ฟังดูดี ค่าแรงขั้นต่ำ 425 บาท วัดใจพลังประชารัฐ ทำได้หรือล้มเหลว

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ฟังดูดี ค่าแรงขั้นต่ำ 425 บาท วัดใจพลังประชารัฐ ทำได้หรือล้มเหลว

Date Time: 10 ก.ค. 2562 19:15 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • เป็นนโยบายที่ฟังดูดีช่วงหาเสียงเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐ ในการยกระดับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400-425 บาทต่อวัน ไม่รวมเงินเดือนระดับอาชีวะ 18,000 บาทต่อเดือน และปริญญาตรี 20,000 บาทต่อเดือน

Latest


เป็นนโยบายที่ฟังดูดีช่วงหาเสียงเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐ ในการยกระดับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400-425 บาทต่อวัน ไม่รวมเงินเดือนระดับอาชีวะ 18,000 บาทต่อเดือน และปริญญาตรี 20,000 บาทต่อเดือน แต่เมื่อได้เป็นรัฐบาล อยู่ระหว่างการจัดทำนโยบาย กลับไม่มีประเด็นขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

เพราะมีคำพูดออกจากปาก นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะทำงานประสานงานพรรคร่วมในการจัดทำนโยบายรัฐบาล ให้เหตุผลว่า "เป้าหมายที่แท้จริงคือการยกระดับฝีมือแรงงาน ซึ่งต้องปรับทั้งระบบแรงงานไทย จึงจะสามารถขึ้นค่าแรงให้สูงตามคุณภาพฝีมือแรงงาน ไม่เช่นนั้นจะไม่สอดคล้องกับเทคโนโลยีและตลาดแรงงานในปัจจุบัน"

เช่นเดียวกับ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล โฆษกพรรคพลังประชารัฐ ระบุมาก่อนหน้าว่า นโยบายค่าแรงขั้นต่ำยังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบทำ และที่สำคัญหวั่นกระทบภาคเอกชน

จนกระทั่งฝ่ายค้านต้องออกมาเตือนโดย นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด คณะทำงานสื่อสารการเมืองพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ได้ทำให้ประชาชนตั้งคำถามและรู้สึกผิดหวัง ตอนหาเสียงบอกว่านโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทำทันที แต่พอเป็นรัฐบาลกลับทำไม่ได้และสร้างเงื่อนไข ต้องพัฒนาฝีมือแรงงานก่อน ซึ่งการกระทำในลักษณะนี้เข้าข่ายการเสนอให้ หรือสัญญาให้ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์เพื่อจูงใจให้ลงคะแนน ให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าเป็นนโยบายของพรรคการเมือง

"เข้าข่ายโฆษณาชวนเชื่อหลอกลวงเพื่อให้ได้คะแนนหรือไม่ ถือเป็นการตระบัดสัตย์ ขัดต่อคุณธรรมจริยธรรมของพรรคการเมือง ซึ่ง กกต.ต้องวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายผิดกฎหมายพรรคการเมืองและกฎหมายเลือกตั้งหรือไม่"

ขณะที่ "รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์" ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวกับ "ทีมข่าวเจาะประเด็นไทยรัฐออนไลน์" ว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำควรทำตั้งแต่เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา กระทั่งผลัดมาอีกในช่วงวันแรงงานเดือน พ.ค. ซึ่งภายในปีนี้จะต้องปรับขึ้นค่าแรงให้ได้ ส่วนจะเป็นตัวเลขเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับการจัดการของรัฐบาล เนื่องจากที่ผ่านมาคณะทำงานฝ่ายเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำ ได้ผ่านกระบวนการทุกอย่างแล้ว ซึ่งสูตรคำนวณค่าแรงควรใช้สูตรเดิม เพราะมีการคำนวณปัจจัยต่างๆ จากทั่วประเทศ ทั้งจากตัวแรงงานและผู้ประกอบการ โดยตัวเลขจะปรับขึ้นไป 12 บาท และ 7 บาท ในบางจังหวัด หรือบางจังหวัดไม่มีการปรับขึ้นเลย

ส่วนตัวเลขค่าแรงขั้นต่ำตามที่พรรคพลังประชารัฐหาเสียงไว้ 425 บาท มองว่ามากเกินไป ถือเป็นการปรับขึ้นมากถึง 30% จะเกิดผลกระทบต่อธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งรัฐบาลต้องออกมาตรการมาช่วยเหลือเยียวยาเพื่อให้กิจการอยู่ได้ และสร้างแรงจูงใจให้กับนักลงทุนต่างชาติ เพื่อไม่ให้ย้ายฐานผลิตจากไทยไปประเทศอื่น โดยสิ่งสำคัญต้องพิจารณาจากความสามารถในการขึ้นค่าจ้าง จากการขยายตัวของการส่งออก และการขยายตัวของเศรษฐกิจ

นอกจากนี้การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำต้องพิจารณาบนบรรทัดฐานของข้อเท็จจริงเท่าเทียมกันทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้าง ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ รวมถึงต้องพิจารณาตามกลุ่มตามพื้นที่ จากข้อมูลต่างๆ เช่น ดัชนีค่าครองชีพ (CPI) ของจังหวัด ราคาสินค้าที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีพของลูกจ้าง ดัชนีความเชื่อมั่นในการบริหารของจังหวัด ผลิตภาพของแรงงานของจังหวัด การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นรายสาขาของจังหวัด และสภาพการค้าการลงทุนของจังหวัด เป็นต้น

"ยอมรับขณะนี้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น แต่การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทางรัฐบาลไม่ได้รับผิดชอบ ต้องถามนายจ้างว่าจะตายหรือไม่ ยกตัวอย่างสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ขึ้นค่าแรง 300 บาท บังคับใช้ปี 56 และให้คงไว้จนถึงปี 58 เท่ากันทั่วประเทศ ตอนนั้นได้ทำให้นายจ้างกระอักเป็นเวลา 3 ปี ดังนั้นการขึ้นค่าแรงก็ควรให้อยู่ได้ทั้ง 2 ฝ่าย และที่ผ่านมาไทยเป็นประเทศที่มีค่าแรงสูงอยู่แล้วในอาเซียนเป็นอันดับ 3 รองจากมาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งการขึ้นค่าแรงต้องมองถึงผลกระทบไม่ให้นักลงทุนย้ายฐานไปประเทศอื่นด้วย".


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ