ตลาดแรงงานซบถึงปี 64 10 วิถีใหม่ลูกจ้างต้องปรับตัวให้อยู่รอด

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ตลาดแรงงานซบถึงปี 64 10 วิถีใหม่ลูกจ้างต้องปรับตัวให้อยู่รอด

Date Time: 19 ต.ค. 2563 07:01 น.

Summary

  • สภาองค์การนายจ้างส่งสัญญาณ 10 วิถีใหม่ลูกจ้าง ต้องเร่งปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงหลังโควิดที่ทุกองค์กรลดขนาด ลดจ้างงาน รองรับตลาดและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ยันตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัวจนถึง

Latest

รอบรั้วการตลาด : Mega Clinic ทำ all-time high เปิดกลยุทธ์ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย

สภาองค์การนายจ้างส่งสัญญาณ 10 วิถีใหม่ลูกจ้าง ต้องเร่งปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงหลังโควิดที่ทุกองค์กรลดขนาด ลดจ้างงาน รองรับตลาดและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ยันตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัวจนถึงไตรมาสแรกปี 64 ย้ำหลายอาชีพจะหายไป แรงงานต้องปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลภายใต้ทักษะใหม่

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้าง ผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มการจ้างงานของผู้ประกอบการ ยังชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจไปอย่างน้อยจนถึงไตรมาสแรกปี 64 เพราะขณะนี้ ภาคการผลิตมีการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยเพียง 60.8%เท่านั้น แม้จะดีขึ้นแต่เป็นกำลังการผลิตที่ยังเหลืออยู่ จึงยังไม่ส่งผลให้เกิดการจ้างงานใหม่อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น ผลกระทบโควิด-19 ทำให้ลูกจ้างต้องปรับตัวรับกับวิถีใหม่ “แม้รัฐบาลมีมาตรการดูดซับแรงงานตกงาน เช่น งาน Expo Thailand 2020 และการจ้างงานเด็กจบใหม่ ซึ่งช่วยไม่ให้คนตกงานหรือชะลอการเอาคนออก แต่ไม่อาจทำให้การจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้นมากนัก เพราะกำลังผลิตยังเหลืออยู่มาก ทำให้นายจ้างลดขนาดองค์กร”

สำหรับวิถีใหม่ของลูกจ้างที่ต้องเปลี่ยนไปมี 10 ด้านได้แก่ 1.อุปสงค์ของตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัว ทําให้แรงงานใหม่และผู้ที่ตกงานหางานได้ลําบาก ส่วนผู้มีงานทํา ก็มีความเสี่ยง 2.หลังโควิด-19 หลายอาชีพจะเปลี่ยนไปหรือหายไป รวมถึงแรงงานสูงวัย 3.แรงงานต้องปรับตัวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เพราะนายจ้างส่วนใหญ่เร่งนําเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ-ลดต้นทุน-เพิ่มผลผลิต-เพิ่มความสามารถการแข่งขัน ประกอบกับการลงทุนใหม่ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจึงทำให้ใช้แรงงานน้อยลง

4.ความท้าทายของแรงงานภายใต้ทักษะใหม่ เนื่องจากประสบการณ์ความรู้และทักษะที่มีอยู่เดิม จะมีความต้องการลดลงหรือไม่ต้องการเลย เพราะมีการใช้หุ่นยนต์มากขึ้นทำให้ต้องการคนน้อยลง ทักษะที่ไม่มีประโยชน์หลายอาชีพจะหายไป 5.ทุกอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอนาล็อกกําลังถูกคุกคาม จากดิจิทัลในรูปแบบออนไลน์ อาชีพ Face to Face ถูกแทนที่ด้วยออนไลน์ 6.งานที่ไม่ต้องเข้าสํานักงานกําลังอยู่ในกระแส โดยมีแนวโน้มการจ้างงานแบบไม่ต้องเข้าสํานักงานสําหรับบางหน้าที่

7.อาชีพใหม่ของอนาคตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้งานที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงจะมีอัตราเร่งตัวขึ้น 8.การทำงานเต็มเวลา จะกลายเป็นงานฟรีแลนซ์-พาร์ตไทม์ หรือทำงานที่บ้านมากขึ้น และมีค่าจ้างรายชั่วโมง 9.อาชีพดั้งเดิมยังคงอยู่ เฉพาะอาชีพที่ใช้ทักษะร่างกายเป็นองค์ประกอบสําคัญของการทํางาน เช่น อุตสาหกรรมบางประเภทที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาทดแทนคน งานที่เกี่ยวกับคนขับรถ, หมอนวด, ลูกจ้างในบ้าน, เสริมความงาม, งานที่เกี่ยวกับศิลปะ, วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง, งานแบกหาม, งานก่อสร้าง, งานที่ทําในภาคเกษตร, ประมง เป็นต้น 10.ความไม่แน่นอน
ของการลงทุนใหม่และการย้ายฐานการผลิต ที่ไทยอาจไม่ใช่แหล่งลงทุนในฝันเหมือนในอดีต เพราะขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง เช่น แรงงานหายาก, ต้นทุนสูง, สังคมสูงวัย, ปัญหาการเมืองในประเทศ, การลงทุนใหม่มาพร้อมกับเทคโนโลยีและทักษะใหม่ ซึ่งใช้แรงงานน้อย.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ