การบินพลเรือนเทหมดหน้าตักอุ้มสายการบิน

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

การบินพลเรือนเทหมดหน้าตักอุ้มสายการบิน

Date Time: 23 มิ.ย. 2563 08:30 น.

Summary

  • คณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ได้มีมติเห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบของสายการบินจากโควิด-19 ระยะที่ 2 ด้วยการยกเว้นค่าธรรมเนียมที่เก็บอากาศยาน (Parking Charge) ของสายการบิน

Latest

รอบรั้วการตลาด : Mega Clinic ทำ all-time high เปิดกลยุทธ์ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ได้มีมติเห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบของสายการบินจากโควิด-19 ระยะที่ 2 ด้วยการยกเว้นค่าธรรมเนียมที่เก็บอากาศยาน (Parking Charge) ของสายการบิน จากเดิมมาตรการลดค่าธรรมเนียมเพียง 50% ให้ทุกสายการบินที่เข้ามาจอดเครื่องบิน ซึ่งมาตรการช่วยเหลือใหม่จะให้จอดฟรี ในทุกสายการบินที่ไม่สามารถทำการบินได้ โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่ช่วงระยะเวลาที่สายการบินหยุดทำการบิน และจอดตั้งแต่เกิดวิกฤติโควิด-19 จนเหตุการณ์คลี่คลาย

“ที่ประชุมยังให้เพิ่มจำนวนประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ทำการบินเข้า-ออก ประเทศไทยจากเดิม ประเทศไทยลดค่าธรรมเนียมการจอดเครื่องบิน และ ค่าธรรมเนียมการขึ้นลง สนามบิน ลด 50% จากเดิม 11 ประเทศ คือเกาหลีใต้ , จีน, เขตบริหารพิเศษมาเก๊า, เขตบริหารพิเศษฮ่องกง, อิตาลี, อิหร่าน, มาเลเซีย, กัมพูชา, ลาว, อินโดนีเซีย พม่า ให้ขยายเป็นทุกประเทศที่เข้า-ออกประเทศไทยให้ได้รับมาตรการช่วยเหลืออย่างเท่าเทียมกัน”

ขณะเดียวกัน ยังได้มีมติให้ตามที่ กพท.ขออนุมัติขยายเวลาการจัดเก็บค่าธรรมเนียม การกำกับดูแลของ กพท.ที่สายการบินที่ทำการบินเข้าออก ประเทศไทย ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับ กพท.จำนวน 15 บาท/คน จากเดิมต้องจ่ายให้กับ กพท. ภายใน 15 วัน ทำการหากเกิน ต้องเสียค่าปรับ ก็ให้ขยายเป็นจ่ายภายใน 90 วันทำการแทนโดยที่ไม่ต้องค่าปรับเกินเวลา

ทั้งนี้ กรมท่าอากาศยาน (ทย.) ที่กำกับดูแลสนามบินภูมิภาค 29 แห่ง ในช่วงโควิด-19 ทำให้ ทย.ไม่สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน เข้ากองทุนหมุนเวียนกรมท่าอากาศยานได้ ที่ประชุมได้ให้ ทย. ที่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงและสูญเสียรายได้ ไปประเมินตัวเลขที่จะขอรับความชดเชยจากภาครัฐ

สำหรับบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ที่เป็นผู้บริหารจัดการจราจรทางอากาศเครื่องบินที่ทำการบิน เข้า-ออกประเทศทั้งหมด ได้ขอให้ กบร. โดยกระทรวงคมนาคม จัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และให้ภาครัฐเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ เพื่อมาเสริมสภาพคล่อง เนื่องจากช่วงที่เกิดโควิด-19 ไม่มีสายการบินต่างประเทศ บินเข้าออกประเทศไทย และสายการบินในประเทศก็ยกเลิกเที่ยวบิน แม้ว่า บวท.จะลดค่าธรรมเนียมลง 20% แล้วก็ตาม.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ