พิษ “สงครามการค้า” ทำโลกยากจน ไอเอ็มเอฟ-สมคิดจับตาเศรษฐกิจปี 62

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

พิษ “สงครามการค้า” ทำโลกยากจน ไอเอ็มเอฟ-สมคิดจับตาเศรษฐกิจปี 62

Date Time: 10 ต.ค. 2561 07:58 น.

Summary

  • ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ เผยแพร่รายงานภาพรวมเศรษฐกิจโลกประจำไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 ประเมินว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกปี 2561-2562

Latest

รอบรั้วการตลาด : Mega Clinic ทำ all-time high เปิดกลยุทธ์ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ เผยแพร่รายงานภาพรวมเศรษฐกิจโลกประจำไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 ประเมินว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกปี 2561-2562 จะอยู่ที่ 3.7% ลดลงจากที่เคยประเมินไว้ที่ 3.9% ในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งนายมอริส ออบส์เฟลด์ ผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจไอเอ็มเอฟ มองว่าเป็นผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน และการดำเนินนโยบายแบบลัทธิคุ้มครองการค้า ที่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเติบโตและฟื้นตัวของเศรษฐกิจและทำให้โลกมีแนวโน้มจะยากจนกว่าเดิม

ทั้งนี้ จากนโยบายตั้งกำแพงภาษีของสหรัฐฯและจีน จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ไม่เฉพาะสหรัฐฯ-จีน แต่รวมถึงเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย และประเทศที่ประสบปัญหาการเงินอย่างอาร์เจนตินา ตุรกี และบราซิล ขณะที่ไอเอ็มเอฟประเมินว่าอัตราเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) สหรัฐฯจะลดลงเรื่อยๆ จาก 2.9% ในปี 2561 เหลือ 2.5% ในปี 2562 และ 1.8% ในปี 2563 ส่วนจีนประเมินว่าจะมีอัตราเติบโต 6.6% ในปี 2561 เหลือ 6.2% ในปี 2562 แต่มีความเป็นไปได้ว่าอาจต่ำกว่า 5% ในปี 2562 หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป

ไอเอ็มเอฟยังประเมินการเติบโตโดยรวมของชาติอาเซียน 5 ประเทศคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย ว่าจะอยู่ที่ 5.3% ในปี 2561 และลดเหลือ 5.2% ในปี 2562 หากดูจากทิศทางนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลแต่ละประเทศ ประเมินว่าจีดีพีจะอยู่ที่ 4.6% ในปี 2561 และ 3.9% ในปี 2562

ด้านนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ผลจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในปีหน้าอย่างแน่นอน โดยคนกังวลกันว่า สงครามการค้าจะอยู่นาน และต้องเผชิญสภาพแบบนี้ต่อไปอย่างน้อยอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งเมื่อสงครามการค้ายืดเยื้อออกไปย่อมกระทบต่อการค้าโลก ดังนั้น อย่าไปหวังพึ่งการส่งออกให้ขยายตัวได้มาก หรือทำสถิติทุกเดือนคงเป็นไปไม่ได้ แต่ต้องหันมาสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศเพื่อให้เกิดความสมดุล และอีกสิ่งที่ต้องระวังคือราคาน้ำมันที่อยู่ในช่วงขาขึ้นที่จะทำให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้น.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ