ตลาดนัดหัวเขียว : ร้านกาแฟปรับตัวรับชีวิตวิถีใหม่

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ตลาดนัดหัวเขียว : ร้านกาแฟปรับตัวรับชีวิตวิถีใหม่

Date Time: 9 พ.ค. 2563 05:00 น.

Summary

  • หลังจากรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการให้ธุรกิจบางกลุ่มสามารถกลับมาเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้อีกครั้ง ร้านกาแฟนอกศูนย์การค้าเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เปิดบริการลูกค้าได้

Latest

“จังซีลอน” ส่งแองเจิ้ลบอยฉลองปีใหม่

หลังจากรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการให้ธุรกิจบางกลุ่มสามารถกลับมาเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้อีกครั้ง ร้านกาแฟนอกศูนย์การค้าเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เปิดบริการลูกค้าได้นางสาวณญาดา วรรณวิไชย ผู้อำนวยการ ฝ่ายการตลาด เดอะ คอฟฟี่ คลับ ประเทศไทย กล่าวว่า ในส่วนของคอฟฟี่ คลับ จำนวน 58 สาขา ได้กลับมาเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้เพียง 9 สาขาเท่านั้น เพราะว่าสาขาส่วนใหญ่อยู่ในหัวเมืองท่องเที่ยวเป็นหลักซึ่งได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขณะที่สาขาในกรุงเทพฯ บางแห่งยังเปิดไม่ได้เนื่องจากติดข้อบังคับจากภาครัฐ

ขณะเดียวกันธุรกิจดีลิเวอรีที่ได้ร่วมมือกับทางเดอะพิซซ่า คอมปะนี ซึ่งเป็นโมเดลใหม่ในการนำส่งกาแฟไปถึงมือลูกค้า เนื่องจากสาขาของเดอะคอฟฟี่ คลับ ล้วนแต่อยู่ใจกลางเมืองทำให้ไม่ได้รองรับกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในกรุงเทพฯ ชั้นนอกได้ บริการนี้จึงได้เกิดขึ้นมารองรับ

รวมทั้งการเปิดตัวเครื่องดื่มกาแฟ และชาสกัดเย็น “COLD BREW Project” พร้อมดื่มแบบถุง 5 รสยอดนิยมรับยุคดีลิเวอรีบูม เน้น “ความอร่อยที่ สั่งง่าย เก็บได้ และส่งถึง” ได้แก่ กาแฟดำสูตรดั้งเดิม, กาแฟดำสูตรเลมอนยูซุ, ชารสเลมอนยูซุ, ชารสลิ้นจี่กลิ่นกุหลาบ และชารสพีช เพื่อวางจำหน่ายในช่องทางดังกล่าว

จากการเปิดตลาดที่ผ่านมาค่อนข้างแปลกใจที่ผู้บริโภคชาวไทยเริ่มให้ความสนใจกับเครื่องดื่มชาในรสชาติต่างๆมากขึ้น คงต้องกลับไปทำการบ้านเพิ่มเติมว่าจะขยายผลตรงนี้ได้อย่างไร มียอดขายเครื่องดื่มอย่างเดียว (เฉพาะชาและกาแฟ) ผ่านช่องทางแบบนั่งทานที่ร้าน แบบซื้อกลับบ้าน และแบบดีลิเวอรี เป็นสัดส่วน 40% จากยอดขายรวม จนกระทั่งมาในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 การจำหน่ายแบบช่องทางปกติถูกปรับเป็นซื้อกลับบ้านอย่างเดียว และดีลิเวอรี ในสัดส่วน 80 : 20

สำหรับตลาดเครื่องดื่มเฉพาะชาและกาแฟในประเทศไทย มีการขยายตัว และเติบโตเพิ่มขึ้น 7% นับว่าสูงเป็นประวัติการณ์ในรอบ 5 ปี ดันมูลค่าตลาดเครื่องดื่มชาและกาแฟในประเทศไทยสูงถึง 23,720 ล้านบาท แบ่งตามสัดส่วน ร้านแฟรนไชส์ 21,579.2 ล้านบาท หรือ 90.9% ของยอดรวม และร้านแบรนด์อิสระ 2,148 ล้านบาท หรือ 9.1% ของยอดรวม โดยคาดว่าภายในปี พ.ศ.2566 ตลาดเครื่องดื่มเฉพาะชาและกาแฟในประเทศไทยจะมีการเติบโตสูงสุดที่ 9.5% ส่งผลให้มูลค่าตลาดรวมทั้งหมดอยู่ที่ 32,280.9 ล้านบาท

สำหรับปีที่ผ่านมา เดอะ คอฟฟี่ คลับ ประเทศไทย มียอดจำหน่ายรวม 1,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 21% จากปีก่อนหน้า โดยสัดส่วนของยอดจำหน่ายเครื่องดื่มอย่างเดียวอยู่ที่ 43% (432 ล้านบาท) เกือบครึ่งหนึ่งของยอดขายทั้งหมด

นางสาวณญาดา กล่าวว่า หลังจากบางสาขาได้เริ่มเปิดให้บริการปกตินั้น ทางร้านได้ปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ขั้นตอนการให้บริการจะลดลง เพื่อลดการสัมผัสกับลูกค้า แต่คุณภาพของการบริการไม่ได้ลดลงตาม เมนูจะต้องเปลี่ยนแปลงไป เช่น เมนูใช้แล้วทิ้ง ขณะที่อาหารในร้านจะต้องเน้นอาหารจานเดียว เพราะยังไม่สามารถรับประทานแบบแชร์ร่วมกันได้

การบริการกระชับขึ้น พฤติกรรมการดื่มกาแฟของลูกค้าในร้านจะต้องเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่นั่งกันนานๆ ดื่มกาแฟไปด้วย ทำงานหรือคุยธุรกิจไปด้วยก็จะใช้เวลาน้อยลง

เป็น new normal หรือชีวิตวิถีใหม่ของร้านกาแฟที่จะต้อง เปลี่ยนแปลงไปอีกบริบทของธุรกิจภายหลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19.

วานิชหนุ่ม
wanich@thairath.co.th 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ