พช.เสริมช่องทางการตลาด 'กระดานสินค้า' นำร่อง 15 จังหวัดทั่วประเทศ

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

พช.เสริมช่องทางการตลาด 'กระดานสินค้า' นำร่อง 15 จังหวัดทั่วประเทศ

Date Time: 15 มี.ค. 2561 16:38 น.

Video

บุกโรงงาน PANDORA ช่างไทยผลิตจิวเวลรี่ แบรนด์โลกแสนล้าน | On The Rise

Summary

  • กรมการพัฒนาชุมชน จับมือสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เพิ่มช่องทางการตลาดใหม่ในรูปแบบกระดานสินค้าให้ศูนย์สาธิตการตลาด นำสินค้าวางจำหน่ายในร้านค้าปลีก-ค้าส่ง ของบริษัทและห้างร้านในเครือข่ายของสมาพันธ์

Latest


กรมการพัฒนาชุมชน จับมือสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เพิ่มช่องทางการตลาดใหม่ในรูปแบบกระดานสินค้าให้ศูนย์สาธิตการตลาด นำสินค้าวางจำหน่ายในร้านค้าปลีก-ค้าส่ง ของบริษัทและห้างร้านในเครือข่ายของสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย นำร่อง 15 จังหวัดทั่วประเทศ

เมื่อวันนี้ 15 มี.ค.61 กรมการพัฒนาชุมชนร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือ (MOU) การส่งเสริมช่องทางการตลาด กับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย โดยมี นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย ดร.ณพพงศ์ ธีระวร ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และ ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร รองประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย รวมทั้งผู้แทนมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมลงนาม ณ ห้องประชุม 3003 ชั้น 3 กรมการพัฒนาชุมชน อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

นายอภิชาติ กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน โดยสำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน ร่วมหารือสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ในการเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับศูนย์สาธิตการตลาด ทั้งในรูปแบบการเปิดโอกาสให้ศูนย์สาธิตการตลาดนำสินค้าไปวางจำหน่ายในร้านค้าปลีก-ค้าส่ง ของบริษัท ห้างร้านในเครือข่ายของสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และในรูปแบบกระดานสินค้า ซึ่งเป็นรายการข้อมูลที่รวบรวมสินค้า ผลิตภัณฑ์ ผลผลิตที่พร้อมขายของชาวบ้านในหมู่บ้านชุมชน ที่ผู้จัดการศูนย์สาธิตการตลาดสามารถเชื่อมโยงโดยใช้ระบบไลน์และเฟซบุ๊กไปยังบริษัท ห้างร้านในเครือข่ายของสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ที่มีความต้องการสอดคล้องกับสินค้า ผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตที่มีอยู่ ก่อให้เกิดธุรกรรมการซื้อขายระหว่างหมู่บ้าน/ชุมชน กับบริษัท ห้างร้าน ซึ่งในระยะแรกกำหนดพื้นที่นำร่องใน 15 จังหวัด

นายอภิชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า การร่วมลงนาม MOU ศูนย์สาธิตการตลาด เป็นกิจกรรมเครือข่ายของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2520 ในลักษณะ "รวมกันซื้อ-รวมกันขาย" ซึ่งที่ผ่านมาได้ให้บริการและช่วยลดปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องการสินค้าอุปโภค บริโภค และปัจจัยการผลิตได้อย่างดี แต่เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศได้เปลี่ยนแปลง สภาพการแข่งขันทางการค้าทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเพื่อให้ศูนย์สาธิตการตลาดมีช่องทางการซื้อขายสินค้าที่หลากหลาย กรมการพัฒนาชุมชนจึงได้ส่งเสริมช่องทางการตลาดในรูปแบบการนำสินค้าไปวางจำหน่ายในร้านค้าปลีก ค้าส่งของบริษัท ห้างร้านในเครือข่ายของสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และในรูปแบบกระดานสินค้าขึ้น

"การร่วมมือกันส่งเสริมช่องทางการตลาดในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานราก และเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการชุมชน สัมมาชีพชุมชน ตามหลักการธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) ในการเพิ่มช่องทางการตลาดของชุมชน โดยการเชื่อมโยงผู้ผลิต ผู้ขายและผู้ซื้อ ให้มีความสะดวก รวดเร็ว ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และการกระจายรายได้สู่ชุมชน ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีรายได้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมต่อไป" นายอภิชาติ กล่าว.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ