“สุริยะ” บุกญี่ปุ่นกวาดเงินทุนเข้าไทย

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

“สุริยะ” บุกญี่ปุ่นกวาดเงินทุนเข้าไทย

Date Time: 27 ก.ย. 2562 08:33 น.

Summary

  • นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการหารือนักลงทุนญี่ปุ่น ในสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (ไคดันเรน) และนายทาคากากาซุ อิชิอิ ผู้ว่าราชการจังหวัดโทยามะ

Latest

“หมูเด้ง” ซุปตาร์ฮิปโปแคระ เกิดมา 4 เดือน งานพรีเซนเตอร์เข้าฉ่ำ คาดสร้างรายได้กว่าร้อยล้าน

เอกชนมีปัญหาเชิญปรึกษาที่กระทรวง “มิตซูบิชิ” ยืนหนึ่งไทยไม่เปลี่ยนใจแน่

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการหารือนักลงทุนญี่ปุ่น ในสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (ไคดันเรน) และนายทาคากากาซุ อิชิอิ ผู้ว่าราชการจังหวัดโทยามะ ว่า ได้ยืนยันกับนักลงทุนญี่ปุ่น หากบริษัทใดมีปัญหาหรืออุปสรรคในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยสามารถเข้าไปพบตนที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้ตลอดเวลา ยินดีรับฟังข้อเสนอเพื่อตอบโจทย์การลงทุน สอดรับกับนโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่เน้นดึงการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายแบบเฉพาะราย (เทเลอร์ เมด) และรัฐบาลที่พร้อมต่อยอดศักยภาพเพิ่มการแข่งขันของประเทศ

“การเดินทางมาเยือนจังหวัดโทยามะในครั้งนี้ มีเป้าหมายที่จะเข้ามาเจาะเมืองรองเน้นไปที่กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้านเทคโนโลยีของญี่ปุ่น เพราะบริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยเกือบหมดแล้ว โดยบริษัทญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยแล้วกว่า 6,000 กิจการเป็นอันดับ 1 โดยได้ยืนยันศักยภาพของไทยว่ารัฐบาลชุดใหม่มีความมั่นคงและมุ่งเน้นนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และมีโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (อีอีซี) เพื่อเป็นประตูเชื่อมการค้าและการลงทุนไปยังประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม โดยคาดว่านักลงทุนญี่ปุ่นจะเลือกไทยมาลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดโทยามะ ที่มีบริษัทเข้าไปลงทุนในไทยแล้ว 65 บริษัท ซึ่งตั้งเป้าหมายเพิ่มเป็น 100 บริษัทในปี 64”

ส่วนการหารือกับผู้บริหารบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ นั้น ฝ่ายมิตซูบิชิฯ ยังยืนยันขยายการลงทุนในไทยต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาได้
ยื่นขอบีโอไอ ลงทุนเรื่องรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าไปแล้ว รวมทั้งยังได้หารือกับผู้บริหารบริษัทมิตซูบิชิ อิเล็คทริค ซึ่งได้บอกว่า มิตซูบิชิ อิเล็คทริค ซึ่งกำลังมองหาทางขยายการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆที่เชื่อมโยงด้านเทคโนโลยีไอที ในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ซึ่งจะเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของบริษัทที่จะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตต่อไป นอกจากนี้ ยังได้หารือกับสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น ซึ่งมีบริษัทชั้นนำ 33 บริษัท 46 ราย เข้าร่วมหารือ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะประสานให้บริษัทสตาร์ตอัพ
ด้านไอทีของไทยเข้ามาร่วมมือกับธุรกิจญี่ปุ่นมากขึ้น.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ