ตั้งทีมเฉพาะกิจดูแล “อีอีซี”

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ตั้งทีมเฉพาะกิจดูแล “อีอีซี”

Date Time: 20 มิ.ย. 2562 08:42 น.

Summary

  • นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบปรับปรุงร่างประกาศ

Latest

“หมูเด้ง” ซุปตาร์ฮิปโปแคระ เกิดมา 4 เดือน งานพรีเซนเตอร์เข้าฉ่ำ คาดสร้างรายได้กว่าร้อยล้าน

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบปรับปรุงร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการ ในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ. 2560 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ โดยให้เพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการกำกับดูแลโครงสร้างพื้นฐานในการร่วมลงทุนกับเอกชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ให้สามารถพิจารณาดำเนินการเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับโครงการตามที่เห็นสมควรหรือเป็นไปตามนโยบายของ กพอ. และได้เปิดทางให้คณะกรรมการกำกับฯสามารถว่าจ้างที่ปรึกษาไทยและที่ปรึกษาต่างประเทศ มาสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกำกับฯได้

ทั้งนี้ เมื่อได้มีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนแล้ว ให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสัญญาขึ้นมาอีกหนึ่งชุด ประกอบด้วย ผู้แทน สกพอ. หน่วยงานเจ้าของโครงการกระทรวง เจ้าสังกัด ผู้ทรงคุณวุฒิ ให้มาทำหน้าที่และมีอำนาจควบคุมและกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงาน เจ้าของโครงการตามสัญญาร่วมทุน รวมถึงกำหนดแผนงานเพื่อกำกับดูแลและตรวจสอบ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการและเอกชนคู่สัญญา ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในสัญญาอย่างถูกต้องและครบถ้วน และให้รายงานคณะกรรมการกำกับฯทุกๆ 3 เดือนด้วย

“เนื่องจากโครงการในอีอีซีบางโครงการ เป็นโครงการที่ภาครัฐและภาคเอกชนของไทยยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำโครงการลักษณะนี้มาก่อน เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คณะกรรมการกำกับฯจึงต้องว่าจ้างที่ปรึกษาจากต่างประเทศเข้ามา โดยเปิดคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษา หลังจากที่เริ่มมีการก่อสร้างโครงการต่างๆ สิ่งที่อยากเห็นคือการจับมือเข้ามาร่วมกันระหว่างบริษัทต่างชาติกับบริษัทในไทยเป็นลักษณะบริษัทร่วมทุน (consortium) เพราะเนื้องานแต่ละโครงการ จะมีทั้งส่วนของความเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีและการสำรวจพื้นที่ การส่งมอบพื้นที่ในประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาในขั้นตอนการคัดเลือกเอกชน ก็มีการใช้ที่ปรึกษาจากต่างประเทศเข้ามาช่วยในเรื่องการคัดเลือกเช่นกัน”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ