อาหารแพง ค่าโดยสารขึ้นราคา ดันเงินเฟ้อ เม.ย. พุ่งขึ้น 1.23%

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

อาหารแพง ค่าโดยสารขึ้นราคา ดันเงินเฟ้อ เม.ย. พุ่งขึ้น 1.23%

Date Time: 1 พ.ค. 2562 14:20 น.

Video

ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

Summary

  • "พาณิชย์" เผยเงินเฟ้อเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 1.23% จากการสูงขึ้นของสินค้ากลุ่มอาหาร โดยเนื้อหมูขึ้นเกือบทั้งประเทศ ผักสดเพิ่มจากปัญหาภัยแล้ง รวมถึงราคาพลังงาน ค่ารถโดยสารสาธารณะและค่าเช่าบ้าน

Latest


"พาณิชย์" เผยเงินเฟ้อเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 1.23% จากการสูงขึ้นของสินค้ากลุ่มอาหาร โดยเนื้อหมูขึ้นเกือบทั้งประเทศ ผักสดเพิ่มจากปัญหาภัยแล้ง รวมถึงราคาพลังงาน ค่ารถโดยสารสาธารณะและค่าเช่าบ้าน...

น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (เงินเฟ้อ) เดือนเม.ย.62 ว่า เท่ากับ 102.82 เพิ่มขึ้น 0.44% เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.62 ถือเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และเพิ่มขึ้น 1.23% เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.61 ส่วนเฉลี่ย 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.) ปี 62 เพิ่มขึ้น 0.86% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่ เงินเฟ้อเดือนเม.ย. ที่เพิ่มขึ้น มีสาเหตุหลักๆ มาจากการสูงขึ้นของสินค้ากลุ่มอาหาร โดยเฉพาะอาหารสด เพิ่ม 3.30% อย่างเนื้อหมู ราคาเพิ่มขึ้นเกือบทั้งประเทศ รวมถึงเป็ด ไก่ ส่วนผักสดเพิ่มสูงถึง 12.74% จากอากาศร้อน ผลผลิตลดลง ผักที่ราคาขึ้นมากๆ เช่น ต้นหอม เพิ่ม 70% มะนาว 29% และยังมีพริกสด ถั่วฝักยาว ผักชี ส่วนกลุ่มที่ไม่ใช่อาหารอย่างพลังงาน เพิ่ม 2.33% สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ค่าเช่าบ้านขึ้นมา 2-3 เดือนแล้ว ค่าโดยสารรถสาธารณะก็เพิ่ม

อย่างไรก็ตาม สนค.ยังคงเป้าหมายเงินเฟ้อปีนี้ไว้ที่ 0.7-1.7% โดยมีค่ากลางที่ 1.2% แม้ว่าจากนี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการบริโภคที่สูงขึ้น แม้ว่ารายได้ภาคเกษตรจะลดลง แต่ก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล โดยต้องจับตาปัญหาภัยแล้ง ที่จะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้ากลุ่มอาหารที่จะขึ้นๆ ลงๆ ต่อเนื่องทั้งปี

ส่วนปัจจัยราคาน้ำมัน ไม่น่าจะส่งผลกระทบมาก เพราะในไตรมาสที่ 2-4 ของปีที่แล้ว ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ฐานราคาปีที่แล้วสูง ดังนั้น ราคาน้ำมันในปีนี้จึงไม่น่าปรับขึ้นสูงเกินปีที่แล้ว ที่เคลื่อนไหวประมาณ 60-70 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ขณะที่การปรับขึ้นค่าแรง ยังประเมินผลต่อเงินเฟ้อไม่ได้ เพราะยังไม่ได้ปรับขึ้น ต้องรอผลการพิจารณาของคณะกรรมการค่าจ้างก่อน แต่เห็นว่า ควรจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพราะปัจจุบัน ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นมาก แต่ไม่ควรจะปรับขึ้นเท่ากันทั้งประเทศ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ