สวทช. เยี่ยมชมผู้ประกอบการเครื่องปั้นดินเผา หนุนใช้โปรแกรม ITAP

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

สวทช. เยี่ยมชมผู้ประกอบการเครื่องปั้นดินเผา หนุนใช้โปรแกรม ITAP

Date Time: 14 ก.ค. 2563 22:16 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • สวทช. เยี่ยมชมผู้ประกอบการเครื่องปั้นดินเผาในโคราช ที่ได้รับการสนับสนุนจากโปรแกรม ITAP เครือข่าย มทส. ในการพัฒนานวัตกรรม

สวทช. เยี่ยมชมผู้ประกอบการเครื่องปั้นดินเผาในโคราช ที่ได้รับการสนับสนุนจากโปรแกรม ITAP เครือข่าย มทส. ในการพัฒนานวัตกรรม

เมื่อวันที่ 14 ก.ค.63 ดร.นันทิยา วิริยบัณฑร ผู้อำนวยการโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ผู้ประกอบการ SME มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานของไทยเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม SME มักจะเติบโตได้ช้า ด้วยความไม่พร้อมในหลายด้าน ดังนั้น การนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้อย่างตรงจุด จะช่วยเร่งการเติบโตของผู้ประกอบการ SME ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โจทย์ส่วนใหญ่ที่ SME ไทยต้องการการสนับสนุน ได้แก่ การพัฒนากระบวนการผลิต การลดต้นทุน การพัฒนามาตรฐาน การนำเทคโนโลยีต่าง ๆไปช่วยแก้ปัญหา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ตลาด เป็นต้น

"สวทช. ได้ดำเนินโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation and Technology Assistance Program: ITAP-ไอแทป) มามากกว่า 20 ปีแล้ว เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือ SME ไทยอย่างรอบด้าน โดย ITAP มีภารกิจหลักคือ การรับโจทย์ความต้องการเบื้องต้นจากผู้ประกอบการ และสรรหาผู้เชี่ยวชาญด้านที่ตรงกับโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ เข้าไปให้คำปรึกษาเชิงลึกถึงในโรงงาน ทำให้ SME ไทยซึ่งโดยมากไม่มีหน่วยวิจัยพัฒนาอยู่ในบริษัท สามารถนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมไปใช้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และกระบวนการได้"ดรนันทิยากล่าว

ผอ.โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีฯ กล่าวด้วยว่า ทุกโครงการที่ทำงานกับอุตสาหกรรมจะมีที่ปรึกษาเทคโนโลยี (Industrial Technology Advisor) หรือ ITA ช่วยดูแลบริหารจัดการโครงการเพื่อให้สามารถตอบโจทย์ให้กับ SME แต่ละรายได้อย่างเหมาะสม อีกทั้ง โปรแกรม ITAP ยังเปิดบริการให้แก่ผู้ประกอบการทุกวันทำการ เปิดตลอดปี ปัจจุบัน ITAP มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศถึง 20 แห่ง โดย ITAP เครือข่าย มทส. เป็นหนึ่งในครอบครัว ITAP ที่ช่วยกันสนับสนุน SME ไทยให้เติบโตมาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นโปรแกรม
ที่ผ่านมาโปรแกรม ITAP ได้ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทยมาแล้วมากกว่า 10,000 โครงการ และทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ จากมหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 1,500 ราย โปรแกรม ITAP พร้อมช่วยสนับสนุน SME ไทยในการปรับตัวสู่ยุค New Normal ผู้ประกอบการที่ต้องการการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถติดต่อเข้ามาใช้บริการโปรแกรม ITAP สวทช. ได้ทุกเครือข่ายทั่วประเทศไทย

ด้าน ผศ.ดร.อนุรัตน์ ภูวานคำ ผู้เชี่ยวชาญโปรแกรม ITAP เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) และอาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเซรามิก มทส. กล่าวว่า โปรแกรม ITAP เครือข่าย มทส. ได้ให้ความช่วยเหลือห้างหุ้นส่วนจำกัด โคราชแสงสุวรรณพ็อตเทอร์รี่ ในด้านเป็นตัวกลางที่สำคัญในการประสานงานระหว่าง สวทช. ผู้ประกอบการ และ ผู้เชี่ยวชาญ ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการ โดยการสนับสนุนผู้ประกอบการห้างหุ้นส่วนจำกัด โคราชแสงสุวรรณพ็อตเทอร์รี่ สามารถพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนแบบใหม่ อันเป็นผลจากการผสมผสานกันระหว่างภูมิปัญญาชาวบ้านกับเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมเซรามิกที่ทันสมัย เกิดโครงการพัฒนานวัตกรรมให้ผู้ประกอบการเครื่องปั้นดินเผาที่ทำงานร่วมกับโปรแกรม ITAP เครือข่าย มทส. ด้วยกันทั้งสิ้น 5 โครงการ ได้แก่

โครงการที่ 1 : การปรับปรุงกระบวนการเตรียมดินเพื่อลดปริมาณผลิตภัณฑ์ดินเผาที่เสียหายจากปัญหามลทินในดิ โครงการที่ 2 : การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการเปลี่ยนกระบวนการเผาจากเตาฟืนเป็นเตาแก๊ส โครงการที่ 3 : การพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตสำหรับโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผ โครงการที่ 4 : การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผลิตภัณฑ์ด่านเกวียนโดยการเปลี่ยนกระบวนการอบแห้งจากการผึ่งลมตามธรรมชาติเป็นเตาอบเชิงอุตสาหกรรม โครงการที่ 5 : การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการปรับปรุงกระบวนการเผาผลิตภัณฑ์ด้วยเตาฟืน

ขณะที่ น.ส.ทศพร คลังบุญครอง กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด โคราชแสงสุวรรณพ็อตเทอร์รี่ กล่าวว่า "โคราช แสงสุวรรณ" เริ่มจากการทำเป็นอาชีพเสริม โดยการจัดหาสินค้าประเภทเครื่องปั้นดินเผาให้ตัวแทนที่รับไปส่งออกอีกทอดหนึ่ง เมื่อเห็นแนวโน้มธุรกิจไปได้ดี จึงได้สร้างโรงงานเพื่อที่จะทำการส่งออกเอง เราให้ความสำคัญกับด้านการตลาด คือการหาลูกค้า เราออกงานแสดงสินค้าที่ต่างประเทศทุกปี เป็นเวลา 20 โดยมีกระบวนการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ 1. การเตรียมวัตถุดิบ (ดิน) 2. การอบชิ้นงาน และ 3. การเผาชิ้นงาน

สำหรับมุมมองต่อทิศทางหรือตลาดของอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาทั้งในและต่างประเทศ เห็นว่า ในส่วนของประเทศ อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผายังสามารถเติบโตไปได้อีกมาก เพราะเป็นสินค้าที่สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่นำไปตกแต่งสวน ไปจนถึงการนำไปใส่ตู้โชว์ ขณะที่ตลาดในต่างประเทศ ยังเป็นที่สนใจของลูกค้าจำนวนมาก ด้วยเอกลักษณ์ของงานทำมือ ที่สามารถสร้างความแตกต่างในด้านการตลาด และยังสามารถสร้างความยืดหยุ่นในแง่การผลิตได้ดีอีกด้วย.




Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ