ฝันประมูล 5 จี สะพัด 5.4 หมื่นล้านบาท ดันจีดีพีขยายตัวเพิ่ม 1.02%

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ฝันประมูล 5 จี สะพัด 5.4 หมื่นล้านบาท ดันจีดีพีขยายตัวเพิ่ม 1.02%

Date Time: 16 ม.ค. 2563 08:54 น.

Summary

  • นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า กสทช.เตรียมเปิดประมูล 5 จี ในวันที่ 16 ก.พ.นี้

Latest

“หมูเด้ง” ซุปตาร์ฮิปโปแคระ เกิดมา 4 เดือน งานพรีเซนเตอร์เข้าฉ่ำ คาดสร้างรายได้กว่าร้อยล้าน

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า กสทช.เตรียมเปิดประมูล 5 จี ในวันที่ 16 ก.พ.นี้ และในเดือน มี.ค. ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (โอเปอเรเตอร์) จะต้องดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ในทันที แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีกระแสข่าวว่าประเทศเพื่อนบ้านจะเปิดให้บริการ 5 จี แต่ยืนยันว่าเป็นเพียงการเปิดการทดลองทดสอบ 5 จี เท่านั้น แต่ประเทศไทยจะเปิดเป็นรูปแบบเชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ค.นี้

ทั้งนี้ กสทช.จะเปิดประมูลคลื่นความถี่เพื่อรองรับ 5 จี ใน 4 ย่าน ได้แก่ คลื่นความถี่ย่าน 700, 1800, 2600 เมกะเฮิรตซ์ และ 26 กิกะเฮิรตซ์ โดยเป็นการประมูลครั้งละคลื่นความถี่ด้วยรูปแบบการประมูลคล็อกอ็อกชั่น รวม 56 ใบอนุญาต มูลค่า 160,577 ล้านบาท แบ่งออกเป็น คลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 3 ชุด ชุดละ 5 เมกะเฮิรตซ์ รวม 15 เมกะเฮิรตซ์ ราคาเริ่มต้น 8,792 ล้านบาท รวม 26,376 ล้านบาท, คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 7 ชุด ชุดละ 5 เมกะเฮิรตซ์ รวม 35 เมกะเฮิรตซ์ ราคาเริ่มต้น 12,486 ล้านบาท รวม 87,402 ล้านบาท, คลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 19 ชุด ชุดละ 10 เมกะเฮิรตซ์ รวม 190 เมกะเฮิรตซ์ ราคาเริ่มต้น 1,862 ล้านบาท และคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ จำนวน 27 ชุด ชุดละ 100 เมกะเฮิรตซ์ รวม 2700 เมกะเฮิรตซ์ ราคาเริ่มต้น 423 ล้านบาท รวม 11,421 ล้านบาท

“ผมคาดว่า กสทช.จะมีรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่เข้ารัฐ 54,654 ล้านบาท จากการประมูล 25 ใบอนุญาต และการเปิดประมูล 5 จี ยังทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจในปีนี้ มูลค่า 177,039 ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 1.02% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ดังนั้น อยากให้ภาคธุรกิจรวมถึงประชาชนเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานประเทศจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ทั้งภาคการเงิน ภาคการผลิต การเมือง รวมถึงภาคสังคม”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ