ชงเก็บรายได้ยักษ์โซเชียล รองรับบริการเครือข่าย 5 จี

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ชงเก็บรายได้ยักษ์โซเชียล รองรับบริการเครือข่าย 5 จี

Date Time: 4 เม.ย. 2562 08:20 น.

Summary

  • “ฐากร” ไอเดียกระฉูด เสนอเก็บค่าธรรมเนียมใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ หวังบีบให้เฟซบุ๊ก ไลน์ ยูทูป จ่ายเงินให้ประเทศไทย เป็นการเตรียมการรองรับบริการ 5 จี เผยปี 61 ประเทศไทย

Latest

อัปเดต 5 กลยุทธ์ขายของ พิชิตใจคน Gen Z อยากรักษ์โลก แต่ของมันต้องมี แบรนด์รับมืออย่างไร?

“ฐากร” ไอเดียกระฉูด เสนอเก็บค่าธรรมเนียมใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ หวังบีบให้เฟซบุ๊ก ไลน์ ยูทูป จ่ายเงินให้ประเทศไทย เป็นการเตรียมการรองรับบริการ 5 จี เผยปี 61 ประเทศไทย มีการใช้งานเฟซบุ๊ก 61 ล้านบัญชี ยูทูป 60 ล้านบัญชี มีการใช้งาน 409 ล้านครั้งต่อเดือน ไลน์ 55 ล้านบัญชี ใช้งาน 125 ล้านครั้งต่อเดือน

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยในงานสัมมนาเรื่อง “5 จี ปลุกไทยที่ 1 อาเซียน” ว่า ความท้าทายของ กสทช.ในยุค 5 จี นอกจากการประมูลคลื่นความถี่แล้ว ยังต้องเตรียมความพร้อมเกี่ยวการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ และการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้จ่ายโครงข่ายอินเตอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ (ไอไอจี) ด้วย และการทำให้โครงข่ายโทรคมนาคม ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศแข็งแกร่งด้วย เพื่อเป็นแม่เหล็กในการดึงดูดให้นักลงทุนต่างประเทศ หันมาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ กสทช.จำเป็นต้องผลักดันให้เกิดบริการ 5 จี ในประเทศไทย โดยตั้งเป้าหมายว่าในปี 2578 จะมีการสร้างมูลค่าเพิ่มจาก 5 จี ราว 2.3 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นภาคเกษตร หรือสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ 96,000 ล้านบาท โลจิสติกส์ สมาร์ท 124,000 ล้านบาท การผลิต 634,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นภาคสาธารณสุข และอื่นๆ แต่หากไทยไม่เร่งผลักดัน 5 จี อาจจะสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจไปเช่นกัน ฉะนั้น กสทช.จำเป็นต้องเดินหน้าประมูลคลื่น และการจัดเก็บรายได้จากการใช้อินเตอร์เกตเวย์ระหว่างประเทศ เป็นต้น

สำหรับการจัดเก็บรายได้ จากการใช้โซเซียลมีเดีย หรือสังคมออนไลน์ ที่เป็นบริการโอทีที (OVER THE TOP : OTT) ส่วนใหญ่เป็นบริการจากต่างประเทศ อาทิ เฟซบุ๊ก ยูทูป ไลน์ เป็นต้นนั้น โดย กสทช.มีแนวคิดที่จะจัดเก็บรายได้จากการใช้โครงข่ายอินเตอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศเป็นหลัก ส่วนจะหลักเกณฑ์จะเป็นลักษณะอย่างไรนั้น ต้องรอผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ไอเอสพี) และไอจีจี จัดทำข้อมูลส่งมาให้ กสทช.พิจารณาว่า เฟซบุ๊ก ไลน์ ยูทูป มีการใช้งานโครงข่ายอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ จำนวนเท่าใด เพื่อนำมาคำนวณการจัดเก็บรายได้ ส่วนเรื่องการจัดเก็บภาษีจากบริการโอทีทีนั้น คงเป็นไปได้อยาก เพราะหลายฝ่ายคัดค้าน และเป็นบริษัทที่อยู่ต่างประเทศ แต่หากเฟซบุ๊ก ยูทูป มาตั้งบริษัทในประเทศไทย การจัดเก็บภาษีเป็นหน้าที่ของกรมสรรพกร

นายฐากร กล่าวว่า ในปี 2561 ประเทศไทย มีการใช้งานเฟซบุ๊ก 61 ล้านบัญชี มีการใช้งาน 655 ล้านครั้งต่อเดือน ยูทูบ 60 ล้านบัญชี มีการใช้งาน 409 ล้านครั้งต่อเดือน ไลน์ 55 ล้านบัญชี ใช้งาน 125 ล้านครั้งต่อเดือน ซึ่งถือว่าปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดการใช้งานดาต้าของประเทศ เมื่อปี 2557 อยู่ที่ 494,194 เทราไบท์ แต่ปี 2561 มีการใช้งาน 5.8 ล้านเทราไบต์ ในปี 2564 เมื่อเปิดบริการ 5 จี คาดว่าจะเพิ่มเป็น 200 ล้านล้านเทราไบท์

สำหรับแผนการประมูลคลื่นความถี่ของ กสทช.นั้น เบื้องต้น กสทช.จะแบ่งใบอนุญาตการใช้คลื่น เป็น 3 แบบ คือ 1.คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการทั่วประเทศ คือ ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ คาดว่าจะเปิดประมูลภายในปี 2562 ส่วนคลื่น 3500 เมกะเฮิรตซ์ จะเปิดประมูลในปี 2564 2.คลื่นความถี่ที่ให้บริการเฉพาะพื้นที่ เช่น ให้บริการโรงงานอุตสาหกรรม คือ คลื่นย่าน 26-28 เมกะเฮิรตซ์ คาดว่าจะเปิดประมูลต้นปี 2563 3.คลื่นความถี่ 2 ย่าน หรือเรียกว่า มัลติแบนด์ คือ คลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่น 26-28 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะประมูลคู่กัน คาดว่าจะเปิดประมูลต้นปี 2563.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ