อลดปริมาณพลาสติก ส่วนที่สอง คือการเลือก Raw Material จากซัพพลายเออร์ที่มีนวัตกรรมในการนำพลาสติกชีวภาพมาทดแทน ซึ่งเรามองว่าทาง IRPC ไม่ได้มีเพียงนวัตกรรม แต่ยังมีกระบวนการจัดการขยะพลาสติก ทั้งขยะจากอุตสาหกรรม และขยะจากหลังจากที่ผู้บริโภคได้นำไปที่อย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ สอดคล้องกับนโยบายของบริษัท ที่เชื่อว่าการจัดการปัญหาขยะพลาสติกอย่างจริงจังนั้น ต้องให้มูลค่ากับการจัดการหลังนำไปใช้ ดังนั้นจึงมองว่าเราไม่ได้เพียงซื้อเม็ดพลาสติกจาก IRPC แต่เราซื้อความรับผิดชอบในการจัดการขยะด้วย


นอกจากนี้บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับแนวทาง EPR (Extended Producer Responsibility) ที่พร้อมรับผิดชอบขยะพลาสติก ตลอดกระบวนการผลิตทั้งหมด รวมทั้งยินดีสนับสนุน ตลอดจนเข้าร่วมแคมเปญด้านการจัดการขยะ และในอนาคตบริษัทอยากรวมกลุ่มเพื่อสร้างกรีนซัพพลายเชน เพื่อสนับสนุนลูกค้า ที่ต้องการหาซัพพลายที่ตอบโจทย์ทั้งด้านคุณภาพการใช้งานและมีความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ที่กลายเป็นขยะจากการบริโภค

นพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC กล่าวว่า เรามุ่งมั่นในการขับเคลื่อนนโยบายด้านความยั่งยืนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุล โดยปลูกฝังเข้าไปในวิถีการทำงานของบุคคลากรของ IRPC (ispirit) และขยายผลไปยังคู่ค้าและลูกค้า

ทั้งนี้ เราคำนึงถึงหลักการ human centric เพื่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในสังคม ผ่านการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาจนได้นวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ โดยไม่ละเลยการตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

นพดล กล่าวอีกว่า ในฐานะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี IRPC ได้ดำเนินการจัดการปัญหาขยะพลาสติก ซึ่งเป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญของอุตสาหกรรมพลาสติกไทย โดยริเริ่มโครงการ Eco Solution หรือ โมเดลต้นแบบการจัดการขยะพลาสติกตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นหลังการใช้งาน เพื่อให้เกิดการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานแบบ Close Loop ไม่ทำให้ขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตออกนอกระบบไปเป็นภาระแก่ชุมชนและสังคม

โดยมีการรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลที่อยู่ในอุตสาหกรรมพลาสติก เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการและนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยร่วมมือกันในการสร้างสรรค์ ออกแบบ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้วัตถุดิบที่มาจากขยะพลาสติกหรือเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ซึ่งพร้อมที่จะนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

จนกลายเป็นสังคม Zero Plastic Waste โครงการดังกล่าวนี้ได้รับความร่วมมือจากลูกค้าผู้ประกอบการในซึ่งอุตสาหกรรมพลาสติกระดับประเทศ 15 ราย ซึ่ง บริษัทไทยเวิลด์แวร์ฯ ก็เป็นหนึ่งในพันธมิตรที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ด้วย

นอกจากนี้ IRPC เอง ยังได้คิดค้นวิจัยและพัฒนาเม็ดพลาสติกชนิดใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ Pararene ซึ่ง เป็นพลาสติกชนิด bio-based polystyrene grade ที่ประกอบด้วยวัสดุธรรมชาติ 20% เพื่อลดการใช้วัสดุที่เป็น oil-based ในกระบวนการผลิต และยังสามารถนำมารีไซเคิลได้ 100%

"เรื่องของความยั่งยืนนั้น การทำคนเดียวมันไม่ใช่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง ต้องขยายไปสู่ห่วงโซ่อุปทานรวมถึงลูกค้าและคู่ค้า ตั้งแต่ต้นน้ำไปยัง end product เพื่อส่งต่อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสู่ผู้บริโภค โดยใช้องค์ความรู้ และนวัตกรรมของเราให้เกิดประโยชน์สูงสุด"

ดร.นุกูล เอื้อพันธเศรษฐ ผู้อำนวยการวิจัยและพัฒนา หน่วยงานวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ บริษัทศูนย์วิทยาศาสตร์ เบทาโกร จำกัด กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ได้ส่งผลให้ผู้บริโภคตระหนักถึงคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารยิ่งขึ้น รวมถึงให้ความใส่ใจกับการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ทั้งการเข้าครัวเพื่อทำอาหารรับประทานเอง และสั่งเดลิเวอรี (Delivery)

ทั้งหมดนี้ส่งผลเชิงบวกต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศบางส่วนให้ยังคงดำเนินต่อไปได้ เครือเบทาโกรในฐานะผู้ผลิตอาหารชั้นนำของประเทศได้ตระหนักถึงหน้าที่สำคัญในการรักษาปลอดภัยของห่วงโซ่การผลิตอาหารอย่างสูงสุด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบด้าน Food Supply ในวงกว้าง

นอกจากนี้ จากแนวโน้มความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เครือเบทาโกรจึงตระหนักถึงความปลอดภัยในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ตลอดช่วงอายุ (Green Value Chain)

โดยความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์ที่มีส่วนในการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารทั้งด้านความสะอาด ความสดใหม่ และรสชาติ ตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบ การผลิต การเลือกใช้เทคโนโลยี การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การแยกขยะบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค

รวมถึงการบริหารจัดการขยะบรรจุภัณฑ์อย่างเป็นระบบครบวงจร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่จะสำเร็จขึ้นได้จากความร่วมมือกันทั้งในเชิงกลยุทธ์และเชิงปฏิบัติการณ์ของภาครัฐและเอกชนทุกฝ่าย เกี่ยวข้องใน Green Supply Chain นี้

สำหรับการเข้าร่วมโครงการสร้างกรีนซัพพลายเชนครั้งนี้ ทางเบทาโกรสนใจศึกษา Green Packaging Technology และคัดเลือก Green Packaging Supplier ที่เหมาะสมต่อผลิตภัณฑ์ของเครือเบทาโกรในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการมีส่วนร่วมกับคู่ค้าใน Green Supply Chain

ทั้งนี้ เพื่อสื่อสารเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมให้กับผู้บริโภคในวงกว้างเพื่อสร้างความตระหนักรู้และการปลูกจิตสำนึก ซึ่งเครือเบทาโกร คาดหวังว่าจากความร่วมมือครั้งนี้จะก่อให้เกิด Green Ecosystem อย่างเป็นรูปธรรมที่ส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ สังคม และชุมชนอย่างแท้จริงต่อไป


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ