ไทยปลื้มจัดอันดับประเทศดีขึ้น ลุยลงทุนเมกะโปรเจกต์ปูทางเบียดมาเลเซีย

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ไทยปลื้มจัดอันดับประเทศดีขึ้น ลุยลงทุนเมกะโปรเจกต์ปูทางเบียดมาเลเซีย

Date Time: 30 พ.ค. 2562 08:35 น.

Summary

  • สศช.แถลงขีดความสามารถการแข่งขันของไทยปีนี้ ดีขึ้น 5 อันดับ จากเดิมอันดับที่ 30 ขึ้นมาอยู่ที่ 25 แต่ยังอยู่อันดับ 3 ในอาเซียน

Latest

อัปเดต 5 กลยุทธ์ขายของ พิชิตใจคน Gen Z อยากรักษ์โลก แต่ของมันต้องมี แบรนด์รับมืออย่างไร?

สศช.แถลงขีดความสามารถการแข่งขันของไทยปีนี้ ดีขึ้น 5 อันดับ จากเดิมอันดับที่ 30 ขึ้นมาอยู่ที่ 25 แต่ยังอยู่อันดับ 3 ในอาเซียน ขณะที่ สิงคโปร์ คว้าแชมป์อันดับ 1 แซงหน้าสหรัฐฯ “ทศพร” ชี้อีก 5–10 ปี ขีดความสามารถแข่งขันของไทยดีขึ้น มั่นใจแซงมาเลเซียได้หลังโครงสร้างพื้นฐาน-อีอีซี แล้วเสร็จ

นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภา พัฒน์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 29 พ.ค. สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือทีเอ็มเอ (TMA) แถลงผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จาก World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2562 พบว่า เขตเศรษฐกิจที่มีอันดับสูงสุด 5 อันดับแรกคือ สิงคโปร์ เลื่อนขึ้นมาอยู่อันดับ 1 แทนที่สหรัฐฯ ซึ่งลดลงไปอยู่ที่อันดับ 3 รองลงมาคือ อันดับ 2 คือ ฮ่องกง อันดับ 4 สวิตเซอร์แลนด์ และอันดับ 5 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จากทั้งหมด 63 ประเทศ

ขณะที่ไทยอยู่อันดับที่ 25 ดีขึ้นจากปีที่แล้ว ที่ถูกจัดอันดับอยู่ที่ 30 ซึ่งถือมีความมาก เนื่องจากการปรับอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันมาอยู่ที่อันดับ 25 ดีขึ้นกว่าเดิมถึง 5 ขั้น และถือเป็น อันดับที่ 3 ในเขตเศรษฐกิจกลุ่มอาเซียน โดยมีสิงคโปร์เป็นอันดับ 1 ของอาเซียนและของโลก มาเลเซียอันดับคงที่อยู่ที่ 22 เท่ากับปีก่อน ขณะที่ อินโดนีเซียอันดับดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากอันดับที่ 43 เป็น 32 และฟิลิปปินส์ จากอันดับที่ 50 เป็น 46

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาผลการจัดอันดับของไทย จากผลการจัดอันดับที่แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1.สภาวะเศรษฐกิจ 2.ประสิทธิภาพของภาครัฐ 3.ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และ 4.โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งในจำนวนนี้ มีผลการจัดอันดับดีขึ้น 3 ด้าน ประกอบด้วย 1.สภาวะเศรษฐกิจขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 8 จากเดิมอันดับ 10 , 2.ประสิทธิภาพของภาครัฐ ขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 20 จากเดิมอันดับ 22 และ 3.โครงสร้างพื้นฐาน ขึ้นมาที่ 45 จากเดิมอันดับ 48 ขณะที่ประ สิทธิภาพของภาคธุรกิจลดลง 2 อันดับ มาอยู่ที่ 27 จากเดิมอันดับที่ 25

“ผลการจัดอันดับขีดความสามารถแข่งขันของประเทศไทย ดีขึ้นถึง 5 อันดับ ถือเป็นสิ่งที่น่ายินดี เพราะแสดงให้เห็นว่าที่ผ่านมารัฐบาลและภาคเอกชนพัฒนาและลงทุนด้านต่างๆ อย่างเนื่อง โดยเฉพาะด้านภาวะ เศรษฐกิจและประสิทธิภาพของภาครัฐดีขึ้นถึง 2 อันดับ ซึ่งในด้านเศรษฐกิจนั้น ปรากฏว่าด้านการลงทุนต่างประเทศมีอันดับที่ดีขึ้นมาก มาอยู่ที่ 21 จากเดิม 37 การปรับปรุงการดำเนินงานเพื่ออำนวยความสะดวก และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจ ส่งผลให้อันดับด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดีขึ้นถึง 4 อันดับจาก 36 มาอยู่ที่อันดับ 32 ซึ่งเป็นผลจากการที่สภานิติบัญญัติ (สนช.) ผ่านกฎหมายที่สำคัญๆ ถึง 456 ฉบับ และรัฐบาลส่งเสริมการใช้ดิจิทัลในการให้บริการให้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ จึงทำให้การจัดอันดับของไทยดีขึ้นต่อเนื่อง”

ส่วนผลการจัดอันด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจที่ลดลง 2 อันดับ เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีด้านดิจิทัลในการประกอบธุรกิจของภาคเอกชนยังด้อยกว่าประเทศอื่นๆ และความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็ว หรือ Disruption ยังไม่ดีพอ รัฐบาลจึงต้องให้ภาคเอกชนปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล

ส่วนด้านโครงสร้างพื้นฐานของไทยนั้น แม้อันดับดีขึ้นก็ตาม แต่ในกลุ่มทางด้านการศึกษาอยู่ในระดับต่ำ โดยอยู่ที่อันดับ 56 เท่ากับปีที่แล้ว ขณะที่ สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอยู่ที่ 58 จากปีที่แล้ว อยู่ที่อันดับ 55 แสดงให้เห็นว่า ระบบการศึกษาของไทยยังไม่มีปัญหา จึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาการศึกษาและปรับวิธีการเรียนการสอน รวมถึงการพัฒนาแรงงานฝีมือให้ได้ตรงตามความ
ต้องการของโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดย สศช.จะรวบรวมประเด็นเหล่านี้ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ