สศค.รับสภาพรอปรับเป้าจีดีพีใหม่

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

สศค.รับสภาพรอปรับเป้าจีดีพีใหม่

Date Time: 28 ก.พ. 2563 09:41 น.

Summary

  • นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ปัจจุบันยังไม่สามารถฟันธงได้ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)

Latest

รอบรั้วการตลาด : Mega Clinic ทำ all-time high เปิดกลยุทธ์ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย

ขอดูสถานการณ์อีก 2 เดือน ไม่กล้าฟันธงโตได้ตามเป้า 2.8%

นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ปัจจุบันยังไม่สามารถฟันธงได้ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะเติบโตถึง 2.8% ตามที่ สศค.เคยคาดการณ์ไว้หรือไม่ เพราะปัจจัยทั้งภายในและภายนอกยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย โดยยังไม่สามารถประเมินความรุนแรงของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ได้ และไม่รู้ว่าจะจบเมื่อไหร่ “สศค.จะรอดูสถานการณ์อีก 2 เดือน ก่อนจะพิจารณาปรับจีดีพีอีกครั้งเดือน เม.ย.63 แต่คาดว่าจะปรับตัวลงไม่มาก เพราะปัจจุบัน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 63 ประกาศใช้แล้ว คาดว่าจะทำให้สามารถเบิกจ่ายได้เร็วกว่าเดิม 1 เดือน จากเดิมคาดว่างบฯจะสามารถใช้ได้ไตรมาส 2 รวมทั้งค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงมาอยู่ที่ 31.7-37.8 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย”

ส่วนเศรษฐกิจไทยเดือน ม.ค.63 มีสัญญาณที่ดีขึ้นจากการส่งออกสินค้าและการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์ที่กลับมาขยายตัว 0.4% หลังติดลบมา 6 เดือน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยปรับตัว
ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 54.9 เนื่องจากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลกระทบการส่งออกด้วย ซึ่งการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยเพียง 38.1 ล้านคน จากเดิมที่ สศค.เคยประเมินไว้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางปีนี้ 41.5 ล้านคน โดยชาวจีนเดินทางมาไทยหดตัวลง 3.7% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มีส่วนทำให้รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดือน ม.ค.63 มีมูลค่า 1,920 ล้านบาท ลดลง 1.1% จากปีที่แล้ว ขณะที่ภาคการเกษตรสะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรชะลอตัว 2.2% จากปีที่แล้ว จากการลดลงของผลผลิตในหมวดพืชผลเป็นสำคัญ สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ชะลอตัว 4.6% จากปีที่แล้ว จากการลดลงของการผลิตในหมวดยานยนต์และเฟอร์นิเจอร์ ส่วนที่ยังขยายตัว ได้แก่ แอร์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ