จับตาก้าวสำคัญ การบินไทย เพื่อความอยู่รอด ยื่นศาลล้มละลาย ฟื้นฟูกิจการ

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

จับตาก้าวสำคัญ การบินไทย เพื่อความอยู่รอด ยื่นศาลล้มละลาย ฟื้นฟูกิจการ

Date Time: 19 พ.ค. 2563 19:17 น.

Video

“ไทยรัฐ โลจิสติคส์” ถอดคราบ “ยักษ์เขียว” มุ่งสู่ขนส่งครบวงจร | Thairath Money Talk

Summary

  • ทิศทางของการบินไทย สายการบินแห่งชาติของไทย มีพนักงาน 2 หมื่นกว่าคน จะเป็นอย่างไรเมื่อต้องแบกภาระหนี้เรื้อรังมากถึง 2.44 แสนล้านบาท

Latest


ทิศทางของการบินไทย สายการบินแห่งชาติของไทย มีพนักงาน 2 หมื่นกว่าคน จะเป็นอย่างไรเมื่อต้องแบกภาระหนี้เรื้อรังมากถึง 2.44 แสนล้านบาท ยิ่งมาเจอพิษโควิดซ้ำเติมอีก คงไปต่อไม่ไหวในภาวะรายได้หด ค่าใช้จ่ายสูงลิ่ว และมีเครื่องบินอีก 103 ลำ ที่มีต้นทุนสูงในการซ่อมบำรุงรักษา

  • หนึ่งในข้อเสนอ ให้กระทรวงการคลังเข้าไปค้ำประกันเงินกู้ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้การบินไทย วงเงิน 50,000 กว่าล้านบาท ได้ถูกปัดตกไป และเป็นไปตามคาดเมื่อที่ประชุม ครม.19 พ.ค. มีมติเห็นชอบให้การบินไทย ยื่นต่อศาลล้มละลายกลาง เพื่อเข้าสู่กระบวนการพื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 คาดว่าในเดือน มิ.ย.หรือเดือน ก.ค.นี้

  • สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับการบินไทย ไม่ใช่เป็นการล้มละลาย หรือถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ อย่างที่หลายคนเข้าใจสับสน แต่เป็นการปรับโครงสร้างหนี้โดยอาศัย พ.ร.บ.ล้มละลาย ในการฟื้นฟูกิจการตามขั้นตอนต่างๆของกฎหมาย และระหว่างการฟื้นฟูกิจการยังสามารถประกอบธุรกิจตามปกติต่อไปได้ ทั้งการขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า

  • ก่อนยื่นขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง ทางกระทรวงการคลังอาจลดการถือหุ้นการบินไทย จากเดิมที่ถือหุ้น 51% จะลดลง 3% หรือเหลือ 48% โดยให้กองทุนวายุภักษ์เข้ามาถือหุ้นแทน เพื่อให้พ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ ทำให้การฟื้นฟูกิจการมีความคล่องตัว นำไปสู่การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และอาจมีผู้บริหารจากภายนอกมาร่วมดำเนินการ 

  • ในประเด็นการลดสัดส่วนถือหุ้นในการบินไทยของกระทรวงการคลัง ต้องติดตามต่อไป เพราะล่าสุดสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย ได้ออกมาคัดค้านอ้างว่าอาจส่งผลให้เจ้าหนี้ยื่นคัดค้านการร้องขอต่อศาลในการขอฟื้นฟูกิจการ และทำลายความเชื่อมั่นของการบินไทย ส่งผลทำให้สหภาพแรงงานฯ ถูกยุบไปตามกฎหมาย และทำให้พนักงานไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน



  • เนื่องจากการบินไทยมีทรัพย์สินอยู่ต่างประเทศด้วย นอกจากยื่นศาลล้มละลายในไทยแล้ว ต้องยื่นต่อศาลสหรัฐฯ ขอฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลาย บทที่ 11 หรือ Chapter 11 เพื่อให้มีการคุ้มครองหยุดพักชำระหนี้ทั้งหมด ให้ครอบคลุมเจ้าหนี้รายใหญ่ทุกประเทศ ไม่ให้กระทบต่อการให้บริการเส้นทางการบินระหว่างประเทศ เพราะการบินไทยต้องดำเนินกิจการต่อไป ไม่ให้เสี่ยงต่อการถูกยึดเครื่องบิน

  • แผนฟื้นฟูการบินไทยมีตัวอย่างให้เห็นจากสายการบิน “เจแปน แอร์ไลน์” เคยประสบปัญหาหนี้สินสะสมก้อนใหญ่ ต้องยื่นล้มละลายต่อศาลกรุงโตเกียวในปี 2553 และสามารถยื่นแผนและออกจากการฟื้นฟูได้ในระยะเวลาเพียง 14 เดือน หรือกรณีสายการบินยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ “อเมริกัน แอร์ไลน์” ขาดทุนมากว่า 10 ปี และมาเจอวิกฤติช่วงเหตุการณ์ 9/11 โศกนาฏกรรมตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ได้ทำแผนฟื้นฟูลักษณะเดียวกัน และใช้เวลา 3 ปี ในการฟื้นฟูจนกลับมาผงาดขึ้นมาได้อีก หวังว่าการบินไทยจะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งเช่นเดียวกัน.

Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ